ปลาไหลไฟฟ้าสู้กับจระเข้...คุณว่าใครจะอยู่ใครจะไป

18.12.53



คลิปเด่นคลิปดัง
ระหว่างปลาไหลไฟฟ้ายักษ์ สู้กับ จระเข้เขี้ยวแหลมคม คุณว่าจะเกิดอะไรขึ้น



READ MORE - ปลาไหลไฟฟ้าสู้กับจระเข้...คุณว่าใครจะอยู่ใครจะไป

ไสตล์การตกแต่งเมืองแบบแปลกๆ

13.12.53

บ้านแปลกๆ

บอกได้คำเดียวว่าสุโค่ย โคตรศิลป์เลยพี่น้อง

บ้านศิลป์
ภาพศิลป์
บ้านสวยๆ
เมืองแปลกๆ





READ MORE - ไสตล์การตกแต่งเมืองแบบแปลกๆ

ชายผู้แบกกำมะถัน ณ ภูเขาไฟคาวา อิเจน จนได้สมญานามว่า "คนภูเขาไฟ"

12.12.53

ภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจภูเขาไฟ Kawah Ijen ในประเทศอินโดนีเซียที่ใคร ๆ เห็นก็ต้องชมว่างดงาม ซึ่งแฝงไปด้วยอันตรายจากกำมะถัน...แต่มีกลุ่มคนอีกคนหนึ่งอาศัยแหล่งทรัพยากรธรรมชาติตรงนี้ในการทำมาหากิน

ภูเขาไฟคาวา อิเจน


Kawah Ijen อุทยานแห่งชาติคาวา อิเจน เป็นสถานที่ที่น่าสนใจ
ตั้งอยู่บนเกาะชวาตะวันออก ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นส่วนหนึ่งของของอุทยาน
แห่งชาติบาลูรัน คาวาอิเจนสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 2,300 เมตร
การขึ้นยอดของ คาวา อิเจน จากจุดที่ทำการอุทยานใช้เวลาเดินขึ้นไปตามทางร่มครึ้ม ผ่านป่าฝน ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาไปกลับและลงไปชมทะเลสาบข้างล่างกว่า 5 - 6 ชั่วโมง


 คนภูเขาไฟ

ก้นปล่องคาวา อิเจนมีทะเลสาบที่เขียวอมฟ้าที่สวยงามที่สุด และเป็นทะเลสาบที่ความเป็นกรดมากที่สุดในโลกอีกด้วย อุดมไปด้วยกรดกำมะถัน มี pH 0.5 ใกล้เคียงกับน้ำกรดในหม้อแบตเตอรี่รถยนต์เลยทีเดียว


Kawah Ijen
เหมืองกำมะถัน











READ MORE - ชายผู้แบกกำมะถัน ณ ภูเขาไฟคาวา อิเจน จนได้สมญานามว่า "คนภูเขาไฟ"

เตรียมตัวนอนนับฝนดาวตก “เจมินิดส์” 80 ดวงต่อชั่วโมง

9.12.53

ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids Meteor Shower) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นประมาณกลางเดือน ธ.ค.ของทุกปี ปีนี้ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่าง 7-17 ธ.ค. โดยเห็นจำนวนฝนดาวตกมากที่สุดระหว่างวันที่ 13 - 14 ธ.ค. โดยสามารถสังเกตฝนดาวตกชนิดนี้ได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะเป็นริ้วสีขาวพาดผ่านท้องฟ้าและเกิดลูกไฟควบคู่กันไปด้วย และสังเกตฝนดาวตกได้ในสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิท

ฝนดาวตกเจมินิดส์ 2010

สำหรับช่วงเวลาที่เริ่มสังเกตเห็นการเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวดังกล่าว อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนของคืนวันที่ 13ธ.ค.53 จนถึงเช้ามืดของวันที่ 14 ธ.ค.53 ตามเวลาประเทศไทย ในปีนี้นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่าจะมีอัตราเฉลี่ยของการเกิดฝนดาวตกประมาณ 70 - 80 ดวงต่อชั่วโมง ความเร้วของดาวตกอยู่ที่ 35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง


ฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids Meteor Shower) มีศูนย์กลางการกระจายระหว่างดาวคาสเตอร์ (Castor) และพอลลักซ์ (Pollux) ในกลุ่มดาวคนคู่ ซึ่งเกิดจากเศษซากในรูปแบบของฝุ่น ของแข็ง น้ำแข็ง จำนวนมากของดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน (3200 Phaethon) ที่หลงเหลือจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่ละครั้งที่ดาวหางดวงนี้โคจรเข้าใกล้โลกจะทิ้งชิ้นส่วนเหล่านี้ไว้ตามรายทาง เมื่อโลกโคจรตัดผ่านหรือเข้าใกล้แนวเส้นทางของดาวหางดวงนี้ ก็จะดึงเอาเศษฝุ่นอวกาศเหล่านั้นตกสู่โลกเกิดการเสียดสีกับชั้นบรรยากาศและถูกเผาไหม้จนเกิดแสงสว่างลุกวาบเป็นทางยาวในท้องฟ้ากลางคืน


ด้านนาวาอากาศเอกฐากูร เกิดแก้ว หัวหน้าโครงการศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA) กล่าวว่า ฝนดาวตกเจมินิดส์นับเป็นฝนดาวตกที่น่าจับตาที่สุดสำหรับประเทศไทย เพราะเป็นฝนดาวตกที่มีดาวตกจำนวนมาก และเกิดขึ้นในฤดูหนาว ซึ่งอากาศดีและท้องฟ้าใส โดยเริ่มสังเกตเห็นได้มากตั้งแต่เวลาหลังเที่ยงคืนของคืนวันที่ 13 จนถึงเช้ามืดของวันที่ 14 ธ.ค.53 ตามเวลาประเทศไทย เนื่องจากปีนี้พระจันทร์ตกเวลาประมาณ 24.00 น. จึงทำให้มีแสงจันทร์บดบังในช่วงหัวค่ำ ส่วนจำนวนอัตราฝนดาวตกสูงสุดนั้นเฉลี่ย 80 - 120 ดวง/ชั่วโมง


“ฝนดาวตก” คือดาวตกหลายดวงที่ตกมาจากบริเวณเดียวกันในท้องฟ้า ในช่วงเวลาเดียวกันของปี โดยเกิดจากการที่ดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ และทิ้งเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากไว้ตามแนวเส้นทางโคจร ซึ่งในแต่ละปี โลกจะโคจรผ่านธารอุกกาบาตดังกล่าวในช่วงเวลาหนึ่ง และเป็นช่วงวันเดียวกันในแต่ละปี เมื่อเศษฝุ่นเหล่านี้ผ่านเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบนของโลก ก็จะเสียดสีกับชั้นบรรยากาศทำให้เกิดความร้อน และเผาไหม้เศษวัตถุนั้นภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ปรากฏให้เห็นเป็นเส้นสว่างสวยงามเป็นจำนวนมาก เราจึงเรียกว่า ฝนดาวตก


ทั้งนี้ธารอุกกาบาตอันเป็นต้นกำเนิดของฝนดาวตกทั่วไป มักจะมาจากธารอุกกาบาตของดาวหาง เช่น ฝนดาวตกลีโอนิดส์ ฝนดาวตกเพอร์ซีดส์ เป็นต้น แต่ฝนดาวตกเจมินิดส์จะต่างออกไป คือเกิดจากธารอุกกาบาตของดาวเคราะห์น้อย ซึ่งธารอุกกาบาตของดาวเคราะห์น้อยมักจะมีขนาดใหญ่กว่าธารอุกกาบาตของดาวหาง


โลกต้องใช้เวลานานในการเคลื่อนที่ผ่านธารอุกกาบาต จึงทำให้คาบเวลาการเกิดฝนดาวตกยาวนานกว่า เราจึงสามารถมองเห็นฝนดาวตกได้สองถึงสามวันก่อนและหลังวันที่มีจำนวนดาวตกสูงสุด หรือก็คือตั้งแต่วันที่ 7 - 17 ธันวาคม แต่จะมีมากสุดในคืนวันที่ 13 - 14 ธันวาคม โดยศูนย์กลางการกระจายหรือทิศทางอันเป็นจุดกำเนิดของฝนดาวตกอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่หรือกลุ่มดาวเจมิไน จึงเป็นที่มาของชื่อฝนดาวตกเจมินิดส์


