วิธีการเลี้ยงกบในขวดพลาสติก

22.1.53

วันนี้ไปอ่านเจอมาครับ ดีมากเลย เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นที่ แต่สามารถเลี้ยงกบได้ครับ ผลผลิตที่ได้ กบตัวโต แข็งแรง และสะอาด ครับ

วิธีการเลี้ยงกบในขวดพลาสติก

วัสดุและอุปกรณ์
1. ขวดพลาสติก ขนาดบรรจุ 1.25 ลิตร
2. ตู้หรือชั้นวางของ
3. มีด หรือคัตเตอร์
4. น้ำสะอาด
5. อาหารเม็ดสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงกบ
6. ลูกกบ อายุ 1 เดือน ขึ้นไป

วิธีการเลี้ยง :
วิธีการเลี้ยงกบในขวดพลาสติก
1 .นำขวดพลาสติกที่เตรียมไว้ทำความสะอาด
2 .เจาะรูเป็นรูปสามเหลี่ยม ขนาด 2 เซนติเมตร บริเวณ 1 ส่วน 3 ของขวดด้านบน เพื่อเป็นที่หายใจและให้อาหาร
3. นำลูกกบ อายุ 1 เดือน ขึ้นไป ใส่ลงในขวดพลาสติกที่เตรียมไว้ เติมน้ำพอท่วมหลังกบ ปิดผาให้สนิท
4. นำไปวางในชั้นวาง โดยวางขวดพลาสติกให้เอียง 45 องศา ไว้ในที่ร่ม
5. ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 3-5 เม็ด (เช้า-เย็น)
6. เปลี่ยนน้ำวันละ 1 ครั้ง ก่อนให้อาหารครั้งที่ 2 (ตอนเย็น)
7. เปิดฝาขวด เมื่อกบโตแล้ว (3 เดือน ขึ้นไป)
8. นำกบไปประกอบอาหารได้ เมื่ออายุตั้งแต่ 4 เดือน ขึ้นไป

การให้อาหาร :
วิธีการเลี้ยงกบในขวดพลาสติก

อาหารผสมอัดเม็ด อาหารผสมแบบอัดเม็ดเป็นอาหารที่สะดวกในการใช้ การเก็บรักษา มีปริมาณและคุณค่าอาหารที่แน่นอน การเตรีอมอาหารผสมจะเตรียมจากวัตถุดิบชนิดต่าง ๆ นำมาผสม กันตามสูตร อาหารผสมนี้ลูกกบจะไม่ค่อยคุ้นเคยต้องหัดให้กินโดยในระยะแรกอาจจะผสมปลาเป็ดให้ มากไว้ก่อนแล้วค่อยๆ ลดปลาเป็ดลงจนเหลือแต่อาหารผสมล้วน ๆ

ชนิดของอาหาร

1.1 อาหารธรรมชาติ ได้แก่ไรแดงและแพสงค์ตอน จะให้ลูกอ๊อดหลังจากถุง ไข่แดงยุบและให้กินอาหารเหล่านี้ประมาณ 1-2 อาทิตย์

1.2 อาหารส่าเร็จ ได้แก่ไข่แดง เนื้อปลาต้มสุก ผักกาดขาวลวกพอให้สุก ไข่ตุ๋น เป็นต้น ซึ่งเป็นอาหารเสริมอาหารธรรมชาติต้องอาศัยการฝึกให้ลูกกบรู้จักกินอาหารพวกนี้ เพราะระยะแรกลูกอ๊อดจะไม่กินอาหาร

1.3 อาหารเป็นหรืออาหารที่ยังมีชีวิตได้แก่หนอนและแมลงต่าง ๆ ซึ่งเป็นอาหาร ที่ลูกกบเล็กและกบโตชอบ

1.4 อาหารผสม ได้แก่การนำอาหารต่าง ๆ มาผสมให้เข้ากัน โดยใช้เครื่องผสมอาหาร หรือจะใช้อาหารผสมอัดเม็ดเหมือนกับอาหารปลาก็ได้ อาหารที่ใช้ควรมีโปรตีนประมาณ 30-40 เปอร์เชนต์ ชนิดและขนาดของอาหารผสมควรมีความสัมพันธ์กับขนาดของลูกกบด้วย

สูตรการทำอาหารกบ
1.ช่วงลูกอ๊อด
วัตถุดิบ
1.รำอ่อน
2.ไข่

วิธีการทำ
1.นำไข่ดิบมาตีในน้ำอุ่น
2.นำรำอ่อนมาผสมกับไข่ที่ตีให้แตกแล้ว คลุกเคล้าให้เข้ากัน
3.นำไปเลี้ยงลูกอ๊อดของกบได้เลย

2.กบโต
วัตถุดิบ 1.ไส้เดือนสด
2.หอยเชอร์รี่
3.รำอ่อน
4.กล้วยสุก

วิธีการทำ 1.นำไส้เดือนมาสับ
2.นำหอยเชอร์รี่มาต้มแล้วแกะออก มาสับให้ละเอียด
3.นำส่วนผสมทุกอย่างมาปั่นให้ละเอียดแล้วปั่นเป็นก้อน แล้วโยนให้กบกินได้เลย

การสังเกตและให้เวลาในการเลี้ยงกบขวด :
1. ควรให้อาหารพอเหมาะ โดยให้สังเกตไม่มีอาหารเหลือในขวด เมื่อให้อาหารครั้งต่อไป
2. น้ำที่เปลี่ยนถ่ายสามารถนำไปรดต้นไม้หรือผักสวนครัวต่อไป
3. ควรทำความสะอาดขวดที่ใช้เลี้ยงเมื่อสกปรกหรือมีกลิ่น
4. เมื่อพบกบมีบาดแผลให้รีบรักษา โดยผสมยาปฏิชีวนะกับอาหารให้กบกิน ส่วนใหญ่จะพบบาดแผลที่ปาก เนื่องจากกระโดดในขวดเมื่อกบตัวโตขึ้น
5. ขวดพลาสติกที่นำมาเลี้ยงควรเป็นขวดลักษณะสี่เหลี่ยม จะสะดวกและเหมาะสมในการจัดชั้นวาง

ตัวอย่างเกษตรกรผู้ประสบผลสำเร็จจากการเลี้ยงกบในขวดพลาสติก



"ฉอ้อน เผนโคกสูง"
วิธีการเลี้ยงกบในขวดพลาสติก

เกษตรกรวัย 54 ปี แห่งเมืองย่าโม "โคราช" เจ้าของไอเดียการเลี้ยงกบคอนโด หรือที่ใช้ล้อยางรถยนต์วางซ้อนกันจนเป็นที่ฮือฮาเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ได้แนวคิดใหม่ใช้ขวดน้ำอัดลมขนาด 5 ลิตรเลี้ยงกบ ซึ่งแต่ละขวดเลี้ยงได้ 4-5 ตัว และพบว่าวิธีนี้นอกจากกบตัวใหญ่ น้ำหนักดี สะอาด ประหยัดต้นทุนแล้ว ยังปลอดภัยจากโรคอีกด้วย
การเลี้ยงกบคอนโด

หลังประสบความสำเร็จจากการเพาะเลี้ยงกบคอนโด ซึ่งเป็นการเลี้ยงแบบใช้ยางรถยนต์ซ้อนกัน 3-4 ชั้นใส่น้ำแล้วนำลูกกบลงไปเพาะเลี้ยง ซึ่งวิธีดังกล่าวประหยัดพื้นที่ สะดวกต่อการเลี้ยง กบจะแยกย้ายกันอยู่เป็นชั้นๆ ไม่รบกวนกัน ทำให้มีขนาดใหญ่ แข็งแรงสมบูรณ์ และจำหน่ายได้ราคาดีสร้างรายได้ให้อย่างงามนั้น

ล่าสุด ฉอ้อนค้นพบวิธีการเลี้ยงกบแบบใหม่ ที่สะดวก เลี้ยงง่าย และประหยัดพื้นที่กว่าการเลี้ยงแบบคอนโด แถมยังปลอดจากเชื้อโรคต่างๆ ที่สำคัญเป็นรูปแบบการเลี้ยงที่ไม่เฉพาะคนรูปร่างปกติเท่านั้น คนพิการที่มีความสนใจก็สามารถจะประกอบอาชีพได้ นั่นคือการเลี้ยงกบในขวดพลาสติก
"การเพาะเลี้ยงแบบนี้ทำได้ง่าย เพียงนำขวดน้ำพลาสติกขนาดบรรจุน้ำ 5 ลิตร ใส่น้ำเพียงเล็กน้อย วางขวดแนวนอนแล้วเจาะรูเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าไว้เป็นที่เปิดใส่อาหารเม็ดซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้เลี้ยงปลาดุก จากนั้นใส่ลูกกบที่อายุ 60 วันลงในขวด ขวดละไม่เกิน 5 ตัว เพาะเลี้ยงต่อไปอีก 90 วัน จากนั้นก็เอากบไปขายได้ซึ่งน้ำหนักแต่ละตัวจะอยู่ที่ 4 ขีดกว่า ราคาขายกิโลกรัมละ 80-90 บาท โดยจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน" ฉอ้อนเผยถึงวิธีการเลี้ยง



ส่วนการนำกบออกไปขาย ฉอ้อนบอกให้ตัดขวดหรือไม่ชั่งขายทั้งขวดโดยให้ลูกค้าหิ้วขวดกลับไปเลยก็ได้เพราะต้นทุนขวดไม่แพงเพียงใบละ 1-2 บาท ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านรับซื้อของเก่า ทั้งนี้หากจะเลี้ยงจำนวนมากก็ต้องทำนั่งร้านคล้ายชั้นวางของเพื่อวางขวดน้ำพลาสติกที่ใช้เลี้ยงกบเรียงไว้เป็นแถวๆ 3-4 ชั้นแล้วแต่สะดวก

