เทคนิคการถ่ายภาพเวลากลางคืนให้สวย

7.2.54

เทคนิคการถ่ายภาพในเวลากลางคืนให้สวย
การถ่ายภาพกลางคืน (NIGHT LIGHT) ได้แก่ การถ่ายภาพที่อาศัยแสงสว่างจากไฟฟ้าตามท้องถนน ป้ายนีออนโฆษณา
น้ำพุ การยิงพลุ ห้องโชว์สินค้า ไฟประดับในวันเฉลิมฉลองต่าง ๆ แสงไฟจากรถยนต์ แสงเทียน สายฟ้าแลบ ดวงจันทร์ และดวงดาวบนท้องฟ้า ความสวยงามต่าง ๆ ที่เราสามารถมองเห็นได้ในเวลาค่ำคืนดังกล่าว เรา สามารถบันทึกภาพที่งดงามเหล่านั้นด้วยกล้องถ่ายภาพได้เช่นเดียวกับการถ่ายภาพในเวลากลางวัน แต่จะมีเทคนิคยังไงนั้นไปดูกัน
ถ่ายภาพตอนกลางคืนยังไงให้สวย
การถ่ายภาพกลางคืนไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นจนเกินไป โดยเฉพาะแสงสีในเมืองนั้น สามารถถ่ายภาพให้ดู สวยงามได้ง่ายๆ เพียงแต่มีกล้องที่ปรับความเร็วชัตเตอร์ต่ำได้ และหาวิธีป้องกันภาพสั่นไหวจากความเร็ว ชัตเตอร์ต่ำ หากถือกล้องด้วยมือ ภาพที่ได้จะเบลอไม่คมชัด วิธีที่ดีที่สุดคือใช้ขาตั้งกล้อง ซึ่งจะช่วยลดการ สั่นไหวได้เป็นอย่างดี หากความเร็วชัตเตอร์ต่ำมากๆ เช่น 1 วินาที หรือต่ำกว่านั้น ไม่ควรใช้นิ้วกดปุ่ม ชัตเตอร์โดยตรง เพราะเพียงกดชัตเตอร์เบาๆ ก็อาจเกิดการสั่นไหวจนส่งผลให้ภาพที่ได้ขาดความคมชัด ควรใช้สายลั่นชัตเตอร์ แต่ถ้าไม่มีก็ใช้ระบบถ่ายภาพหน่วงเวลาก็ได้ กล้องบางรุ่นเลือกหน่วงเวลาช่วงสั้นๆ เช่น 2 หรือ 3 วินาที ทำให้ถ่ายภาพได้โดยไม่ต้องรอคอยนานเกินไป สำหรับกล้องดิจิตอลเมื่อมีสิ่งรองรับ กล้องที่มั่นคง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความไวแสงสูงๆ ควรปรับ ISOไปที่ต่ำสุด เพื่อให้ภาพที่ได้มี Noise น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
ปรับกล้องยังไงไม่ให้มี noise

การถ่ายภาพตอนกลางคืนวัตถุที่ถูกถ่ายก็คือต้นกำเนิดแสงตามท้องถนน เช่นไฟของรถยนต์ ไฟข้างถนน ไฟจากหน้าต่างของตึกรามบ้านช่องจึงไม่มีการจัดแสงเหมือนตอนถ่ายภาพตอนกลางวัน แต่ก็ควรจัดองค์ ประกอบให้ตำแหน่งดวงไฟต่าง ๆ อยู่ในกรอบของภาพอย่างน่าดู การตั้งหน้ากล้องในการถ่ายภาพตอน กลางคืน ไม่เหมือนตอนกลางวันที่มีค่าถูกต้องเพียงค่าเดียว ค่าการฉายแสงเมื่อถ่ายภาพตอนกลางคืน ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากจะแสดงอะไรในภาพถ่าย สุดท้ายถ้าต้องการถ่ายภาพพลุหรือดอกไม้ไฟควรตั้งกล้อง
บนสามขา ใช้สายลั่นไกชัตเตอร์ ถ้าถ่ายภาพพลุให้โฟกัสภาพที่ไกลสุดแล้วเปิดหน้ากล้องประมาณ f/8 ใช้เวลา 2-3 วินาทีเป็นต้น ถ้าต้องการจะถ่ายภาพให้เห็นดวงประทีปโคมไฟบนท้องถนนในขณะมี่งาน เฉลิมฉลอง เช่นคืนวันเฉลิมพระชนมพรรษาก็อาจจะเปิดหน้ากล้อง f/16 เวลา 1/2 วินาที ก็อาจจะถ่ายภาพ ติดโดยใช้ฟิล์มความไวสูงแต่ถ้าเปิดหน้ากล้องนาน 4 วินาที ก็จะมีเส้นแสงเนื่องจากไฟหน้ารถยนต์ปรากฏเพิ่มเติม ในภาพดูงามตา ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ตอนกลางคืนอาจใช้เส้นแสงในแนวทะแยงนำไปสู่จุดสำคัญในภาพ และถ้า ถ่ายให้เห็นแสงสะท้อนในน้ำด้วย ก็จะช่วยให้ภาพดูน่าสนใจยิ่งขึ้น สำหรับการถ่ายภาพตอนกลางคืนที่มีการแสดง ดนตรี ท่านควรเลือกใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูงเช่น 400 หรือ 1000 ไอเอสโอ เลือกใช้เลนส์ที่มี f/2.8 ก็จะสามารถถ่ายภาพโดยใช้มือถือได้โดยไม่ควรใช้แฟลต เพราะแสงแฟลชจะไปทำลายบรรยากาศและแสงสีภายใน ห้องแสดง เป็นต้น ตัวอย่างภาพการแสดงดนตรีภายในห้องที่มีแสงไฟอบอุ่น
ถ่ายภาพยังไงไม่ให้แสงแฟลชไปทำลายบรรยากาศและแสงสีภายในห้อง

