การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ใช้พื้นที่น้อย จัดการง่าย ต้นทุนต่ำ กำไรงาม...

29.5.63

สวัสดีครับ ช่วงนี้ก็เข้าสู่หน้าฝนแล้ว ตลอดช่วงหน้าแล้งที่ผ่านมา เห็ดป่าขาดตลาด ทำให้ราคาเห็ดฟางพุ่งสูงมาก ถึงตอนนี้ราคาก็ยังไม่ลด เพราะเห็ดป่ายังออกไม่เยอะ เช็คราคาตอนนี้ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2560 ราคาที่ตลาดไท เห็ดฟางเบอร์เล็ก 80-90 บาท/กิโลกรัม เบอร์กลาง 100-110 บาท/กิโลกรัม และ เบอร์ใหญ่ 120-130 บาท/กิโลกรัม ส่วนที่ตลาดสี่มุมเมือง ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 100 บาท/กิโลกรัม...จะเห็นว่า ราคาสูงไม่ใช่น้อยเหมือนกัน.... อีกอย่างเห็ดฟางมีประโยชน์มากมาย ในเห็ดฟางมีวิตามินซี จำนวนมาก(ไม่ควรรับประทานสด) การทานเห็ดฟางช่วยลดการติดเชื้อ สมานแผล แก้ลักปิดลักเปิด โรคเหงือก ลดอาการผื่นคัน มีสาร volvatioxin ชะลอและยับยั้งเซลล์มะเร็ง บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง แก้ช้ำใน บำรุงตับ และยังมีรสชาติอร่อย สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด จึงทำให้เห็ดฟางเป็นที่นิยมของคนไทย เป็นที่ต้องการของตลาด อีกทั้งยังปลูกง่าย โตเร็ว วัสดุที่ใช้ในการปลูกก็หาง่าย ใช้เวลาในการเพาะแค่ 7-8 วันก็สามารถเก็บไปรับประทานและจำหน่ายได้แล้ว วันนี้ Blogger ลูกลำปาว เลยจะมาขอนำเสนอ วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบง่ายๆ ใช้พื้นที่น้อย ไม่ยุ่งยาก ที่ทำแล้วได้ผลจริงมาฝากกัน นั้นก็คือ การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าครับ......


วัสดุอุปกรณ์ในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

1. ตะกร้า โดยในที่นี้เราจะใช้ตะกร้าตาห่างนะครับ หากหาไม่ได้จริงๆเราสามารถนำตะกร้าตาถี่มาตัดตาออกให้ห่างได้ครับ....และก้นตะกร้าควรระบายน้ำได้ครับ ถ้าตะกร้าระบายน้ำไม่ได้เราก็นำมาเจาะก้นครับ

2. ฟางข้าว ในที่นี้จะใช้ฟางที่แห้งสนิท ไม่เปียกฝนมาก่อน หรืออาจจะประยุกต์ใช้วัสดุอื่นๆที่หาได้ในท้องถิ่นแทนก็ได้ เช่นเปลือกถั่วเขียว ชานอ้อย เป็นต้น


3.อาหารเสริม เช่น ผักตบชวาสด หรือแห้ง เปลือกถั่วต่างๆ ผักบุ้ง มูลวัว/ควายแห้ง รำ เศษฝ้าย ไส้นุ่น ก้อนเชื้อนางรม/นางฟ้าเก่า เป็นต้น
4.ก้อนเชื้อเห็ด
5.แป้งข้าวเหนียวหรือแป้งข้าวจ้าวก็ได้..
6.เครื่องดื่มชูกำลัง

วิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าแบบง่าย ให้ได้เห็ดดอกโตๆ

1. เตรียมเชื้อเห็ดโดยให้ขยี้เชื้อเห็ดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วใส่ในภาชนะ ทุกๆ 1 กิโลกรัมให้ผสมแป้งข้าวเหนียวหรือแป้งข้าวเจ้าก็ได้จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมลงในเชื้อเห็ดคนให้เข้ากัน จะทำให้เชื้อเห็ดเดินดีและแข็งแรง