วิธีนี้ปลอดภัยจากโรค สะดวกกว่าเลี้ยงในคอนโด เพราะไม่ต้องทำความสะอาดเพียงแค่เปลี่ยนน้ำทุก 3 วัน แถมประหยัดน้ำกว่า ศัตรูหรือสัตว์ต่างๆ เข้าไปรบกวนไม่ได้ ทำให้กบสะอาดแข็งแรง ขายได้ราคา ที่สำคัญเป็นวิธีเลี้ยงที่เหมาะสำหรับคนพิการที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนได้สะดวก ซึ่งหากท่านใดสนใจติดต่อมาที่ผมได้" เจ้าของความคิดฝากบอก

พร้อมระบุถึงสาเหตุที่คิดค้นการเลี้ยงวิธีนี้ขึ้นมา เพราะพ่อเคยสอนให้ตนเลี้ยงกบในกะลา โดยนำกะลามาครอบลูกกบ กะลาละ 1 ตัว และหยอดอาหารลงไปตามรูของกะลา ซึ่งกว่าจะครบก็ใช้เวลานาน แต่เมื่อบริษัทน้ำอัดลมผลิตขวดพลาสติกขนาด 5 ลิตรออกมา จึงเกิดไอเดียนำกบเข้าไปเลี้ยงและพัฒนาจนประสบความสำเร็จ

สำหรับผู้ที่สนใจการเพาะเลี้ยงกบทั้ง 2 แบบ ฉอ้อนบอกหากต้องการไปดูวิธีการเลี้ยงแบบให้เห็นกันจะๆ ก็แวะไปเยี่ยมเยือนได้ที่ 106 หมู่ 8 บ้านกระโดน ต.หนองไข่น้ำ อ.เมือง จ.นครราชสีมา หรือหากอยู่ไกลไม่สามารถเดินทางไปได้ สามารถโทรไปสอบถามที่ 08-6261-1997 หรือ 08-1955-1431 ยินดีให้คำแนะนำกับทุกคน



นางสัมพันธ์ ต้นกันยา
วิธีการเลี้ยงกบในขวดพลาสติก
วิธีการเลี้ยงกบในขวดพลาสติก


ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนบ้านคงอุดม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำโครงการเลี้ยงกบขวดเพื่อเศรษฐกิจในครัวเรือนในโรงเรียนจนประสบความ สำเร็จสามารถขยายผลไปสู่ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงสามารถประกอบเป็นอาชีพเสริม ในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี คุณสัมพันธ์ได้บอกถึงข้อดีของการเลี้ยงกบนาในรูปแบบนี้มีจุดเด่นตรงที่ ประหยัดพื้นที่ในการเลี้ยงและลดต้นทุนในการผลิต โดยเริ่มต้นจากการจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการเลี้ยง ใช้ขวดพลาสติกที่ใช้แล้วขนาดบรรจุ 1.25 ลิตร นำขวดพลาสติกมาล้างทำความสะอาด หลังจากนั้นเจาะรูเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาด 2 เซนติเมตร บริเวณ 1 ส่วน 3 ของขวดด้านบนเพื่อเป็นที่หายใจและให้อาหาร

นำลูกกบนาที่มีอายุประมาณ 2-3 อาทิตย์ มาใส่ในขวดพลาสติกขวดละ 1 ตัว ปิดฝาขวดให้แน่นใส่น้ำลงไปประมาณ 1 ใน 4 ของขวด นำไปวางในชั้นวางลักษณะขวดเอียง 45 องศา โดยเอาปากขวดลงและเอาก้นขวดบริเวณที่เจาะรูขึ้น สถานที่วางขวดจะต้องวางในที่ร่มและเย็น ป้องกันแสงแดดส่องเผาตัวกบ และควรจะเป็นสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เช่น ใต้ชายคาบ้าน ในระยะแรกในการเลี้ยงใช้อาหารกบเล็ก ถ้าไม่มีหรือหายากอาจจะประยุกต์ใช้อาหารปลาดุกเล็กที่มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 30% ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 3-5 เม็ด เช้า-เย็น

เมื่อกบนาโตขึ้นให้ปรับสูตรอาหารเป็นอาหารปลาดุกกลางและปลาดุกใหญ่ตามลำดับ ในระหว่างการเลี้ยงจะต้องมีการถ่ายเทน้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อป้องกันน้ำเน่าเสีย โดยให้สังเกตจากเศษอาหารในขวดถ้ามีมากและน้ำเริ่มเปลี่ยนสี เมื่อเลี้ยงกบในขวดได้นานประมาณ 3 เดือน ให้เปิดฝาปิดขวดและน้ำหนักของตัวกบนาจะได้ขนาด 200-250 กรัม ซึ่งอัตราการเจริญเติบโตใกล้เคียงกับการเลี้ยงในบ่อดิน

คุณสัมพันธ์ ได้บอกว่าเมื่อกบนามีอายุได้ 4 เดือน ให้นักเรียนจับมาบริโภคได้ ข้อเสนอแนะในการเลี้ยงกบในขวดพลาสติกควรจะให้อาหารพอเหมาะไม่ควรมีอาหาร เหลือในขวด น้ำที่เปลี่ยนถ่ายให้นำไปรดต้นไม้หรือพืชผักสวนครัว ขวดพลาสติกที่นำมาเป็นภาชนะเลี้ยงควรเป็นขวดลักษณะสี่เหลี่ยมเพื่อสะดวกใน การจัดชั้นวางรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่โรงเรียนบ้านคงอุดม โทร. 0-4222-3430


ลุงค่อย อินแพง



เกษตรกรวัย 50 ปีเศษ ชาวบ้านหมู่ 9 ต.ร่มเมือง อ.เมือง จ.พัทลุง เลี้ยงกบแบบปล่อยเลี้ยงในบ่อ แต่กบกลับโตช้า และลำตัวมีขนาดเล็ก-ใหญ่ไม่เท่ากัน เพราะต่างแย่งอาหารกัน จึงคิดทดลองเลี้ยงกบในขวดพลาสติก เนื่องจากมองว่าน่าจะตัวใหญ่เพราะไม่มีการแย่งอาหารกัน และไม่เป็นโรค




ลุงค่อย กล่าวว่า การเลี้ยงกบโดยใช้ขวดพลาสติกชนิดเหลี่ยม ขนาด 1.25 ลิตร เจาะรูด้านข้างเป็นรูกลมขนาด 2 เซนติเมตร และนำคอขวดน้ำพลาสติกชนิดกลมมาเสียบ นำมุ้งมาคลุมด้านบน รัดด้วยยางเส้นกันกบกระโดดออก ให้อาหารสำเร็จรูปวันละ 2 มื้อ เปลี่ยนถ่ายน้ำ 2 วันครั้ง ไป 15 วัน จึงเปลี่ยนอาหารเป็นอาหารกบรุ่น พอได้ 1 เดือนเปลี่ยนเป็นอาหารกบใหญ่ ประมาณ 2-3 เดือนก็จับขาย จากการทดลองเลี้ยงกบ จะได้ขนาด 2-3 ตัวต่อกิโลกรัม ส่งขายตามร้านขายอาหารกิโลกรัมละ 100 บาท โดยพ่อค้าจาก จ.นครศรีธรรมราช เข้ามาเหมาหมด เพื่อส่งขายประเทศจีน เพราะได้เนื้อกบที่นุ่มรสชาติอร่อย และไม่มีกลิ่น เมื่อเทียบกับการเลี้ยงบ่อดิน




การเลี้ยงจะเป็นแบบโรงเรือนโดยทำเป็นชั้นๆ เพื่อวางขวดเป็นแถวข้างๆบ้าน เปิดโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยจะเลี้ยงเป็นรุ่น รุ่นละ 100 ตัว ถ้าต้องการให้โตเร็วควรเลี้ยงกบตัวเมีย นอกจากช่วยเสริมรายได้ให้ครัวเรือนแล้ว ยังสามารถนำขวดพลาสติกเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าอีกด้วย



READ MORE - วิธีการเลี้ยงกบในขวดพลาสติก

กฎหมายการใช้แรงงานเด็ก

กฎหมายการใช้แรงงานเด็ก


เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า เด็กฉลาด ชาติเจริญ คำกล่าวเหล่านี้ผู้ใหญ่เป็นคนพูด แล้วทำไมยังใช้แรงงานเด็กอีกหล่ะ
ไปดูกฎหมายเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็กกันครับ



