การฝึกซ้อมให้เป็นตำแหน่งผู้รักษาประตูที่ดี

13.10.53

การเป็นผู้รักษาประตูที่ดี


การเป็นผู้รักษาประตูที่ดี

ผู้รักษาประตู (อังกฤษ: Goalkeeper) เป็นตำแหน่งในการเล่นกีฬาหลายประเภทมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ทีมฝ่ายตรงข้ามทำคะแนนได้ โดยการป้องกันลูกบอลหรืออุปกรณ์อื่นเข้าสู่ประตู กีฬาที่มีผู้รักษาประตูได้แก่ ฟุตบอล ฮอกกี้ ไอซ์ฮอกกี้ โปโลน้ำ ลาครอสส์ ฟุตซอล ในการแข่งขันฟุตบอล อักษรย่อของผู้รักษาประตูคือ GK

การเล่นในหน้าที่ผู้รักษาประตู ต้องเล่นด้วยมือมากที่สุด ผู้ที่เหมาะสมจะเป็นผู้รักษาประตูนั้นควรจะมีรูปคควรมีรุปร่างสูงใหญ่
หลักสำคัญที่สุดของผู้รักษาประตูก็คือ ปลอดภัยไว้ก่อน อย่าพยายามใช้มือข้างเดียว ถ้าหากใช้มือทั้งสองข้างได้ ต้องให้ตัวของตนเองอยู่ข้างหลังลูกที่จับเสมอ เพื่อจะได้คอยเอาตัวช่วยกำบังลูกไว้ หากมี การผิดพลาดเกิดขึ้น
ทำยังไงให้เป็นผู้รักษาประตูที่เก่ง

หน้าที่ของผู้รักษาประตู


กีฬาฟุตบอลนั้น เป็นกีฬาที่ผู้เล่นทุกคนจะใช้เท้า, ส่วนของขา และหัว ในการเล่นบอล โดยที่ผู้เล่นจะไม่อนุญาตให้ใช้มือหรือแขนในการหยิบ เคาะ ปัด หรือสัมผัสบอลเป็นอันขาด แต่ผู้รักษาประตูสามารถทำได้ (ในกรอบที่จำกัดเท่านั้น ซึ่งในสนามฟุตบอลจะมีการตีกรอบให้เห็น เรียกว่า กรอบเขตโทษ ถ้าอยู่นอกเขตโทษผู้รักษาประตูก็จะไม่สามารถใช้มือได้เหมือนผู้เล่นคนอื่นๆ) การแต่งกายของผู้รักษาประตูนั้นสามารถแต่งกายยังไงก็ได้ตามอิสระ (กติกาบอกเพียงแต่ว่า ผู้รักษาประตูให้ใส่เสื้อสีอะไรก็ได้ที่ไม่เหมือนกับสีของผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย) สามารถที่จะใส่กางเกงขายาว หรือหมวกได้ แต่ยังไงก็ตามเครื่องแต่งกายที่ผู้รักษาประตูนิยมใส่กันคือถุงมือ (จริงๆ แล้วไม่มีกติกาบังคับว่าผู้รักษาประตูต้องใส่ถุงมือ แต่ถุงมือเป็นอุปกรณ์ที่ดีในการช่วยลดการบาดเจ็บของมือและนิ้วในขณะรับลูก)

ความสำคัญของผู้รักษาประตู


ตามกฏกติกาของฟุตบอลนั้นกำหนดไว้ว่า ทีมๆ หนึ่งสามารถส่งผู้เล่นลงสนามได้ไม่เกิน 11 คน และต้องไม่ต่ำกว่า 7 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นบังคับว่าต้องเป็นผู้รักษาประตู และในทีมๆ หนึ่งห้ามส่งผู้เล่นทำหน้าที่เป็นผู้รักษาประตูในสนามเกิน 1 คน และเวลาที่ผู้เล่นบาดเจ็บหนัก ถ้าเป็นผู้เล่นโดยทั่วๆ ไปบาดเจ็บจะถูกแพทย์สนามหามออกนอกสนามแล้วหลังจากที่ผู้เล่นนั้นถูกหามออกนอกสนามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เกมจะดำเนินต่อไป แต่ในกรณีของผู้รักษาประตูเจ็บหนักนั้นกรรมการจะเป่าหยุดเกมแล้วจึงปฐมพยาบาล ถ้าผู้รักษาประตูที่บาดเจ็บเล่นไหวเกมจึงจะดำเนินต่อ ถ้าไม่ไหวจึงจะมีการเปลี่ยนตัว