2.ใช้ฟางที่แช่น้ำไว้หนึ่งคืนแล้ว นำมากดลงก้นตะกร้าให้แน่น สูงประมาณ 1 ฝ่ามือหรือ 2-3 นิ้ว


3.นำอาหารเสริมต่างๆ แช่น้ำพอชื้น แล้วนำมาโรยชิดขอบตะกร้า


4.โรยเชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้แล้ว ทับบนอาหารเสริม ก็จะได้ชั้นที่ 1


5.นำฟางมาปิดทับ หนาประมาณฝ่ามือ กดให้แน่น จากนั้น นำเครื่องดื่มชูกำลังจำนวน 1 ฝา ผสมน้ำเปล่า จำนวน 5 ลิตร คนให้เข้ากัน แล้วใช้น้ำดังกล่าวรดให้ชุ่ม โดยน้ำที่ผสมเครื่องดื่มชูกำลังและอาหารเสริมจะช่วยทำให้เห็ดดอกโตครับ...
ใช้ผักตบชวาหั่นเป็นอาหารเสริมเพาะเห็ดฟาง

6.จากนั้นทำเหมือนชั้นที่ 1 ซ้ำไปเรื่อยๆจนเต็มตะกร้า โดยชั้นบนสุดโรยอาหารเสริมเต็มหน้าตะกร้า โรยเชื้อให้ทั่ว โรยอาหารเสริมทับอีกครั้ง 

การใช้น้ำผสมเครื่องดื่มชูกำลังช่วยทำให้เห็ดฟางดอกโต

7.นำตะกร้าไปวางในสถานที่ที่เตรียมไว้ ควรเป็นที่ร่ม เช่นใต้ร่มไม้ และควรรดน้ำที่พื้นดินให้เปียกเพื่อที่จะได้รับความชื้นจากการระเหยของน้ำในดิน 
สถานที่วางตะกร้าเพาะเห็ดฟาง

8.จากนั้นคลุมด้วยพลาสติก  การคลุมพลาสติกเป็นเรื่องสำคัญที่แต่ละแห่งในแต่ละฤดูจะต้องดัดแปลงไปตามความต้องการของเห็ด คือ สำหรับฤดูร้อน ช่วงระยะแรก ราววันที่ 1-2 เชื้อเห็ดต้องการอุณหภูมิประมาณ 35-38 องศาเซลเซียส และ ในวันต่อ ๆ มาต้องการอุณหภูมิต่ำลงเรื่อย ๆ จนราววันที่ 8-10 ซึ่ง เป็นวันที่เก็บผลผลิตนั้นต้องการอุณหภูมิราว 30 องศาเซลเซียส  โดยเราจะคุมอุณหภูมิโดยการทับด้วยฟางแห้งหรือแสลน ถ้าอากาศร้อนก็ใช้ฟางทับน้อย ถ้าอากาศเย็นก็ใช้ฟางทับหนาๆ แล้วปล่อยทิ้งไว้ 3 คืน เมื่อครบสามคืนให้เปิดระบายอากาศประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อให้อากาศถ่ายเท กระตุ้นการสร้างดอกเห็ด ถ้าวัสดุเพาะแห้งเกินไปก็รดน้ำเพียงเล็กน้อยเพื่อตัดเส้นใย เป็นการกระตุ้นให้สร้างจุดกำเนิดดอกเห็ดอีกวิธี 