มาตรา ๔๔ ห้ามมิให้นายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่าสิบห้าปีเป็นลูกจ้าง
มาตรา ๔๕ ในกรณีที่มีการจ้างเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปีเป็นลูกจ้าง ให้นายจ้างปฏิบัติดังนี้
(๑) แจ้งการจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เด็กเข้าทำงาน (๒)จัดทำบันทึกสภาพการจ้างกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจได้ในเวลาทำการ
(๓) แจ้งการสิ้นสุดการจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เด็กออกจากงาน
มาตรา ๔๘ ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปีทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด
มาตรา ๔๙ ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปีทำงานอย่าหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(๑) งานหลอม เป่า หล่อ หรือรีดโลหะ
(๒) งานปั๊มโลหะ
(๓) งานเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความสั่นสะเทือน เสียง และแสงที่มีระดับแตกต่างจากปกติ อันอาจเป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๔) งานเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๕) งานที่เกี่ยวกับจุลชีวันเป็นพิษซึ่งอาจเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ราหรือเชื้ออื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๖) งานเกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ เว้นแต่งานในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗) งานขับหรือบังคับรถยกหรือปั้นจั่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๘) งานใช้เลื่อยเดินด้วยพลังไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์
(๙) งานที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ อุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา
(๑๐) งานที่เกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีตามที่กำหนดในกฎกระทรวง(๑๑) งานทำความสะอาดเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ขณะที่เครื่องจักรหรือเครื่องยนต์กำลังทำงาน
(๑๒) งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไปงาน
(๑๓) อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๕๐ ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่าสิบแปดปีทำงานในสถานที่ดังต่อไปนี้
(๑) โรงฆ่าสัตว์
(๒) สถานที่เล่นการพนัน
(๓) สถานที่เต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง
(๔) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอน หรือมีบริการนวดให้แก่ลูกค้า
(๕) สถานที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา ๕๑ ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างของลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กให้แก่บุคคลอื่น ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับเงินประกันเพื่อการใด ๆ จากฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นเด็ก
ในกรณีที่นายจ้าง ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็ก บิดามารดาหรือผู้ปกครองของลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กจ่ายหรือรับเงินหรือประโยชน์ตอบแทนใด ๆ เป็นการล่วงหน้าก่อนมีการจ้างขณะแรกจ้างหรือก่อนถึงงวดการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กในแต่ละคราว มิให้ถือว่าเป็นการจ่ายหรือรับค่าจ้างสำหรับลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กนั้น และห้ามมิให้นายจ้างนำเงินหรือประโยชน์ตอบแทนดังกล่าวมาหักจากค่าจ้างซึ่งต้องจ่ายให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กตามกำหนดเวลา
เลิกใช้แรงงานเด็ก

คำว่า "เด็ก" ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ หมายถึง บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีบริบูรณ์ ตามบทกฎหมายกำหนดห้ามมิให้นายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี เป็นลูกจ้าง (มาตรา ๔๔) ในขณะเดียวกันถ้ามีการจ้างเด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีเป็นลูกจ้าง นายจ้างก็ต้องแจ้งการจ้างลูกจ้างเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงาน ต้องจัดทำบันทึกสภาพการจ้างกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และต้องแจ้งการสิ้นสุดการจ้างลูกจ้างเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงาน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๕
READ MORE - กฎหมายการใช้แรงงานเด็ก

วิธีการเลี้ยงบอลเพื่อครอบครองลูก

20.1.53

เทคนิคการเก่งบอล

รูปแบบการฝึกและสิ่งที่ต้องเตรียม

1. พื้นที่ในการฝึก 10 x 10 หลา
2. ผู้เล่นกลุ่มละ 3 คน ต่อพื้นที่ 1 ส่วน
10 x 10
3. ลูกบอลคนละ 1 ลูก
4. วัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้และพัฒนาจังหวะ
ในการใช้ลำตัวบังคู่ต่อสู้

วิธีการเล่นฟุตบอลให้เก่ง

วิธีปฏิบัติ
1. สายตามองลูกฟุตบอลที่อยู่ข้างหน้า
2.เลี้ยงบอลไปข้างหน้าเข้าหาแถวแต่ละแถว
3.ถึงจุดกึ่งกลางปฏิบัติดังนี้
3.1 ล็อคลูกกลับด้วยความเร็วและใช้ลำตัว
ป้องกันลูก
3..2 เลี้ยงบอลเป็นวงกลมด้วยข้างเท้าด้านใน
3..3 เลี้ยงบอลเป็นวงกลมด้วยข้างเท้าด้านนอก
3.4 ล็อคบอลด้วยข้างเท้าด้านใน (Inside hook )
3.5 ล็อคบอลด้วยข้างเท้าด้านใน (Outside hook )
3.6 ล็อคบอลแบบโยฮัน ครัฟฟ์โดยการวางเท้า
ซ้ายห่างจากลูกบอลประมาณ 1 คืบ เปิด
ปลายเท้าใช้เท้าขวาล็อคลูกบอลด้วยข้าง
เท้าด้านใน ให้ลูกบอลกลับทิศทางไปทาง
ด้านหลังระหว่างเท้าทั้งสอง (เท้าซ้ายก็
เช่นเดียวกัน)


link: kalasinpit.ac.th
READ MORE - วิธีการเลี้ยงบอลเพื่อครอบครองลูก

การเลี้ยงลูก สัมผัสบอลด้วยความเร็ว

19.1.53

เล่นฟุตบอลให้เก่ง
รูปแบบการฝึก และสิ่งที่ต้องเตรียม
1. พื้นที่ในการฝึก 30 x 20 หลา
2. ผู้เล่น 3 คน ต่อพื้นที่ 1 ส่วน 10 x 10
3. ลูกบอลคนละ 1 ลูก
4. วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเร็วของเท้าในการสัมผัส
ลูกบอล

วิธีฝึกปฏิบัติ
วิธีการเลี้ยงลูกฟุตบอล

1. สายตามองลูกฟุตบอลที่อยู่ข้างหน้า
2. ภายใน 30 วินาที แตะลูกให้เร็วที่สุดได้
กี่ครั้ง ด้วยความเร็ว
3. เหมือนข้อสองทุก ๆ 5 ครั้ง แตะบอลด้วย
ข้างเท้าด้านในดึงบอลเข้าหาตัวด้วยข้าง
เท้าด้านใน

ส่วนที่ใช้สัมผัสลูกบอล
ฝ่าเท้า ข้างเท้าด้านใน ข้างเท้าด้านนอก
หลังเท้า

การเคลื่อนไหว
1.ดึงเข้าหาตัว
2.แตะบอลออกไปข้างหน้า ข้าง ๆ ข้างหลัง
3.อยู่ใต้ลำตัว

วิธีการฝึก
ผู้เล่น 3 คน ใน 1 พื้นที่ ลูกบอลคนละละลูก ฝึกการสัมผัสบอลด้วยความเร็วตามคำสั่ง
READ MORE - การเลี้ยงลูก สัมผัสบอลด้วยความเร็ว

Videora iPod Converter

โปรแกรมแปลงไฟล์วิดีโอสำหรับ iPod อีกตัวนึงที่ขอแนะนำ ด้วยการใช้งานที่ง่าย และประสิทธิภาพดี สะดวก และสามารถหาโหลดได้ทั่วไปเพราะเป็นฟรีแวร์

Videora iPod Converter<br />


Videora iPod Converter
ประเภท : Freeware
เว็บไซต์ : http://www.videora.com/en-us/Converter/iPod/
ระบบปฏิบัติการ : WinXP
ผู้ผลิต : Videora
ขนาด : 6.14MB
ดาวน์โหลด : http://www.videora.com/en-us/Converter/iPod/download.php
READ MORE - Videora iPod Converter

โหวด


โหวด เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่ไม่มีลิ้น เกิดจากกระแสลมที่เป่าผ่านไม้รวกหรือไม้ เฮี้ย (ไม้กู่แคน) หรือไม้ไผ่ ด้านรู เปิดของตัวโหวดทำด้วยไม้รวกขนาดเล็ก สั้น ยาว (เรียงลำดับตามความสูงต่ำของเสียง) ติด อยู่รอบกระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เป็นแกนกลาง ติดไว้ด้วยขี้สูด มีจำนวน ๖-๙ เลา ความ ยาวประมาณ ๒๕ เซนติเมตร เวลาเป่าจะหมุนไปรอบๆ ตามเสียงที่ต้องการ

โหวด ทำจากไม้กู่แคน ซึ่งเป็นปลายที่เหลือจากการทำแคน แต่มีรูปแบบการกำเนิดเสียง ที่แตกต่างจากแคน โดยแคนมีลิ้นเป็นตัวให้กำเนิดเสียง แต่โหวดไม่มีลิ้น ให้กำเนิดเสียงโดยการไหลของลม ระดับเสียง สูง-ต่ำ ขึ้นอยู่กับ ขนาดความโต และความยาวของลูกโหวด หรือ ขึ้นอยู่กับปริมาตรความจุลมของลูกโหวดนั่นเอง หากมีความจุมาก เสียงจะต่ำ หากมีความจุน้อย เสียงจะสูง

ลูกโหวด ด้านหัวของแต่ละลูก เสี้ยมปลายให้แหลมเป็นปากปลาฉลาม และนำแต่ละลูก มาติดเข้ากับแกนโดยรอบ เรียงลำดับจากยาวไปหาสั้น

โหวดมาตรฐาน มี ๑๓ ลูก ๕ โน้ต ตามโน้ตเพลงพื้นบ้านอีสาน คือ มี ซอล ลา โด เร สามารถบรรเลงเพลงลายใหญ่ และลายสุดสะแนนได้ หรือหากต้องการใช้เล่นร่วมกับลายน้อย และลายโป้ซ้ายได้ ก็สามารถปรับคีย์ลูกโหวดให้สูงขึ้น ก็จะได้โน้ต ๕ ตัวสำหรับคีย์ลายน้อย คือ ลา โด เร ฟา ซอล

ต่อมา เพื่อให้โหวดหนึ่งตัว เล่นได้หลายลายหรือหลายสเกลเสียงมากขึ้น จึงเพิ่มเสียง ฟา เข้าไปเป็น ๖ โน้ต ซึ่ง โหวดที่มี ๖ โน้ต จะสามารถบรรเลงลายใหญ่ ลายน้อย ลายสุดสะแนน และลายโป้ซ้าย ได้ แต่บางคน อาจสั่งพิเศษ ให้ช่างโหวดทำให้ครบทั้ง ๗ โน้ต เพื่อให้บรรเลงเพลงลูกทุ่งได้เต็มสเกล แต่โหวดที่มี ๗ โน้ต อาจเล่นยากกว่าโหวดปกติ