สำหรับขั้นตอนการดูฝนดาวตกเบื้องต้น น.อ.ฐากูร กล่าวว่า เนื่องจากฝนดาวตกเจมินิดส์ไม่สว่างเหมือนกับฝนดาวตกลีโอนิดส์ การสังเกตการณ์จึงจำเป็นต้องเลือกสถานที่ไร้แสงไฟรบกวน และห่างไกลจากเมืองใหญ่ โดยเริ่มต้นการดูดาวตกจะต้องงดการใช้ไฟฉาย เพื่อให้ดวงตามีการปรับสภาพ สร้างเซลล์ไวแสงสำหรับการมองภาพกลางคืน แต่หากจำเป็นต้องใช้ไฟฉาย แนะนำให้ไฟฉายขนาดเล็กหุ้มด้วยถุงพลาสติกสีแดงแทน จากนั้นให้เริ่มทำการหาทิศทั้งสี่ เมื่อหันหน้าไปทางทิศเหนือ ซ้ายมือจะเป็นทิศตะวันตก และขวามือเป็นทิศตะวันออก ต่อมาก็คอยติดตามการเคลื่อนที่ของกลุ่มดาวคนคู่


“กลุ่มดาวคนคู่ จะมีดาวสว่าง 2 ดวงอยู่ใกล้กันคือ คาสเตอร์ และพอลลักซ์ ในช่วงกลางเดือนธันวาคม กลุ่มดาวคนคู่จะขึ้นเวลาประมาณสองทุ่ม แต่เราจะยังไม่สามารถมองเห็นดาวตกได้ชัดเจน จนกว่าดวงจันทร์จะตกในเวลาประมาณเที่ยงคืน ดังนั้นในช่วงเวลาหัวค่ำจึงควรนอนเก็บแรงไว้ก่อน แล้วตื่นขึ้นมาดูฝนดาวตกตอนหลังเที่ยงคืนไปจนถึงรุ่งเช้า เวลาตีสองกลุ่มดาวคนคู่จะอยู่ใกล้จุดเหนือศีรษะ ช่วงเวลานี้คาดว่าจะมองเห็นดาวตกได้มากกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง โดยตกกระจายไปยังขอบฟ้าทุกทิศทาง” น.อ.ฐากูรกล่าว


สำหรับการเฝ้าดูฝนดาวตกแนะนำให้จับกลุ่มกันและนอนเอาหัวชนกันกลุ่มละ 4 คน หันเท้าไปทางทิศเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก เพื่อให้มองเห็นครอบคลุมทั่วบริเวณท้องฟ้า หากสังเกตจะพบว่า ดาวตกแต่ละดวง ตกลงมาจากทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้หากลองลากเส้นย้อนกลับทิศทางที่ดาวตกหล่นลงมา จะพบว่า ทุกเส้นจะตัดกันที่กลุ่มดาวคนคู่ เราเรียกจุดที่ดาวตกจากลงมาว่า “เรเดียนท์”


อย่างไรก็ตาม เราจะไม่เห็นดาวตกในบริเวณกลุ่มดาวคนคู่มากนัก เพราะการมองเห็นเป็นดาวตกก็ต่อเมื่อ เศษวัตถุมีการเสียดสีกับบรรยากาศโลกจนลุกไหม้ เกิดแสงสว่าง ดังนั้น จึงควรมองไปทั่วๆ ท้องฟ้า เพราะเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่า ฝนดาวตกจะปรากฏให้เห็นนาทีที่เท่าไหร่ บริเวณใด


น.อ.ฐากูร กล่าวว่า ฝนดาวตกเจมินิดส์ เป็นฝนดาวตกที่น่าสนใจ และเป็นกลุ่มฝนดาวตกที่มีโอกาสเห็นได้ค่อนข้างมาก เพราะตลอดระยะเวลาการเก็บข้อมูลทำวิจัยฝนดาวตกเจมินิดส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 จนถึงปัจจุบัน พบว่า สามารถนับฝนดาวตกเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง และยังพบไฟร์บอลมากกว่า 10 ดวงต่อคืน


“ฝนดาวตกเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สวยงามและหาดูได้ยาก หากโรงเรียนหรือผู้ปกครองสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ร่วมกันนับฝนดาวตกเพื่อบันทึกไว้เป็นสถิติของแต่ละปี ก็จะทำให้การชมฝนดาวตกเจมินิดส์สนุกและมีความหมายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งในโอกาสเช่นนี้ยังสอนให้เด็กๆ รู้จักใช้แผนที่ดาว และทำความรู้จักกับกลุ่มดาวสว่างอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น กลุ่มดาวนายพราน กลุ่มดาววัว กลุ่มดาวหมีใหญ่ เป็นต้น ประกอบกับหากมีเรื่องเล่าและการใช้ประโยชน์ของกลุ่มดาวต่างๆ ร่วมด้วยแล้ว ก็จะช่วยให้เด็กมีจินตนาการ เกิดความประทับใจ ทั้งยังสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาออกไปค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม และสนใจดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น” น.อ.ฐากูรกล่าว


ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด แผนที่ดาว ไปทำเองง่ายๆ ได้ฟรีที่ http://www.lesacenter.comซึ่งจะอยู่ในหัวข้อสื่อการเรียนรู้
READ MORE - เตรียมตัวนอนนับฝนดาวตก “เจมินิดส์” 80 ดวงต่อชั่วโมง

รอยสักแบบสามมิติ

ลายสักสามมิติ ลายอีกัวน่าเกาะขา
ลายสักสามมิติ ลายอีกัวน่าเกาะขา
ลายสักสามมิติ ลายหนังฉีกมีไสปเดอร์แมนข้างใน
ลายสักสามมิติ ลายหนังฉีกมีไสปเดอร์แมนข้างใน
ลายสักสามมิติ ลายคนทุบกำแพง
ลายสักสามมิติ ลายคนทุบกำแพง
ลายสักสามมิติ ลายกล้ามเนื้อแขน
ลายสักสามมิติ ลายกล้ามเนื้อแขน


ลายสักสามมิติ ลายตัวเหี้ยเกาะหลัง
ลายสักสามมิติ ลายตัวเหี้ยเกาะหลัง
ลายสักสามมิติ ลายแมงมุมเกาะไหล่

ลายสักสามมิติ  ลายแมงมุมเกาะไหล่
READ MORE - รอยสักแบบสามมิติ

ชาวยโสไปหาเห็ดพบเต่าลายกระดองคล้ายพระสมเด็จ นำถวายวัด

ชาวบ้านพบเต่าลายกระดองคล้ายพระสมเด็จ นำถวายวัด

เต่าประหลาด

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.53 ชาวบ้านสมบูรณ์พัฒนา อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร เข้าป่าเก็บเห็ดพบเต่าประหลาดกระดองมีลายคล้ายพระสมเด็จ ก่อนนำมาถวายเจ้าอาวาส วัดสมบูรณ์พัฒนา ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้านจนมีชาวบ้านใกล้เคียงทราบข่าวต่างเดินทางไปดูความแปลก และขอโชคลาภ


ต่อมา พระอธิการอุทัย ทินนาโภ เจ้าอาวาสวัดสมบูรณ์พัฒนา บ้านสมบูรณ์พัฒนา ต.กู่จาน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร เลี้ยงไว้ภายในกุฏิ นำเต่าออกมาให้นักข่าวดู ซึ่งเต่าประหลาดตัวนี้ มีอายุประมาณ 4-5 ปี เป็นเต่าพันธุ์พื้นเมืองพบมากในแถบภาคอีสาน ชาวบ้านเรียกเต่าสายพันธุ์นี้ว่า เต่าเพ็ก ข้อแตกต่างของเต่าตัวนี้คือลักษณะกระดองและหัวเต่าเป็นสีขาวอมเหลือง