9.ในฤดูหนาวช่วง 1-8 วัน ต้องควบคุมอุณหภูมิให้ได้ระดับ 37-40 องศาเซลเซียสถ้าหากอุณหภูมิสูงเกินไป ให้เปิดช่องลมระบายอากาศด้านบน หรือรดน้ำรอบๆ เพื่อลดอุณหภูมิลงก็ได้ สำหรับฤดูร้อนหว่างวันที่ 5-8 ต้องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส และเมื่อเห็ดเป็นดอกเล็กๆ จำนวนมาก ห้ามเปิดพลาสติกบ่อยครั้งเพราะจะทำให้ดอกเห็ดฝ่อได้การเก็บเกี่ยวผลผลิต ประมาณวันที่ 8-9 ในฤดูร้อนหรือวันที่ 12-15 ในฤดูหนาว โดยจะใช้มีดที่คมตัดดอกเห็ดที่ขนาดพอดีตัดให้ชิดขอบตะกร้า ส่วนดอกที่เกิดด้านบนก็จะใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับดอกเห็ดบิดเบาๆให้วัสดุเพาะติดออกมาน้อยที่สุด จากนั้นนำไปทำความสะอาดเพื่อนำไปประกอบอาหารหรือนำไปจำหน่ายต่อไปได้....


การคลุมพลาสติกกระโจมเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าประยุกต์ใช้ในโรงเรือนง่ายต่อการจัดการ


การประยุกต์ใช้สุ่มไก่แทนกระโจมเพื่อเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าใช้ถุงพลาสติกห่อตะกร้าละใบ

เห็ดฟางในตะกร้าเมื่อได้อาหารเสริมที่ดีก็จะดอกโต

เห็ดฟางใช้เวลาเพาะประมาณ 8-9 วัน ในฤดูร้อนหรือ12-15 วันในฤดูหนาว

การคุมอุณหภูมิและการระบายอากาศและการรดน้ำตัดเส้นใยมีผลต่อจำนวนดอกเห็ด

เพาะเห็ดฟางในตะกร้า 1 ตะกร้าทำได้หลายชั้น ให้ผลผลิตสูงถึง 0.5-1 กิโลกรัมต่อตะกร้า



การเก็บผลผลิตให้ตัดชิดขอบตะกร้า เพื่อให้วัสดุเพาะติดออกมาน้อยที่สุด เพื่อให้เห็ดเกิดอีกรุ่น

เห็ดฟางที่เก็บมาเตรียมทำความสะอาดเพื่อนำไปประกอบอาหารหรือส่งไปจำหน่าย

READ MORE - การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ใช้พื้นที่น้อย จัดการง่าย ต้นทุนต่ำ กำไรงาม...

ปลูกมะม่วงหิมพานต์ พืชเศรษฐกิจราคาดี ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้ชั่วลูกหลาน....

19.5.63

   

สวัสดีทุกท่านที่มีใจรักในการทำเกษตรครับ วันพืชมงคลพึ่งผ่านไปพร้อมกับลมฝนและพายุฤดูร้อนที่มอบความชุ่มฉ่ำให้กับผืนดินทั้งประเทศครับ หลังจากนี้ไปก็จะเริ่มเข้าสู่ฤดูเพาะปลูกแบบเต็มตัวแล้วนะคับ วันนี้ Blogger ลูกลำปาว จะมานำเสนอพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นและเคยลิ้มรสชาติแน่นอน นั้นก็คือมะม่วงหิมพานต์นั้นเองคับ... 

                                                 ภาพจาก:medthai.com

 มะม่วงหิมพานต์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anacardium occidentale เป็นไม้ดอกยืนต้น ในวงศ์ Anacardiaceae กลุ่มเดียวกับมะม่วง (mango) และถั่วพิสตาชีโอ มะม่วงหิมพานต์เป็นพืชพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล ซึ่งเรียกเป็นภาษาโปรตุเกสว่า "กาฌู" ประเทศไทยทางปักษ์ใต้เรียกว่า “หัวครก”ส่วนภาคอื่นๆเรียกมะม่วงหิมพานต์ “ “ต้นหัวครก”หรือมะม่วงหิมพานต์นี้ได้มีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกที่ภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2444 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) เป็นพืชที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูง ประกอบด้วยโปรตีนที่ย่อยง่าย ไขมันที่ส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (เมื่อบริโภคเข้าไปจะไม่เพิ่มไขมันในเส้นเลือด) คาร์โบไฮเดรต วิตามินเอ, บี, อี และเกลือแร่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ปัจจุบันเริ่มมีการกระจายปลูกไปทั่วประเทศไทย ทั้งภาคตะวันออก ภาคเหนือ และอีสาน... มะม่วงหิมพานต์เป็นไม้ไม่ผลัดใบ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมสูง ทนแล้งได้ดี ปลูกครั้งเดียวสามารถให้ผลผลิตยาวนานหลายสิบปี ใบนิยมนำมาทานกับขนมจีน เมล็ดนิยมนำมาอบหรือทอดทานเป็นของขบเคี้ยวหรือนำไปเป็นส่วนประกอบในอาหารได้หลายชนิดทั้งคาวหวาน... 