โหวด มีส่วนประกอบสำคัญ ดังนี้

ส่วนประกอบของโหวด

ลูกโหวด

ลูกโหวด จากไม้ตระกูลไผ่ ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำแคน ช่างแคนนิยมเรียกไว้ชนิดนี้ว่า ไม้กู่แคน โดยมากมักใช้ส่วนที่เหลือจากการทำลูกแคน มาตัดทำเป็นลูกโหวด


แกนโหวด

แกนโหวด เป็นส่วนสำหรับนำลูกโหวดมาติดเรียงเข้าด้วยกัน ตามลำดับโน้ต ทำจากลำไม้ไผ่ เหลาให้เหลือเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว และปาดเฉือนทำเป็นหางด้วย


หัวโหวด

หัวโหวดมีลักษณะสอบแหลม ปลายมน ใช้เพื่อให้เป่าลูกโหวดได้ง่าย ทำจากขี้สูด ผสมกับขี้ซี (ยางไม้ เช่น ต้นจิก ต้นแคน เป็นต้น) ปัจจุบัน อาจใช้วัสดุอย่างอื่น ทดแทน


ประเภทของโหวด

โหวดหาง (หรือโหวดแกว่ง)
โหวดกลม (ทั่วไป)
โหวดแผง



โหวดหาง เครื่องเล่นเพื่อความเพลิดเพลิน

โหวดหาง (หรือโหวดแกว่ง)<br />

โหวด สมัยก่อน เป็นอุปกรณ์เครื่องเล่นเพื่อความเพลิดเพลินอย่างหนึ่ง เท่านั้น ยังไม่ถือว่าเป็นเครื่องดนตรี เพราะยังไม่มีการนำมาบรรเลงเป็นเพลงจริงๆ โดยโหวดในสมัยก่อน ประกอบด้วย แกนกลาง ซึ่งทำจากไม้ไผ่ลำโตขนาดกลาง และลูกโหวด ซึ่งทำจากลำไผ่เล็กมีรู หากลูกโหวดมีผิวหนา ก็ใช้มีดเหลาเปลือกออกให้บางลง นำลูกโหวดมาติดรอบแกนด้วยขี้สูด หรือหากไม่มีขี้สูดก็ใช้ยางมูก (มูก เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง มียางเหนียว) เป็นตัวประสาน ซึ่งโหวดนี้ สามารถถือเป่าเล่นเพื่อความเพลิดเพลินได้

นอกจากนั้น สามารถนำโหวดนี้ไปเล่นในลักษณะอื่นได้ โดยนำไม้ไผ่ลำเล็ก ยาวประมาณ 1 วา หรือสมดุลกับตัวโหวด มามัดติดเข้ากับเข้ากับตัวโหวด ทำเป็นหางโหวด เรียกโหวดนี้ว่า โหวดหาง

การเล่นโหวดหาง คือ ใช้เชือกทำเป็นบ่วง สองอัน คล้องมัดกับตัวโหวด ให้สมดุลย์ จากนั้น จับหางเชือก แกว่งเวียนรอบศีรษะ ในทิศทางที่หัวโหวดต้านลม จะเกิดเสียงดัง ฟังสนุกสนาน หากต้องการขว้างแข่งกัน ก็ปล่อยหางเชือก ให้โหวดลอยไปในอากาศ ซึ่งก็จะเกิดเสียงดัง เช่นกัน

ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว หรือหน้าหนาว นิยมทำโหวดหางมาขว้างแข่งกัน โดยใครขว้างได้ไกลกว่า เป็นผู้ชนะ ซึ่งโหวดที่นำมาเล่น ต้องมีเสียงดังด้วย หากไม่ดัง แม้จะไปไกลกว่า ก็ไม่ถือว่าชนะ

โหวดหาง

เอาเพียงแค่มีเสียงดัง ซึ่งก็มีทั้งเสียงทุ้ม และเสียงแหลม แต่ยังไม่มีการเรียงเป็นโน้ต หรือไม่มีการปรับระดับโทนเสียงให้เล่นเป็นเพลงได้ แม้จะนำมาเป่าเพื่อความเพลิดเพลินได้ แต่ก็ยังไม่จัดว่าเป็นเครื่องดนตรี


โหวดกลม (ทั่วไป)
โหวดกลม

โหวดที่เป็นเครื่องดนตรี ได้รับการปรับปรุงพัฒนา โดยนายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ โดยอาศัยหลักการของโหวดหาง แต่จัดรูปแบบโน้ตโดยหลักการทางดนตรี เทียบเสียงกับแคน ซึ่งในสมัยแรก ใช้เพียง 5 โน้ต ตามลักษณะลายเพลงพื้นบ้านอีสาน


โหวดแผง
โหวดแผง<br />

โหวดแผง คือโหวดที่เป็นเครื่องดนตรี ใช้หลักการเดียวกันกับโหวดกลม ผสมผสานกับรูปแบบของเมาท์ออแกน จนออกมาเป็น โหวดแผง ซึ่งโหวดแผง จะติดลูกโหวดเรียงกันเป็นแถวเดียว ตามลำดับความยาว-สั้น
READ MORE - โหวด

วิธีการทำลาบปลาดุก

วิธีการทำลาบปลาดุก

เครื่องปรุง


ปลาดุกสด
ต้นหอมซอย 3 ต้น
สะระแหน่เด็ดเป็นใบ 1/2 ถ้วย
หอมแดงซอย 1 ช้อนโต๊ะ
ข่าหั่นฝอย 1 ช้อนชา
ใบมะกรูดหั่นฝอย 2 ช้อนชา
พริกป่น 1 ช้อนชา
ข้าวคั่วป่น 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว 2-3 ช้อนโต๊ะ





วิธีทำ

1. ขูดปลาดุกให้หมดเมือก ผ่าท้อง ควักไส้ออก ล้างให้สะอาด บั้งตัวปลาทั้ง 2 ด้าน นำไปย่างพอสุก แกะเอาแต่เนื้อ สับหยาบๆ
2. เคล้าเนื้อปลาดุกกับข้าวคั่ว พริกป่น ข่า หอมแดง ใบมะกรูด
3. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว โรยใบสะระแหน่ ต้นหอม จัดใส่จาน รับประทานกับผักสด เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ใบโหระพา


เสร็จแล้วตกแต่งให้น่ารับประทานครับ
กินกับผักพื้นบ้านเฮา ผักกาดหิ่น บักแข้งขม ถั่วฝักยาว ผักติ้ว ผักกะโดน แซบหลาย


READ MORE - วิธีการทำลาบปลาดุก

วิธีการเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลาช่อน

18.1.53

วิธีการเลี้ยงปลาช่อน

ชื่อไทย ช่อน (ภาคกลางและภาคใต้ ) , ค้อ ( ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ )
ชื่อสามัญ STRIPED SNAKE-HEAD FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์ Channa striatus


ปลาช่อนเป็นปลาพื้นเมืองของไทย พบอาศัยแพร่กระจายทั่วไปตามแหล่งน้ำทั่วทุกภาคของไทย อาศัยอยู่ในแม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ หนองและบึง ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่มีมาหลายร้อยพันปีแล้วนอกจากจะพบในประเทศไทยยังมีแพร่หลายในประเทศจีน อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือว่าการเลี้ยงปลาช่อนในประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีประมาณ 40 ปีมาแล้ว โดยชาวจีนที่ตลาดบางลี่ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นนายทุนได้รวบรวมลูกพันธุ์จากแหล่งน้ำธรรมชาติในเขตพื้นที่อำเภอสองพี่น้อง มาทดลองเลี้ยงดูและเห็นว่าพอเลี้ยงได้จึงออกทุนให้กับคนญวนที่มี ภูมิลำเนาติดกับแม่น้ำท่าจีนและคลองสองพี่น้องในตำบลสองพี่น้อง ตำบลต้นตาล โดยสร้างกระชังในล่อนแล้วแต่ขนาดและความเหมาะสม นำลูกปลาช่อนมาลงเลี้ยง โดยผลผลิตที่ได้นายทุนจะรับซื้อเอง แต่ทำได้ไม่นานก็ต้องเลิกเพราะเกษตรกรบางรายนำลูกปลาช่อนไปลองเลี้ยงในบ่อดินและพบว่าได้ผลดีกว่าและต้นทุนต่ำกว่า และปริมาณลูกปลาช่อนที่ได้รับก็มีจำนนวนมากกว่า

ลักษณะทั่วไป
ลักษณะของปลาช่อน
ปลาช่อนเป็นปลามีเกล็ด ลำตัวอ้วนกลมและยาวเรียว ท่อนหางแบนข้าง หัวแบนลง เกล็ดมีขนาดใหญ่และเกล็ดตามลำตัวเป็นสีเทาจนถึงน้ำตาลอมเทา ปากกว้างมาก มุมปากยาวถึงตา ริมฝีปากล่างยื่นยาวกว่าริมฝีปากบน มีฟันซี่เล็กๆอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ตามีขนาดใหญ่ ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังและครีบก้นยาวจนเกือบถึงโคนหาง ครีบหลังมีก้านครีบ 38-42 อัน ครีบก้นมีก้านครีบ 24-26 อัน ครีบอกมีขนาดใหญ่ ครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบหางกลม โคนครีบหางแบนข้างมาก ลำตัวส่วนหลังมีสีดำ ท้องสีขาว ด้านข้างลำตัวมีลายดำพาดเฉียง เกล็ดตามเส้นข้างลำตัวมีจำนวน 49-55 เกล็ด และมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ ปลาช่อนจึงมีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี อยู่ในที่ชื้นๆได้นาน และสามารถเคลื่อนไหวไปมาบนบกหรือฝังตัวอยู่ในโคลนได้เป็นเวลานานๆ

