กรดอะมิโน พื้นฐานโปรตีน เป็นยาอายุวัฒนจริงหรือ

12.10.53

กรดอมิโน เป็นยาอายุวัฒน
นักวิทยาศาสตร์เมืองมะกะโรนีเชื่อว่า ค้นพบยาอายุวัฒนะ ซึ่งมนุษย์ พยายามแสวงหากันมาตลอดชีวิต มันเป็นกรดอะมิโนผสมน้ำ ซึ่งเป็นพื้นฐานของโปรตีน

ดร.เอนโซะ นิสอยล์ มหาวิทยาลัยมิลานกับคณะกล่าวแจ้งว่า ในการทดลองเลี้ยงหนูด้วยน้ำผสมด้วยกรดอะมิโน 3 ชนิด ปรากฏว่า มันจะมีอายุยืนกว่าเพื่อนหนูที่กินอาหารธรรมดาได้ร้อยละ 12 แถมยังมีความแข็งแรงสมบูรณ์ และความแคล่วคล่องว่องไวเหนือกว่าด้วย แต่ยังไม่เคยทดลองกับมนุษย์ จึงควรจะทดลองกับคนไข้จำนวนมาก เพื่อจะได้มีหลักฐานเพียงพอ จนวงการแพทย์จะให้การรับรองได้

วารสารวิชาการ "เซลล์และไฟธาตุ" ได้รายงานว่า ดร.เอนโซะได้เขียนแจ้งในเอกสารว่า "การศึกษาของเราทำให้มีเหตุผลพอที่จะสำรวจบทบาทของกรดอะมิโน ในการป้องกันและควบคุมโรคอันเนื่องมาจากความแก่ชราของมนุษย์ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น"

บรรดานักเพาะกายมักจะชอบซื้อกรดอะมิโนมากิน เพื่อจะบำรุงกล้ามเนื้อของตน.
ยาอายุวัฒน

กรดอะมิโนเป็นสารอินทรีย์ที่มีหมู่อะมิโน (-NH2 ) และหมู่กรด (-COOH) อยู่ในโมเลกุลเดียวกัน โดยหมู่อะมิโน หมู่กรด ไฮโดรเจน และหมู่ R (side chain) เกาะอยู่กับอะตอม C กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของโปรตีน กรดอะมิโนแต่ละตัวจะเชื่อมโยงกันเป็นสายยาวด้วยพันธะเป็บไทด์ (peptide bond ) ซึ่งเป็นพันธะที่เชื่อมระหว่างหมู่คาร์บอกซิลิก (COOH) ของกรดอะมิโนตัวหนึ่งกับหมู่อะมิโน (NH 2 ) ของอีกตัวหนึ่ง

กรดอะมิโนที่พบในธรรมชาติมีประมาณ 20 ตัว มีเพียง 8 ตัว ที่เป็นกรดอะมิโนจำเป็น (Essential Amino Acid ) เพราะเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ต้องได้รับจากอาหารที่รับประทานเท่านั้น กรดอะมิโนที่จำเป็นนี้ได้แก่ ไอโซลูซีน (isoleucine) ลูซีน (leucine) ไลซีน (lysine) เมทไธโอนีน (methionine) เฟนนิลอลานีน (phenylalanine) ทริโอนีน (threonine) ทริปโตเฟน (tryptophan) และวาลีน (valine) ส่วนกรดอะมิโนที่เหลือเรียกว่ากรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (non Essential Amino Acid ) ซึ่งร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้จากกระบวนการต่าง ๆ เช่น สังเคราะห์ซิสทีน (cystein) จากเมทไธโอนีน สังเคราะห์ไทโรซีน (Tyrosine) จากเฟนนิลอลานีน

เมื่อรับประทานอาหารที่มีโปรตีนร่างกายจะย่อยสลายโปรตีนได้กรดอะมิโนและกรดอะมิโนที่ได้ร่างกายจะนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ดังนี้

สังเคราะห์โปรตีนต่าง ๆ ขึ้นใหม่ตามที่ร่างกายต้องการ เช่น สร้างกล้ามเนื้อ โครงกระดูก

สังเคราะห์สารอื่น เช่น เป็นตัวตั้งต้นของการสร้างสารส่งสัญญาณประสาท (Neurotransmitter) สังเคราะห์ฮอร์โมนธัยรอกซิน (Thyroxine) และเอนไซม์ เป็นต้น

เป็นสารตั้งต้นหรือตัวกลางในการสังเคราะห์กรดอะมิโนตัวอื่น ๆ

ช่วยเพิ่มการสะสมไกลโคเจนและไขมัน

สร้างกลูโคสในยามที่ร่างกายขาดแคลน

ให้พลังงานแก่ร่างกาย เมื่อร่างกายขาดคาร์โบไฮเดรตและไขมัน

การใช้กรดอะมิโนเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น จะเป็นไปด้วยดีจำเป็นต้องได้รับคาร์โบไฮเดรต และ ไขมันให้เพียงพอ เพื่อว่ากรดอะมิโนจะได้ไม่ถูกดึงไปใช้สร้างกลูโคสและพลังงานมากนัก เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นบ่อย ๆ จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดโปรตีนได้ ในทางตรงกันข้ามถ้าได้รับโปรตีนมากเกินไปก็จะถูกนำไปสร้างเป็นไขมันเก็บสะสมไว้ในร่างกาย ทำให้เกิดโรคอ้วนขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารอย่างพอเหมาะและให้ได้กรดอะมิโนจำเป็นอย่าง เพียงพอ ซึ่งสามารถทำได้โดยการเลือกบริโภคอาหารที่มีโปรตีนและกรดอะมิโนจำเป็นครบ ถ้วน เช่น เนื้อสัตว์ ปลา นม ไข่ ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น