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ทอดกรอบ ของขบเคี้ยวเลิศรส..


ภาพจาก:sukkaphap-d.com

ใบมะม่วงหิมพานต์กินกับขนมจีน อร่อยนักแล....


ภาพจาก :pantip.com //user: apotheker

ปัจจุบันสายพันธุ์มะม่วงหิมพานต์ที่นิยมปลูกกินเมล็ดจะมีพันธุ์ M-23,พันธุ์ ศก.60-1และ2,พันธุ์มาบุญครอง เป็นสายพันธุ์ทานเมล็ดที่ให้ผลผลิตดีในตอนนี้ครับ...สำหรับขั้นตอนวิธีการปลูกมะม่วงหิมพานต์นั้นมีวิธีการดังนี้ครับ....

วิธีการปลูกมะม่วงหิมพานต์ 
1.เลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ดี  นำไปแช่น้ำ 2 คืนแล้วเอามาเพาะใส่ถุงพลาสติก ขนาดไม่ต้องใหญ่ ประมาณ 5-8 นิ้วก็เพียงพอ หรือจะใช้ขุดหลุมปลูกเลยก็สามารถทำได้ การกดเมล็ดลงในดินนั้น ให้วางด้านเว้าของเมล็ดลง กดลงครึ่งเมล็ดพอ รดน้ำเช้าเย็น ประมาณ 21 วันเมล็ดก็จะเริ่มงอก 

การเพาะเม็ดมะม่วงหิมพานต์


ภาพจาก:bansuanporpeang.com

2.ดูแลรดน้ำจนต้นกล้ามีอายุ 3- 4 เดือนก็พร้อมที่จะลงปลูกแล้ว

ต้นกล้ามะม่วงหิมพานต์พร้อมปลูก


ภาพจาก Kaidee.com

                                           
 3. จากนั้นให้ขุดหลุมเตรียมเอาต้นกล้าลง ให้เป็นหลุมที่มีความกว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50-100 เซนติเมตร และปลูกเว้นระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถว 6 เมตรเนื่องจากเมื่อเติบโตเต็มที่ ใบกิ่งก้านจะแผ่ขยายออกไปใช้พื้นที่กว้างพอสมควร หากปลูกชิดกันเกินไป เวลาเติบโตต้นจะเบียดกัน ทำให้ได้รับแสงไม่เพียงพอและทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร
 4. จากนั้นให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่หมักไว้นานจนไม่มีความร้อนแล้ว ประมาณ3-5 กิโลกรัม มาผสมกับดินเทลงไปในหลุมประมาณครึ่งหลุม แล้วจึงนำต้นกล้ามะม่วงหิมพานต์ที่จะปลูกวางลงในหลุม โดยให้โคนต้นอยู่เหนือปากหลุมเล็กน้อย ก่อนที่จะกลบดินอีกครั้ง
5.ปักไม้ผูกติดกับต้นเพื่อสร้างไม้ค้ำลำต้นเอาไว้ ต้นมะม่วงหิมพานต์จะได้สามารถต้านทานแรงลมได้ ไม่ล้มเสียก่อนที่จะเติบโต 
6.กลบดินลงให้แน่น และรดน้ำให้ชุ่มและหาเศษวัสดุคลุมโคลน ช่วงแรกๆหลังปลูกควรรดน้ำเช้าเย็น เมื่อต้นมะม่วงหิมพานต์ติดดีแล้วหรือเริ่มเข้าสู่ช่วงหน้าฝนก็ไม่จำเป็นต้องรดน้ำก็ได้