การแพร่ขยายพันธุ์และการวางไข่
การขยายพันธุ์ปลาช่อน
ปลาช่อนสามารถวางไข่ได้เกือบตลอดทั้งปี สำหรับฤดูกาลผสมพันธุ์วางไข่จะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-ตุลาคม แต่ช่วงที่แม่ปลามีความพร้อมมากที่สุดในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ในฤดูวางไข่จะเห็นความแตกต่างระหว่างปลาเพศผู้กับปลาเพศเมียได้ชัดเจนยิ่งขึ้น กล่าวคือ ปลาเพศเมียลักษณะท้องจะอูมเป่ง ช่องเพศขยายใหญ่มีสีชมพูปนแดง ครีบท้องกว้างสั้น ส่วนปลาเพศผู้ลำตัวมีสีเข้ม ใต้คางมีสีขาว ลำตัวยาวเรียวกว่าตัวเมีย พ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ควรมีน้ำหนักตัวประมาณ 800-1,000 กรัม ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติปลาช่อนจะสร้างรังวางไข่ตามแหล่งน้ำนิ่ง ความลึกประมาณ 30-100 เซนติเมตร โดยปลาตัวผู้จะเป็นผู้สร้างรังด้วยการกัดหญ้าหรือพันธุ์ไม้น้ำ และใช้หางโบกพัดตลอดเวลา เพื่อทำให้รังมีลักษณะเป็นวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30-40 เซนติเมตร ปลาจะกัดหญ้าที่บริเวณกลางๆของรัง ส่วนดินใต้น้ำปลาก็จะตีแปลงจนเรียบ
หลังจากที่แม่ปลาวางไข่แล้ว พ่อแม่ปลาจะคอยรักษาไข่อยู่ใกล้ๆเพื่อมิให้ปลาหรือศัตรูอื่นเข้ามากิน จนกระทั่งไข่ฟักออกเป็นตัว ในช่วงนี้พ่อแม่ปลาก็ยังให้การดูแลพาลูกหาอาหาร เมื่อลูกปลามีขนาด 4.5-6 เซนติเมตร จึงสามารถแยกตัวออกไปหากินตามลำพังได้ ซึ่งลูกปลาในวัยนี้มีชื่อเรียดว่า ลูกครอกหรือลูกชักครอก ลูกปลาขนาดดังกล่าวน้ำหนักเฉลี่ย 0.5 กรัม ปลา 1 กิโลกรัมจะมีลูกครอกประมาณ 2,000 ตัว ซึ่งลูกครอกระยะนี้จะมีเกษตรกรผู้รวบรวมลูกปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติจับมาจำหน่ายให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเนื้อ

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
ปลาช่อนที่นำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ควรเป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะสมบูรณ์ ไม่บอบช้ำและมีน้ำหนักตั้งแต่ 800-1,000 กรัมขึ้นไปและอายุ 1 ปีขึ้นไป ลักษณะของพ่อแม่พันธุ์ปลาช่อนที่ดี เหมาะสมจะนำมาใช้ผสมพันธุ์ แม่พันธุ์ควรมีส่วนท้องอูมเล็กน้อย ลักษณะติ่งเพศมีสีแดงหรือชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบาๆที่ท้องจะมีไข่ไหลออกมามีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน ใส ส่วนพ่อพันธุ์ติ่งเพศควรจะมีสีชมพูเรื่อๆ ปลาไม่ควรจะมีรูปร่างอ้วนหรือผอมจนเกินไป

การเพาะพันธุ์ปลาช่อน
ในการเพาะพันธุ์ปลาช่อนต้องเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ บ่อเพาะพันธุ์ควรมีระดับความลึกของน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร และมีการถ่ายเทน้ำบ่อยๆเพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดี มีการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ให้สมบูรณ์ซึ่งจะทำให้พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อนมีน้ำเชื้อและไข่ที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น

การเพาะพันธุ์ปลาช่อน ทำได้ 2 วิธีคือ
1. การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ วิธีนี้ควรใช้บ่อเพาะพันธุ์เป็นบ่อดินขนาด 0.5-1.0 ไร่พร้อมทั้งจัดสภาพสิ่งแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติโดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในอัตรา 1:1ให้ปลาเป็ดผสมรำเป็นอาหารในปริมาณร้อยละ 2.5-3 ของน้ำหนักปลา
2. การเพาะพันธุ์โดยวิธีการผสมเทียมด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่เพื่อที่รีดไข่ให้ผสมกับน้ำเชื้อ หรือปล่อยให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใช้ได้แก่ LHRHa หรือ LRH-a โดยใช้ร่วมกับ Domperidone
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาช่อนโดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ฉีดเร่งให้แม่ปลาวางไข่นั้นฉีดเพียงครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 30 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัมร่วมกับ Domperidone 10 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักแม่ปลา 1 กิโลกรัม ส่วนพ่อพันธุ์ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 15 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัมร่วมกับ Domperidone 5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัม จากนั้นประมาณ 8-10 ชั่วโมงสามารถรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้ เนื่องจากไข่ปลาช่อนมีไขมันมากเมื่อทำการผสมเทียมจึงต้องล้างน้ำหลายๆครั้งเพื่อขจัดคราบไขมัน นำไข่ไปฟักในถังไฟเบอร์กลาสขนาด 2 ตันภายในถังเพิ่มออกซิเจนผ่านหัวทรายโดยเปิดเบาๆในกรณีที่ปล่อยให้พ่อแม่ปลาผสมพันธุ์กันเอง หลังจากที่แม่ปลาวางไข่แล้วต้องแยกไข่ไปฟักต่างหากเช่นกัน

การฟักไข่
ไข่ปลาช่อนมีลักษณะกลมเล็ก เป็นไข่ลอย มีไขมันมาก ไข่ที่ดีมีสีเหลือง ใส ส่วนไข่เสียจะทึบ ไข่ปลาช่อนฟักเป็นตัวภายในเวลา 30-35 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 27 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด-ด่าง 7.8 และความกระด้าง 56 ส่วนต่อล้าน

การอนุบาลลูกปลาช่อน
ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆลำตัวมีสีดำ มีถุงไข่แดงสีเหลืองใส ปลาจะลอยตัวในลักษณะหงายท้องขึ้นอยู่บริเวณผิวน้ำ ลอยอยู่นิ่งๆไม่ค่อยเคลื่อนไหว หลังจากนั้น 2-3 วันจึงพลิกกลับตัวลงและว่ายไปมาตามปกติโดยว่ายรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณผิวน้ำ ลูกปลาช่อนที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัวเมื่อถุงไข่แดงยุบวันที่ 4 จึงเริ่มให้อาหารโดยใช้ไข่แดงต้มสุกบดละลายกับน้ำผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากินวันละ 3 ครั้ง เมื่อลูกปลามีอายุย่างเข้าวันที่ 6 จึงให้ไรแดงเป็นอาหารอีก 2 สัปดาห์ และฝึกให้อาหารเสริม เช่น ปลาป่น เนื้อปลาสดสับ โดยใส่อาหารในแท่นรับอาหารรูปสี่เหลี่ยมซึ่งมีทุ่นผูกติดอยู่ ถ้าให้อาหารไม่เพียงพออัตราการเจริญเติบโตของลูกปลาจะแตกต่างกัน และเกิดพฤติกรรมการกินกันเองทำใหอัตราการรอดตายต่ำจึงต้องคัดขนาดลูกปลา การอนุบาลลูกปลาช่อนโดยทั่วไปจะมีอัตราการรอดประมาณร้อยละ 70 และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันร้อยละ 50 ของปริมาตรน้ำ

การเลี้ยงปลาช่อน
การเลี้ยงปลาช่อน
ปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อ อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาช่อนจึงต้องเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง โดยทั่วไปนิยมเลี้ยงด้วยปลาเป็ด อัตราการปล่อยปลา นิยมปล่อยลูกปลาขนาด 8-10 เซนติเมตรหรือ น้ำหนัก 30-35 ตัว/กิโลกรัม ควรปล่อยในอัตรา 40-50 ตัว/ตารางเมตร และเพื่อป้องกันโรคซึ่งอาจจะติดมากับลูกปลา ให้ใช้ฟอร์มาลีนใส่ในบ่อเลี้ยงอัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน ( 3 ลิตร/น้ำ 100 ตัน ) ในวันแรกที่ปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น โดยเมื่อปล่อยลูกปลาช่อนลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงลูกปลาช่อนมีขนาดเล็ก คือ ปลาเป็ดผสมรำในอัตราส่วน 4:1 หรืออัตราส่วนปลาเป็ดร้อยละ40, รำร้อยละ30, หัวอาหารร้อยละ30 ปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกินร้อยละ 4-5 ของน้ำหนักตัวปลา วางอาหารไว้บนตะแกรงหรือภาชนะแบบลอยไว้ใต้ผิวน้ำ 2-3 เซนติเมตร ควรวางไว้หลายๆจุด
การถ่ายเทน้ำ ช่วงแรกความลึกของน้ำในบ่อควรอยู่ที่ระดับ 30-40 เซนติเมตร แล้วค่อยๆเพิ่มระดับน้ำสัปดาห์ละ 10 เซนติเมตรจนได้ระดับ 50 เซนติเมตรจึงถ่ายน้ำวันละครั้ง หลังจากอนุบาลลูกปลาในบ่อดินประมาณ 2 เดือน ปลาจะเติบโตไม่เท่ากัน ใช้อวนลากลูกปลาเพื่อคัดขนาด ไม่เช่นนั้นปลาใหญ่จะกินปลาเล็ก หลังจากอนุบาลลูกปลาในช่วง 2 เดือนแล้วต้องใช้เวลาเลี้ยงอีกประมาณ 4-5 เดือนจะให้ผลผลิต 1-2 ตัว/กิโลกรัม เช่น เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งานจะได้ผลผลิตมากกว่า 6,000 กิโลกรัม และเมื่อปลาโตได้ขนาดต้องการจึงจับจำหน่ายซึ่งก่อนจับปลาควรงดอาหาร 1-2 วัน
การจับขายจับโดยการสูบน้ำออก 2 ใน 3 แล้วตีอวน ระลึกไว้ว่าปลาช่อนเป็นปลาที่ชอบมุดโคลนเลน ดังนั้นถ้าปลาเหลืออยู่น้อย ควรสูบน้ำให้แห้งแล้วจับออกให้หมด นำปลาที่ได้มาล้างโคลนออกก่อนที่จะส่งตลาด