จากที่บอกไว้ว่า แต่ละทีมต้องมีผู้รักษาประตูลงสนามเสมอ ในกรณีที่ผู้รักษาประตูเจ็บหนักไม่สามารถลงเล่นต่อได้ต้องเปลี่ยนตัวให้ผู้รักษาประตูสำรองลงสนามแทน (ในรายชื่อตัวสำรองตามปกติผู้จัดการทีมจะใส่ชื่อผู้รักษาประตูเอาไว้ด้วยเสมอ) ถ้าเกิดกรณีฉุกเฉินจริงๆ เช่น ในทีมใช้โควต้าเปลี่ยนตัวผู้เล่นจนครบโควต้าแล้วเกิดเหตุการณ์ที่ผู้รักษาประตูในทีมเจ็บหนักหรือถูกใบแดงไล่ออกจากสนาม ในทีมก็จะมีการแต่งตั้งผู้เล่นคนหนึ่งในสนามเป็นผู้รักษาประตูแทน (ในภาษาฟุตบอลเรียกว่า ผู้รักษาประตูจำเป็น)

ธรรมเนียมปฏิบัติของทีมต่อผู้รักษาประตู


ปกติแล้วผู้จัดการทีมทั่วๆ ไปมักจะไม่นิยมเปลี่ยนตัวผู้รักษาประตูมือ 1 ออกจากสนามโดยที่ไม่มีเหตุผลจำเป็น (เช่นผู้รักษาประตูมือ 1 เจ็บหนัก, ได้รับใบแดง, หรือเสียประตูมากเกินไป) และปกติผู้รักษาประตูมือ 1 มักจะใส่เสื้อหมายเลข 1 จริงๆ แล้วไม่มีกฏตายตัวว่าผู้รักษาประตูต้องใส่เบอร์ 1 แต่ทีมฟุตบอลในโลกเกือบทั้งหมด เบอร์ 1 มักจะเป็นของผู้รักษาประตู ในทีมบางทีมผู้เล่นที่ไม่ใช่ผู้รักษาประตูใส่เบอร์ 1 ซึ่งมีน้อยมาก


ทักษะความชำนาญต่าง ๆ ที่ควรจะฝึกหัดสำหรับผู้รักษาประตู


1. รับลูกที่กลิ้งมากับพื้น
2. รับลูกระดับเอว
3. รับลูกระดับอก
4. รับลูกเหนือศีรษะ
5. การปัดลูกให้ข้ามคานประตู ในกรณีที่ลูกโด่งหรือลูกสูงแรง และมีผู้เล่นอยู่หน้าประตูมาก และไม่แน่ใจว่าจะรับลูกอยู่ได้
6. การชกลูก ใช้เมื่อมีคู่ต่อสู้หลายคนกระโดดโหม่งลูก ซึ่งถ้าผู้รักษาประตูจะกระโดดจับคงไม่ถนัด ในกรณีนี้ให้ใช้กำปั้นชกลูกออกไปเสียก่อน ถ้าชกสองมือได้ยิ่งดี ถ้าไม่ถนัดก็ให้ใช้เพียงมือเดียว
7.พุ่งรับลูกที่กลิ้งมากับพื้นเมื่อพุ่งไปหยิบได้ลูกแล้ว ต้องเอาลูกมาไว้ในอ้อมแขน แล้วกอดเอาไว้โดยเร็วที่สุด
8. เตะลูกส่ง ต้องหัดหลอกล่อไปมาอย่าให้คู่ต่อสู้รู้ว่าจะไปทางไหน
9. การขว้างลูก บางโอกาสจำเป็นต้องใช้ จะต้องฝึกขว้างไปยังพวกของตน ซึ่งไม่มีใครคุมอยู่
เทคนิคการซ้อมของผู้รักษาประตู
*หลักการที่สำคัญคือมีสมาธิในการเล่นมีใจรักในการเล่นและทำยังไงก้อได้ไม่ให้เสียประตู

ที่มา


http://www.suphanburifc.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=568
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B9

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น