มะม่วงหิมพานต์เริ่มออกลูก
ภาพจาก Kaidee.com



มะม่วงหิมพานต์จะสามารถเริ่มให้ผลผลิตได้เมื่อเข้าสู่ปีที่ 3-4  โดยขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของต้นด้วย มะม่วงหิมพานต์จะเริ่มติดดอกช่วงเดือน ธันวาคม-มีนาคม และจะสุกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม โดยเราจะเก็บเกี่ยวเมื่อผลสุกเป็นสีเหลืองหรือสีแดง โดยจะปล่อยให้หล่นลงมาเอง และจะบิดเอาแต่เมล็ด ส่วนผลมะม่วงหิมพานต์สามารถนำไปทำปุ๋ยหมักหรือนำไปแปรรูปเป็นแยมหรือหมักไวน์ก็ได้...

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ตากแห้งพร้อมนำไปขายหรือแปรรูป
ภาพจาก:Pantip.com


ปัจจุบันเม็ดมะม่วงหิมพานต์ตากแห้งยังไม่แกะราคาอยู่ที่ 20-50 บาทแล้วแต่ปีไหนผลผลิตมากหรือน้อย และเมล็ดที่แกะแล้วราคา 300-400 หากเรานำไปทอดขายหรืออบเกลือราคาจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 400-500 บาท ถือว่าราคาดีเลยทีเดียว..นับเป็นพืชเศรษฐกิจอีกตัวที่น่าปลูก เพราะปลูกง่ายดูแลง่ายไม่ต้องใช้ต้นทุนเยอะและยังให้ผลตอบแทนดีมากเลยทีเดียว มะม่วงหิมพานต์ 1 ไร่ จะให้ผลผลิตอยู่ที่ 400-600 กิโลกรัม ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุของต้นและความอุดมสมบูรณ์ด้วย....

READ MORE - ปลูกมะม่วงหิมพานต์ พืชเศรษฐกิจราคาดี ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้ชั่วลูกหลาน....

การทำก้อยหอยเชอรี่ รสจัดจ้าน อาหารอีสานสุดอร่อย....

หอยเชอรี่เคยระบาดหนักในนาข้าว ชาวอีสานได้หาทางกำจัดโดยการนำมาทำอาหาร อาทิเช่น ก้อย หรือใส่ในส้มตำ ปัจจุบันหอยเชอรี่กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจมีการเพาะเลี้ยงขาย ราคาหลายตังค์เพราะความนิยมในการรับประทานที่มีเพิ่มขึ้น...วันนี้ Blogger ลูกลำปาวจะพามาทำก้อยหอยเชอรี่กันครับ



การทำก้อยหอยเชอรี่มีส่วนผสมดังนี้ครับ

ส่วนผสมในการทำก้อยหอยเชอรี่
หัวหอยเชอรี่แกะ 50 กรัม
หอมหัวแดง 2-3 หัว
กะเทียม 2-3 หัว
หอมรวม 1 กำมือ
ตะไคร้ 1 ต้น
น้ำปลา 3 1/2 ช้อนโต๊ะ
ชูรส 1/2 ช้อนโต๊ะ
พริกป่น 2 ช้อนโต๊ะ
ข้าวคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
ใบมะกรูด 3-4 ใบ
พริกสด 4-5 ลูก
น้ำมะนาว 2 1/2 ช้อนโต๊ะ

วิธีการทำก้อยหอยเชอรี่
1.นำหัวหอยที่แกะแล้วไปคั้นด้วยเกลือเพื่อเอายางออก แล้วล้างให้สะอาด
2.ตั้งหม้อใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด และเกลือ จากน้ั้นเมื่อน้ำเดือดนำหอยลงต้มให้สุก
3.ตักหอยขึ้นมาใส่ชาม หั่นตะไคร้ ใบมะกรูด หอมรวม พริกสด กะเทียม และหอมรวม ใส่ลงไป
4.เติมพริกป่น ข้าวคั่ว น้ำปลา ชูรส และน้ำมะนาว
5.คนส่วนผสมให้เข้ากัน ชิมดู ถ้าอร่อยแล้ว ตักใส่จานเสิร์ฟพร้อมผักสด ทานกับข้าวเหนียวร้อนๆ อร่อยนักแล....