การเลือกสถานที่เลี้ยงปลาช่อน
ควรจะพิจารณาเป็นข้อๆดังนี้
1. ใกล้แหล่งน้ำจืด ที่สามารถใช้ได้ตลอดปี
2. น้ำไม่เป็นกรดหรือด่างมากจนเกินไป
3. ที่ดอน น้ำไม่ท่วม และเป็นที่ราบ
4. ดินเหนียว หรือปนทราย
5. คมนาคมสะดวก

การเตรียมบ่อ
1. พื้นที่ที่ใช้ไม่ควรต่ำกว่าบ่อละครึ่งไร่ลึก 1.5 - 2 เมตร ทำคันดินที่ปากบ่อเมื่อเก็บน้ำได้ระดับสูงสุด ระดับน้ำควรต่ำกว่าคันดินประมาณ 8 เมตร
2. กั้นรั้วตาข่ายหรือไนล่อนที่ปากบ่อกันปลาช่อนกระโดดหนี
3. อัดดินในบ่อให้เรียบแน่น
4. ในกรณีที่เป็นบ่อเก่าควรสูบน้ำทิ้ง เหลือน้ำไว้ลึกประมาณ 20 เซนติเมตร
5. โรยโล่ติ๊นกำจัดปลาที่ไม่ต้องการ และโรยปูนขาวในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อ 1ไร่เพื่อฆ่าพยาธิและปรับสภาพดิน
6. ตากบ่อ 5-7 วัน
7. ใส่ปุ๋ยคอกตากหมาดๆ 40-80 กิโลกรัมต่อไร่
8. ระดับน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงปลาช่อนลูกปลาขนาดเล็กกว่า 5 เซนติเมตรน้ำลึก 30-40 เซนติเมตร ปลาและลูกปลาขนาดมากกว่า 6 เซนติเมตรน้ำลึก 80-150 เซนติเมตร

**ลักษณะความแตกต่างระหว่างปลาช่อนเลี้ยงและปลาช่อนนา (ปลาช่อนที่จับจากธรรมชาติ )
- ปลาช่อนนา สีเกล็ดของลำตัวจะมีสีไม่แน่นอน แล้วแต่แหล่งน้ำที่อาศัย หัวค่อนข้างใหญ่และยาว ปากค่อนข้างแบน ลำตัวเพรียวยาวแต่ไม่กลม เมื่อผ่าท้องดูจะเห็นว่าบริเวณลำไส้ไม่มีไขมัน นอกเหนือจากฤดูวางไข่ซึ่งตัวเมียที่สมบูรณ์กำลังมีไข่อ่อนจะมีไขมันติดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
- ปลาช่อนเลี้ยง สีเกล็ดของลำตัวจะมีสีเดียวกันหมด หัวเล็กสั้น ปลายปากมนเรียว ลำตัวอ้วนกลมยาวพอประมาณ เมื่อผ่าท้องดูจะเห็นบริเวณลำไส้จะมีไขมันจับเป็นก้อนทุกตัว

โรคและการป้องกัน
โรคพยาธิและอาการของปลาช่อนส่วนใหญ่ ได้แก่
1. โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก เช่น เห็บระฆัง ปลิงใส หนอนสมอ จะเกาะดูดเลือดทำให้เกิดเกล็ดหลุด ตัวแข็งมีแผลตามตัว ปลาเกิดการระคายเคือง ถ้าปล่อยไว้นานปลาอาจจะตายหมดบ่อ ให้ใช้ดิปเทอร์เรกซ์ 400g/ 0.5 ไร่ทิ้งค้างคืนงดอาหารจนกว่าจะถ่ายน้ำใหม่หรือใช้ฟอร์มาลีน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ประมาณ 24 ชั่วโมง
2. ท้องบวมหรือเกล็ดหลุดเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ให้ใช้เทอรามัยซิน 2 กรัมในอาหาร 1 กิโลกรัมให้ปลากิน
3. โรคที่เกิดจากพยาธิภายใน เช่น พยาธิหัวหนาม พบในลำไส้ ลักษณะอาการตัวผอมและกินอาหารลดลง การรักษาโดยใช้ยาถ่ายพยาธิ

ตลาดและการลำเลียงขนส่ง

ในการขนส่งนิยมใช้ลังไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าภายในกรุสังกะสีกว้าง 58 เซนติเมตรยาว 94 เซนติเมตร ความสูง 38 เซนติเมตร สามารถขนส่งโดยรถบรรทุกสู่ตลาดทั่วทุกภาคของประเทศไทย สำหรับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณการนำเข้าปลาช่อมากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ต้องการปลาช่อนขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักตัวกว่า 1 กิโลกรัม ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำเข้าปลาช่อนที่มีน้ำหนักประมาณ 400-500 กรัม และ 700-800 กรัม สำหรับตลาดผู้บริโภคปลาช่อนในกรุงเทพฯต้องการปลาใหญ่ซึ่งมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัมขึ้นไป เป็นต้น



ตัวอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาช่อน


เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาช่อน

คุณลุงทวีป เกษตรกรบ้านบางใหญ่มีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ ขุดบ่อเลี้ยงกุ้งขาวแล้วขาดทุนจึงเลิกเลี้ยงกุ้ง
เปลี่ยนมาทำสวนผสมแทนโดยเลี้ยงปลานิล ปลากะพง ปลาช่อน ในบ่อกุ้งร้าง และที่ขอบบ่อก็ปลูกมะพร้าว ฝรั่งไร้เมล็ด มะนาวไร้เมล็ด มะละกอ ทับทิม มะขาม มะม่วง ส้มเขียวหวาน ซึ่งเทคนิคเด่นของ
ลุงทวีปคือการเลี้ยงปลาโดยที่ไม่ต้องให้อาหารกล่าวคือ ตอนแรกให้เลี้ยงปลานิลก่อนซึ่งตามธรรมชาติของปลานิลจะกินพืชจึงปลูกผักบุ้งไว้รอบบ่อปลา หลังจากที่ปลานิลมีลูกปลามากแล้ว ก็ทำการปล่อย
ปลาช่อนหรือปลากะพงลงไปให้กินลูกปลานิลทำให้ไม่ต้องให้อาหารปลาเลยและมีกำไรดีมาก


คุณชาญ บัววิเชียร กับอาชีพขุนลูกปลาช่อนขาย ที่สองพี่น้อง ปลาช่อน เป็นปลาน้ำจืดที่ตลาดมีความต้องการอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลผลิตมีทั้งปลาจากธรรมชาติ และจากบ่อเลี้ยงแม้ว่าในธรรมชาติตามหนอง คลอง บึง มีปลาชนิดนี้มาก แต่การล่าหรือจับเพื่อการค้านั้นค่อนข้างลำบาก เพราะว่าเป็นปลาที่มุดโคลนเก่ง ด้วยเหตุนี้จึงมีอาชีพเลี้ยงปลาช่อนเกิดขึ้น และกลุ่มที่ทำอย่างจริงจัง ก็คือชาวบ้านแถวๆ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรีก่อนหน้านี้ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่จะยึดอาชีพทำนา เมื่อเห็นตลาดรับซื้อปลาช่อนเปิดกว้างและให้ราคาดี พวกเขาจึงเปลี่ยนจากนาเป็นบ่อเลี้ยงปลา นับเป็นร้อยๆ รายทีเดียว

พันธุ์ปลาช่อนที่นำมาเลี้ยงช่วงแรกๆ จะหามาจากธรรมชาติ ระยะหลังบางรายซื้อมาจากสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสิงห์บุรี เนื่องจากที่นี่ประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ปลาช่อนอย่างไรก็ตาม ชาวบ้านจะนิยมเลี้ยงลูกปลาจากธรรมชาติมากกว่า ด้วยว่ายังหาได้ง่าย และสะดวกในการขนส่งอีกด้วยชาวบ้านที่อยู่ในแวดวงปลาช่อนจะแบ่งหน้าที่ของตน เองออกไปตามทุนทรัพย์ กล่าวคือ ใครไม่มีที่ดินหรือบ่อเลี้ยงปลา จะตระเวนออกหาลูกปลาตามธรรมชาติ โดยใช้สวิงช้อน เพื่อนำไปขายให้กับเจ้าของบ่อเลี้ยงปลา หรือฟาร์มเพาะเลี้ยงปลา
READ MORE - วิธีการเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลาช่อน

เคล็ดลับวิธีการรักษาอาการท้องเสียด้วยฝรั่ง

15.1.53

วิธีการรักาาอาการท้องเสีย

ใครที่ลองมาหมดทุกทางแล้วยังไม่หายขอแนะนำอีกหนึ่งวิธีครับ
ใช้ฝรั่งรักษา ไม่ใช่ฝรั่งต่างชาตินะครับ เป็นฝรั่งผลไม้ครับ