การถ่ายภาพในเวลากลางคืนนั้นต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็นดังนี้
1. กล้องถ่ายภาพชนิดที่มีความเร็วชัตเตอร์ B หรือ T
2. ขาตั้งกล้อง
3. สายไกชัตเตอร์
4. นาฬิกาจับเวลา
5. ไฟฉายดวงเล็ก ๆ
6. สมุดบันทึกสำหรับจดรายละเอียด เช่น เวลาในการเปิดหน้ากล้อง
วิธีการถ่ายภาพ ในเวลากลางคืน

วิธีการถ่ายภาพ ในเวลากลางคืน
1. ติดตั้งกล้องกับขาตั้งกล้องให้มั่นคง พร้อมติดตั้งสายลั่นชัตเตอร์ให้พร้อม
2. ส่องกล้องหาทิศทางในการถ่ายภาพ ให้ได้มุมที่เหมาะที่สุด
3. คาดคะเน สภาพแสงเพื่อกำหนดเวลา และรูรับแสง (โดยปกติถ้าเป็นไฟตามถนนปกติ จะใช้ประมาณ 5.6หรือ 8)
4. ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ B ลั่นชัตเตอร์ค้างไว้ให้รถวิ่งผ่านจนเป็นที่พอใจ ประมาณ 10 -60 วินาที หรือถ้าทิ้งช่วงเวลานาน
ใช้ผ้าดำคลุมหน้าเลนส์ไว้ก่อนก็ได้

การถ่ายภาพไฟกลางคืน ควรถ่ายเผื่อหลาย ๆ ภาพ โดยใช้เวลาในการบันทึกภาพ และขนาดรูรับแสงต่าง ๆ กัน และจดบันทึกไว้จะดีที่สุด
และควรฝึกหัดเป็นประจำเพราะต้องอาศัยความชำนาญอย่างสูงในการถ่ายภาพประเภทนี้



การถ่ายภาพกลางคืน จะใช้โหมดที่ทำให้ การเปิดรับแสงของหน้ากล้อง ช้าลงกว่าเดิม หรือไปเพิ่มส่วน ของความไวแสงของตัวรับแสงให้มากขึ้น ดังนั้นเมื่อเราลอง ปรับการถ่ายรูปมาโหมด ถ่ายกลางคืน จะสังเกต ว่า ภาพที่ อยู่ในจอ จะเคลื่อนไหวเหมือนภาพสโลว์เวลาเราเลื่อนกล้องไประหว่างการเล็งถ่ายภาพดังนั้น ภาพที่ อยู่หน้ากล้อง เวลาที่ถ่ายโหมดกลางคืน ถ้าเป็นวัตถุที่มีการเคลื่อนไหว ก็ จะเกิดเป็น เส้น ของการเคลื่อนไหว เช่น ถ่ายรูปรถที่กำลังวิ่ง อยู่ตอนกลางคืนด้วย โหมด ถ่ายกลางคืน ไฟหน้า ไฟท้าย จะเป็นเส้น ยาวๆ หรือในทางกลับกัน หาก วัตถุที่เราจะ ถ่ายในโหมดกลางคืน ไม่ได้มีการเคลื่อนไหว แต่ มือเรา ดันเคลื่อนไหวตัวกล้อง ซะเอง ขณะกด ชัตเตอร์ผลก็คือภาพ จะเป็นเส้นเช่นเดียวกัน

ดังนั้นหลักการถ่ายภาพกลางคืนโดยการใช้โหมดกลางคืนนั้น มีวิธีการดังนี้
1. การปรับ เอ๊กส์โพส ควรปรับ ให้ โอเวอร์ ประมาณ +0.3 ขึ้นไป จน ถึง 1.2 โดย ยิ่งปรับ โอเวอร์มาเท่าไหร่ มือ
ต้อง ยิ่งนิ่งขึ้นไปเท่านั้น ถ้าต้องปรับเอ๊กส์โพส เยอะมากๆ ควรใช้ ขาตั้งกล้อง หรือ ที่วาง สำหรับ ถ่ายภาพน่าเหมาะสมกว่า
2. แนะนำให้เลือก อุณหภูมิสี แบบ แสงนีออน
3. ขณะเล็งจะถ่ายรูป พยายามดู ว่า สังเกต เห็น Noise ในหน้าจอหรือไม่ เพราะถ้าเห็น ในขณะ ถ่าย เมื่อนำภาพที่ถ่ายลง
คอมพิวเตอร์ ภาพที่ถ่ายมานั้นจะยิ่งมี Noise มากขึ้นอีก
4. สิ่งที่บ่งชี้ได้ ง่ายๆ เลย เรื่อง Noise มากหรือน้อย หาก ถ่ายโหมดกลาง คืน แล้ว เวลากด เล็งโฟกัส หาก สามารถ
โฟกัสได้เร็ว โดยที่ เราก็ปรับ เอ๊กส์โพส ไว้เยอะ นั่น หมายถึง รูปนั้น จะ คมชัด และมี Noise ไม่มาก ต่างกับรูปที่เราต้อง
ใช้เวลา หาโฟกัส อัตโนมัตินานๆ
5. ข้อ สำคัญ เมื่อกด ชัตเตอร์ลงไป แล้ว ควรจะ นิ่ง อยู่ สัก 1 วินาที ก่อน เปลี่ยน ตำแหน่งกล้อง
6. และสุดท้าย ถ้าไม่มีขาตั้งกล้อง สิ่งที่สำคัญนั้นคือมือต้องนิ่งมากๆ เอา แบบว่าตอนกดชัตเตอร์หยุด หายใจเลยได้ ยิ่งดี

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น