วิดีโอคลิปการทำก้อยหอยเชอรี่





READ MORE - การทำก้อยหอยเชอรี่ รสจัดจ้าน อาหารอีสานสุดอร่อย....

สูตรอาหารปลาดุกจากหญ้าเนเปียหมัก ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต กำไรงดงาม....

14.5.63

สูตรอาหารปลาดุกจากหญ้าเนเปียหมัก ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต กำไรงดงาม....


หากจะพูดถึงปลาเศรษฐกิจแล้ว คงจะพลาดไม่ได้ที่หนึ่งในนั้นจะมีชื่อของปลาดุกด้วย เพราะปลาดุก เป็นปลาที่คนนิยมนำมาประกอบอาหารหลายเมนู เลยทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด และทำให้เป็นปลาที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงอีกชนิดหนึ่ง.....
    ปลาดุกเป็นปลากินเนื้อ และชอบกินซากพืชซากสัตว์ มีอัตราการแลกเนื้อไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะถ้าหากเราใช้อาหารเลี้ยงปลาดุก 3 กิโลกรัม จะได้ปลาดุกประมาณ 1 กิโลกรัมเท่านั้น ถ้าหากจะเลี้ยงปลาดุกโดยใช้อาหารเม็ดเพียงอย่างเดียว คุณก็จะขาดทุนตั้งแต่เริ่มที่จะเลี้ยงแล้วหล่ะครับ.....ดังนั้นจึงเห็นฟาร์มปลาดุกหลายๆฟาร์มนิยมผสมอาหารปลาดุกเอง เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต หลายเจ้านิยมใช้โครงไก่บด หลายฟาร์มใช้เศษเนื้อเศษหมูมาบด หรือบางเจ้าก็ใช้ไส้ไก่ เป็นต้น แต่วันนี้ มีอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนลงไปอีก นั้นก็คือการใช้หญ้าเนเปียร์มาหมัก เป็นอาหารของปลาดุก เพราะความพิเศษของหญ้าเนเปียร์คือ เป็นหญ้าที่มีโปรตีนสูง และด้วยความที่ปลาดุกชอบกินซากพืช จึงมีเกษตรกรนำมาประยุกต์เป็นสูตรอาหารลดต้นทุนได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว วันนี้ Blogger ลูกลำปาว เลยจะนำสูตรอาหารปลาดุก จากหญ้าเนเปีย มาฝากกันครับ....  

วัสดุและอุปกรณ์ในการทำอาหารปลาดุกจากหญ้าเนเปีย
1. หญ้าเนเปียร์บดหรือสับ 30 ก.ก.
2. ขี้วัวแห้ง 10 กก
3. ขี้โคลน หรือดินก้นสระ 10 กก
4. รำอ่อน 10 กก
5. นํ้าหมัก 3 อย่าง - นํ้าหมักผลไม้-นํ้าหมักสรรพสิ่ง(นํ้าจุลินทรีย์ หรือ EM)-น้ำหมักปลา

                                                                          การทำน้ำหมักผลไม้




                                                                 การทำปุ๋ยปลา


                                                      -นํ้าหมักสรรพสิ่ง(นํ้าจุลินทรีย์ หรือ EM)

 