วิธีการก็มีดังต่อไปนี้ครับ


- นำใบฝรั่งมาล้างน้ำให้สะอาด ประมาณ 10-15 ใบ แล้วโขลกพอแหลก ใส่น้ำ 1 แก้วใหญ่ นำไปต้มใส่เกลือ พอเดือดยกลงนำมาดื่มแทนชา ได้ผลดี

- นำผลฝรั่งอ่อน ๆ มาฝานเอาแต่เปลือกกับเนื้อ ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วกินรวมกัน หรือจะใช้ต้มดื่มเป็นน้ำฝรั่งก็ได้


- นำใบฝรั่งสดที่ไม่อ่อน และไม่แก่เกินไป มาตัดหัวตัดท้าย แล้วนำไปแช่น้ำทิ้งไว้สักครู่ ตักน้ำที่ได้จากการแช่ใบฝรั่ง มาจิบทีละนิด ก็ช่วยรักษาได้เช่นกัน แต่อย่าจิบมากจนเกินไป อาจทำให้ท้องผูกได้

รักาาอาการท้องเสียด้วยฝรั่ง
READ MORE - เคล็ดลับวิธีการรักษาอาการท้องเสียด้วยฝรั่ง

ดนตรีพื้นบ้านและศิลปะการแสดงพื้นบ้าน

READ MORE - ดนตรีพื้นบ้านและศิลปะการแสดงพื้นบ้าน

พิณ



พิณ หรือ ซุง เป็นเครื่องดนตรีประเภทสายชนิดดีด ( Plucked Stringed Instrument) ตระกูลเดียวกับ ซึง กระจับปี่ จะเข้ แมนโดลิน ใช้บรรเลงดำเนินทำนอง นิยมทำมาจากไม้ท่อนเดียว จึงเรียกว่า ซุง ปัจจุบัน เรียกว่า พิณ ไม้ที่ทำพิณนั้นส่วนมากใช้ไม้ขนุน เพราะง่ายแก่การขูด เจาะ บาก ได้ง่าย เมื่อไม้แก่เต็มที่ไม้จะมีสีสดใสเป็นสีเหลืองสวยงามตามธรรมชาติพิณ มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อ้างอิงได้จากข้อความในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ที่กล่าวถึงการละเล่นพื้นเมืองและการเล่นดนตรีในสมัยนั้นว่า ลางจำพวกดีดพิณและสีซอพุงตอและกรับฉิ่ง เริงรำจับระบำเต้นเล่น ซึ่งให้ความหมายว่า พิณ ใช้เล่นกับซอสามสาย ประกอบกับฉิ่ง กรับมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีอีกประการหนึ่ง ชาวไทยเรารู้จักคำว่าพิณมาพร้อมกับ พุทธประวัติ ตอนที่ พระอินทราธิราชเสด็จลงมาดีดพิณสามสาย ถวายเพื่อเป็นอนุสติแก่พระพุทธเจ้าก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ ว่าการบำเพ็ญเพียรแสวงหาโฆษกธรรมนั้นถ้าเคร่งครัดนักก็เปรียบเสือนการขึ้นสายพิณให้ตรึงเกินไปแล้วย่อมขาด ถ้าหย่อนยานนักไม่มีเสียงไพเราะ แต่ถ้าทำอยู่ในขั้น มัชฌิมาปานกลาง ก็เหมือนการขึ้นสายพิณแต่เพียงพอดีกับระดับเสียง ย่อมให้เสียงดังกังวานไพเราะ แจ่มใสดังใจความในวรรณคดีเรื่อง “พระปฐมสมโพธิกถา” พระราชนิพนธ์ ของ สมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ว่า “...ขณะนั้น สมเด็จอมรินทราธิราชทราบในข้อปริวิตก ดังนั้นจึงทรง พิณพาทย์ สามสาย มาดีดถวายพระมหาสัตย์ สายหนึ่งเคร่งนักพอดีดก็ขาดออกไปเข้าก็ไม่บันลือเสียง และสายหนึ่งนั้นไม่เคร่งไม่หย่อนปานกลาง ดีดเข้าก็บันลือศัพท์ไพเราะเจริญจิต พระมหาสัตย์ได้สดับเสียงพิณก็ถือเอานิมิตนั้นทรงพิจารณาเห็นแจ้งว่า “..มัชฌิมาปฏิบัตินั้นเป็นหนทางพระโพธิญาณ....”

พิณอีสาน

ลักษณะของพิณอีสาน
พิณอีสาน มีส่วนประกอบหลักๆ 7 ส่วนดังนี้
1.ตัวพิณ หรือเต้าพิณ ส่วนใหญ่ทำจากไม้ที่มีน้ำหนักเบา เนื้อไม้ที่นิยมกันมากคือ ไม้ขนุน (ไม้บักมี่) เพราะให้เสียงที่ทุ้มกังวาน มีน้ำหนักเบา ถ้าเป็นแก่นที่นำมาจากต้นที่มีอายุมากจะให้สีสัน เมื่อเคลือบด้วยแชลแลคหรือยูรีเทนแล้วสวยงามดี ไม้ที่นำมาทำเต้าพิณจะขุดให้เป็นโพรงเพื่อให้เกิดการก้องกังวาลของเสียง เสียงที่ได้จากพิณขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาผลิต เต้าพิณที่มีขนาดใหญ่และลึกจะมีเสียงดังกว่าเต้าพิณที่มีขนาดเล็กและตื้น

2.คอพิณ ทำจากไม้เนื้อแข็ง เหลาผิวให้เกลี้ยง คล้ายกับคอของกีตาร์ ส่วนต้นต่อเข้ากับตัวเต้าพิณ ตกแต่งให้เป็นเนื้อเดียวกัน (หากได้ไม้ที่เหมาะสม อาจทำเต้าพิณและคอพิณเป็นชิ้นเดียวกันตลอดได้) ส่วนปลายทำเป็นร่องสำหรับใส่ลูกบิดขึ้นสาย


3.ขั้นแบ่งเสียง ทำจากซี่ไม้ไผ่แบน ๆ หันด้านติว (ด้านผิว) ขึ้นรองรับสาย ยึดติดคอพิณด้วยขี้สูด (เป็นขี้ผึ้งเหนียวสีดำ ได้จากรังของผึ้งป่าตัวเล็กๆ สีดำ มีปลายปีกสีขาว ทำรังในโพรงไม้ใต้ดิน รังผึ้งชนิดนี้มีน้ำหวานน้อยมาก แต่มีประโยชน์ในการทำแคนและทำโหวดมาก เพราะเหนียวไม่ติดมือและไม่แห้งกรอบแม้จะใช้เวลาสิบๆ ปีก็ตาม)

4.หย่อง ทำจากซีกไม้ไผ่เหลาให้แบน มีติวด้านหนึ่ง แต่งรูปให้โค้งนิดหน่อยและปาดความสูงให้พอเหมาะกับการพาดสาย ติดให้ห่างจากระดับคอพอที่ที่จะกดนิ้วได้สะดวก

5.ลูกบิดขึ้นสาย ทำจากไม้เนื้อแข็งหรือไม้ไผ่ ปัจจุบันมีการนำเอาลูกบิดขึ้นสายของกีตาร์มาใช้แทนเพราะสะดวกในการขึ้นสายและปรับแต่งเสียงมากกว่า

6.สายพิณ ทำจากลวดเส้นเล็กๆ แต่แข็ง เช่น สายเบรกจักรยาน สายคลัชรถยนต์ หรือลวดสลิงอ่อน ปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์เหล็กมาทำแทน

7.ปิ๊ก หรือที่ดีดสายพิณ แต่ก่อนทำจากเขาควาย ปัจจุบันหายาก จึงใช้ขวดน้ำพลาสติกแทน โดยนำมาตัดตกแต่งให้เหมาะมือ มีปลายด้านหนึ่งแหลมมนและอ่อนมีปริงใช้สำหรับดีด (เพราะสายเบรกจักรยานจะแข็งมาก) เมื่อพัฒนามาใช้สายกีตาร์แทนก็เลยนำเอาปิ๊กดีดกีตาร์มาแทนด้วย



การขึ้นสายของพิณอีสาน
พิณอีสานนั้นมีทั้งแบบพิณ 2 สาย 3 สาย และ 4 สาย
พิณ 2 สาย
สาย 1 เป็นสายเอก ขึ้นสายเปล่าเป็นเสียง มี
สาย 2 เป็นสายทุ้ม ขึ้นสายเปล่าเป็นเสียง ลา
พิณ 3 สาย
สาย 1 เป็นสายเอก ขึ้นสายเปล่าเป็นเสียง มี
สาย 2 เป็นสายทุ้ม ขึ้นสายเปล่าเป็นเสียง ลา
สาย 3 จะขึ้นสายเป็นเสียงประสาน
พิณ 4 สาย
สองสายล่าง เป็นเสียง โด เป็นเสียงคู่แปด (สายแรก โดต่ำ สายสอง โดสูง)
สองสายบน ขึ้นเสียงเป็น ซอล เป็นเสียงคู่แปด (สายสอง ซอลต่ำ สายหนึ่ง ซอลสูง)

วิธีดีดพิณอีสาน

มือซ้ายคุมคอซอง ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางและนิ้วก้อย กดเสียงที่ต้องการตามลายพิณและการแบ่งเสียงตามแบบต่าง ๆ นิ้วโป้งออกแรงกดรับกับนิ้วทั้ง 4
มือขวาดีดสายตรงลำโพงเสียง อาจดีดด้วยนิ้วโป้งหรือใช้ปิ๊กดีดก็ได้ เวลาดีดสาย 1 และสาย 2 เพื่อเล่นทำนอง ให้ดีดสาย 3 เป็นเสียงประสานด้วย ซึ่งเสียงของสาย 3 นี้ จะทำหน้าที่เหมือนกับการเคาะลูกเสิบของโปงลางหรือลูกติดสูดของแคน คือทำหน้าที่เป็นเสียงประสานไปตลอดเพลง