กระดองเต่าตัวนี้แปลกไปกว่าเต่าตัวอื่น ที่บริเวณหลังกระดองจะมีร่องลายคล้ายรูปทรงพระสมเด็จ มีตั้งแต่ 5 ชั้น 7 ชั้น และ 9 ชั้น และที่บริเวณขอบกระดองก็จะมีร่องลายคล้ายพระสมเด็จ ลักษณะทิ่มหัวลงขอบกระดอง ใต้ท้องจะมีร่องมุมสี่เหลี่ยมสม่ำเสมอ


พระอธิการอุทัย ทินนาโภ กล่าวว่า นายทองบูรณ์ พันธ์เดช อายุ 40 ปี เลขที่ 7ม.2 ราษฎรบ้านสมบูรณ์พัฒนา ต.กู่จาน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร นำมาถวายให้อาตมาเลี้ยงรวมเดือนกันยายน 53 ที่ผ่านมา โดยนายทองบูรณ์ เล่าให้อาตมาฟังก่อนพบเต่าว่า ได้เข้าป่าเก็บเห็ดที่บริเวณป่าชุมชนท้ายหมู่บ้าน เพราะช่วงเดือนดังกล่าวเห็ดป่าจะเกิดชุกชุม นายทองบูรณ์ เดินหาเห็ดป่าจนสายก็ไม่พบเห็ดให้เก็บสักดอก แต่พอเดินผ่านโพนดินจอมปลวกก็ได้ยินเสียงฟู่ๆๆๆออกมาจากใต้ดินจอมปลวก แรกๆ นึกว่าเป็นเสียงงูเห่า จึงใช้เสียมที่ถือติดมือมาคุ้ยดินดู ก็พบกระดองเต่าโผล่พ้นดิน มองเห็นเป็นสีทอง จึงคุ้ยดินต่อพบเป็นเต่า ก่อนนำกลับบ้าน นายทองบูรณ์ เห็นเต่าตัวดังกล่าวแปลกกว่าเต่าทั่วไปจึงได้อธิษฐาน บนบานเจ้าที่ขอเต่าไปเลี้ยง

ขอบคุณข่าวจาก
READ MORE - ชาวยโสไปหาเห็ดพบเต่าลายกระดองคล้ายพระสมเด็จ นำถวายวัด

วิธีการทำต้มยำไก่บ้านรสเด็ด

7.12.53

วิธีการทำต้มยำไก่บ้าน ส่วนผสมในการทำต้มยำไก่บ้าน 
 1.ไก่บ้าน 300 กรัม 
 2.ข่า 10 กรัม 
 3.ใบมะกรูด 3 กรัม 
 4.ใบมะขามอ่อน 2 ถ้วยตวง 
 5.น้ำมะนาว 45 กรัม 
 6.น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง 
 7.ตะไคร้ 30 กรัม 
 8.หอมแดง 20 กรัม 
 9.น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ 
 10.พริกขี้หนูแห้ง 5 กรัม

 วิธีทำต้มยำไก่บ้าน
1. ล้างไก่ให้สะอาด สับเป็นชิ้นพอคำ หั่นข่า ตระไคร้ ฉีกใบมะกรูด ทุบหอมแดง 2. ตั้งน้ำเพื่อลวกไก่ พอน้ำเดือดนำไก่ลงไปลวก ลวกพอให้สุกแล้วพักไว้ 3. ต้มน้ำด้วยไฟปานกลาง ใส่ข่า ตระไคร้ ใบมะกรูดลง หอมแดงไป ต้มจนเดือดจึงใส่ไก่ลวกที่พักไว้ลงไป 4. พอไก่สุกจนได้ที่ ให้ใส่ใบมะขามอ่อนลงไป 5. ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำปลา จากนั้นปิดไฟ บีบน้ำมะนาว แล้วใส่พริกขี้หนูคั่วลงไปได้ตามใจชอบ


วิดีโอคลิปการทำต้มไก่บ้านในหม้อหุงข้าว

READ MORE - วิธีการทำต้มยำไก่บ้านรสเด็ด

ทะเลคาปูชิโน่ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ สุดมหัศจรรย์

คาดว่าน่าจะเกิดจากหิมะละลายนะครับ ต้นตอมาจากโลกร้อนอีกแระ










READ MORE - ทะเลคาปูชิโน่ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ สุดมหัศจรรย์