ลายพิณอีสาน
คำว่า ลาย หมายถึง ท่วงทำนองเพลงที่ใช้เป่าหรือบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีสาน ซึ่ง ลาย ก็คือ เพลง นั่นเอง เพลงที่ใช้กับพิณ เป็นเพลงที่มาจากลายแคน มีหลายลาย เช่น ลายใหญ่ ลายน้อย ลายลำเพลิน ลายนกไทรบินข้ามทุ่ง ลายแมลงภู่ตอมดอก ลายลมพัดไผ่ ลายกาเต้นก้อน ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายไล่งัวขึ้นภู ลายโป้ซ้าย ภูไทเลาะตูบ เต้ยหัวดอนตาล ลายสร้อยสีกซิ่น เซิ้งขิก มโนราห์ ศรีโคตบูรณ์ สังข์ศิลป์ชัย ลมพัดพร้าว เซิ้งกลองยาว ทองสร้อย เป็นต้น

ตัวอย่าง ลายลำเพลิน



ลายเซิ้งประยุกต์



ลายไล่วัวขึ้นภู

READ MORE - พิณ

วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีดและวิธีการขยายพันธุ์

14.1.53

ช่วงนึงตอนอยู่มอปลาย ที่บ้านของผมได้เลี้ยงจิ้งหรีด เป็นจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดงลาย รูปร่างลักษณะเป็นจิ้งหรีดขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลเข้มลำตัวกล้างงบประมาณ 0.53 ซม. ยาวประมาณ 2.05 ซม. ตัวเต็มวัยเหมือนพันธุ์ทอดงแดงลายแต่เล็กกว่า ประมาณครึ่งหนึ่ง ลักษณะนิสัย กินอาหารเก่ง โตไว ไม่ชอบบิน แถวบ้านผมเรียกแมงสะดิ้ง แต่ก้ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมถึงเรียกแบบนั้น

วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีดและวิธีการขยายพันธุ์

วิธีการเตรียมพันธุ์
เราต้องไปหาซื้อไข่มันมาจากผู้ที่เลี้ยงโดยเขาจะใส่ถาดดินทรายมาให้ที่แถวบ้านผมขายกันร้อยนึงถึงสองร้อย

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด
กระจาดสำหรับไว้ใส่ดินทราย
ที่สำหรับใส่อาหาร
อาหารไก่หรืออาหารหมู
ตาข่ายสำหรับคลุม
รังไข่ไก่ใช้สำหรับเป็นที่อยู่ของจิ้งหรีด

วิธีการทำโรงเรือน
1.ตีโครงไม้อาจใช้ไม้ไผ่หรือไม้อะไรก็ได้สำหรับวางแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด
2.หาภาชนะเช่นขวดน้ำตัดแล้วใส่น้ำเอาไปใส่ที่ขากันมดแดงขึ้นมันจะไปกินไข่หมดก่อนจิ้งหรีดจะฟัก
3.ทำการติดกล่องโดยใช้แผ่นฟิวเจอร์บอรืดต่อกันใช้เทปกาวติดให้แข็งแรงแล้วเอาขึ้นไปวางบนชั้น


วิธีการเลี้ยง
1.นำถาดไข่จิ้งหรีดลงไปวางในกล่องฟิวเจอร์บอร์ด
2.เอาถาดรังไข่ไก่ไปวางไว้ใกล้ๆหลายๆอันซ้อนกันอย่าให้มันลงล็อคเพื่อที่จิ้งหรีดจะได้ซ่อนตัวได้
3.รดน้ำถาดไข่ทุกเช้าอย่าให้ดินในถาดแห้ง
4.เมื่อจิ้งหรีดเริ่มฟักตัวอย่าพึ่งเอาถาดออกปล่อยไว้อย่างนนั้นจนมันตัวโตพอสมควรจึงเอาออก
5.ควรทำที่สำหรับใส่น้ำให้จิ้งหรีดเช่นจานใส่หินให้เต็มจานด้วยเพื่อลูกจิ้งหรีดจะได้ไม่จมน้ำ
6.อาหารจิ้งหรีดควรให้เป็นเวลาเช้าเย็นควรกองไว้เป็นที่แล้วจิ้งหรีดจะออกมากินเอง อาหารเสริมอื่นๆนอกจากอาหารหมูและอาหารไก่แล้ว
จะเป็นกาบมะพร้าว เศษผัก เป็นต้น
7.ระหว่างที่เลี้ยงเราจะใช้ตาข่ายคลุมไว้กันมันกระโดดหนี และห้ามรบกวนมันเด็ดขาด เพราะขามันจะหลุด นอกจากตอนให้อาหารมัน
8.เมื่อสังเกตว่าจิ้งหรีดเริ่มมีปีกและร้องให้เราเอาถาดใส่ทรายรดน้ำให้ชุ่มไปวางไว้เพื่อให้มันมาไข่ ถา้จิ้งหรีดเยอะก้อาจใส่สองถาดหรือสามถาดก็ได้ ทิ้งไว้สามสี่วันก็สามารถนำไปเลี้ยงกล่องต่อไปได้
9.ปกติประมาณ 45วันก็สามารถจับขายได้



*****
ตอนนั้นผมเลี้ยงที่บ้านขายขีดละยี่สิบบาทขายแต่ในหมู่บ้าน ไม่ได้หาตลาด แรกๆก็ขายหมด หลังๆมาเริ่มขายไม่ได้เพราะเป็นหมู่บ้านเล็ก 100 กว่าหลังคาเรือนและคนเลี้ยงแข่งเยอะ และก้ไม่มีเวลาไปส่งในตลาด คิดว่าถ้าทำจริงจังก็น่าจะรุ่ง เพราะกล่องนึงได้กำไรสี่ร้อยห้าร้อยพอได้ใช้สอย เหมาะสำหรับเลี้ยงในครัวเรือนเป้นอย่างยิ่ง เพราะไม่ต้องดูแลอะไรมาก
READ MORE - วิธีการเลี้ยงจิ้งหรีดและวิธีการขยายพันธุ์

วิธีการทำปลาร้าบองหรือแจ่วบอง

แจ่วบอง เป็นน้ำพริกอีสานที่ชาวบ้านชาวช่องรู้จักกันดีเป็นอย่างยิ่ง อันว่า แจ่ว แปลว่า น้ำพริก คำว่าบองนั้นมันเพี้ยนมาจากบ้อง เพราะสมัยก่อนพี่น้องชาวอีสานจะทำแจ่วบองใส่บ้องไว้ใช้สำหรับการเดินทางไกลๆเก็บไว้กินได้นาน แต่ทุกวันนี้เปลี่ยนมาใช้กระปุกพลาสติกแทนแล้ว วิธีการทำแจ่วบอง ส่วนผสม ในการทำแจ่วบอง
 พริก 500 กรัม 
 ข่า 300 กรัม 
 กระเทียม 5 กก. 
 หอม 5 กก. 
 งา 300 กรัม  
ใบมะกรูด 200 กรัม 
และปลาร้า 6 กก.(ปลาร้าที่นำมาทำปลาร้าบอง ต้องเป็นปลาที่ผ่านการหมักมาไม่น้อยกว่า 1 ปี ซึ่งนิยมใช้ปลาช่อนเพราะมีเนื้อนุ่มกว่าปลาชนิดอื่น ) 
**** ส่วนผสมเหล่านี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมในการทำว่าทำมากหรือน้อยแค่ไหน 

  วิธีการทำแจ่วบอง 
 1.นำปลาร้ามาสับให้ละเอียด (หรือบด) 
2.นำเครื่องเทศต่าง ๆ มาหั่นให้ละเอียด
3.ผสมน้ำมะขามเปียกกับน้ำอุ่นหรือน้ำต้มสุก 
4.นำปลาร้าที่สับละเอียดแล้วใส่กระทะตั้งไฟให้สุก
5.เทน้ำมะขามเปียก เครื่องเทศที่หั่นไว้แล้วลงไปผสมกับปลาร้าสับ คนให้สุกอีกครั้งด้วยไฟอ่อน ๆ 
6.ปรุงรสชาติด้วยน้ำตาล พริกป่น ตามรสที่ต้องการ  
7.นำออกจากเตา รอจนเย็นแล้วนำมาบรรจุตลับหรือภาชนะที่สะอาดตามแต่ต้องการ สามารถเก็บไว้กินหลายเดือน  

***คุณรู้หรือไม่ว่าแจ่วบองมันได้กลายเป็นสินค้าโอทอปไปแล้ว และทำรายได้ให้กับครัวเรือนไปแล้วมากมายกินกับลวกผักกับปิ้งปลาแห้งแซบหลายเด้อ...

ที่เขาทำขายกันก็มีกระปุกละสิบ ละห้าไปครับ ส่งร้านค้าขายดิบขายดีแทบทำไม่ทัน เพราะปัจจุบันคนเราไม่ค่อยมีเวลาทำกัน ซื้อกินง่ายกว่า เขาว่าแบบนั้น แต่ผมว่าไม่ใช่ นี่คือจุดที่เป็นโอกาสสำหรับคนขยันครับ...


วิดีโอคลิปการทำแจ่วบองหรือปลาร้าสับ
READ MORE - วิธีการทำปลาร้าบองหรือแจ่วบอง