ขั้นตอนการทำอาหารปลาดุกจากหญ้าเนเปีย
1.ผสมหญ้าเนเปียสับ ขี้วัว ขี้โคลน และรำอ่อนให้เข้ากัน
2.เติมน้ำหมัก 3 อย่างลงไป ผสมให้เข้ากัน ทิ้งไว้ประมาณ 7 วันเพื่อให้จุลินทรีย์ทำงาน
3.นำส่วนผสมที่หมักทิ้งไว้มาผสมรำอ่อนและน้ำหมักอีกรอบ คลุกเคล้าจนสามารถปั้นเป้นก้อนได้
4.ปั้นเป็นก้อน ทิ้งไว้ 7 วัน ก้อนอาหารก็จะลอยน้ำได้ สามารถนำไปโยนให้ปลากิน ช่วยลดต้นทุน ปลาโตดี และน้ำไม่ค่อยเสีย..... 



READ MORE - สูตรอาหารปลาดุกจากหญ้าเนเปียหมัก ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต กำไรงดงาม....

ปลูกมันสำปะหลังยังไง ให้ได้ผลผลิตเยอะ ไร่ละ 10 ตันขึ้นไป....

มันสำปะหลัง 10 ตัน/ไร่


บล็อกเกอร์ลูกลำปาว สวัสดีครับ...เชื่อว่าหลายคนคงเคยทานก๋วยเตี๋ยว  ทำอาหารก็เคยใส่ผงชูรส หรือพวกซอส ซีอิ๊ว หรือเวลาสาวๆแต่งหน้าก็ต้องใช้เครื่องสำอาง และตอนนี้ เข้ากับสถานการณ์ โควิด 19 ตอนล้างมือก็ต้องใช้เจลแอลกอฮอล์ รู้หรือไม่ว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นผลผลิตที่มาจากมันสำปะหลัง..พืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย
      มันสำปะหลังปลูกมากที่ภาคอีสานและภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ผลผลิตต่อไร่ส่วนใหญ่ได้อยู่ที่ประมาณ 3-4 ตันต่อไร่เท่านั้น ซึ่งถ้าปีไหนราคาตกต่ำ  มัน 3 ตัน/ไร่ ถือว่าขาดทุนได้ เพราะต้นทุนการผลิตที่แพงมาก เดี๋ยวผมจะมาคำนวณต้นทุนต่อไร่ คร่าวๆให้ฟังครับ



เทคนิคการปลูกมันสำปะหลัง

 ปลูกมันสำปะหลัง 1 ไร่ มีต้นทุนดังนี้
ค่าไถรอบแรกผานสาม 300 บาท
ค่าไถพรวนผานห้า 300 บาท
ค่ายกร่อง 250 บาท
ค่าตัดลำ 140 บาท (1ไร่ใช้ประมาณ 7 กระสอบ กระสอบละ 20 พร้อมแช่น้ำยาเร่งราก)
ค่าปลูก 300 บาท
ค่าดายหญ้าสองรอบ 600 บาท
ค่าปุ๋ย 850 บาท(ใส่ไร่ละ 50 กิโลกรัม)
ค่าหว่านปุ๋ย 50 บาท
ค่าตัดลำก่อนขุด 100 บาท
ค่าไถขุด 250 บาท
ค่ารถขน 450 บาท( 15 สตางค์ คิดที่ 3 ตัน)
ค่าคนงานสับมันออกจากเหง้าและเก็บกอง 900 บาท
ค่ารถยกมัน 150 บาท(ยกตันละ 50 บาท)

รวมต้นทุน 4,640 บาท(คิดราคาต้นทุนจากประสบการณ์ผู้เขียน)

จะเห็นได้ว่าที่ต้นทุนเท่านี้ ถ้าได้ 3 ตัน/ไร่ ราคาที่คุ้มทุนจะต้องอยู่ที่กิโลกรัมละ 1.55 บาท
แต่ตอนนี้ ราคาอยู่ที่ 2 บาท นิดๆที่ % แป้ง 30% ซึ่งส่วนใหญ่ที่ไปขาย จะได้แป้งที่ 25-28 %
เราจะได้ขายที่ราคา 1.8-2 บาท/กิโลกรัม ถ้าคิดที่ 2 บาทเลยเราจะมีกำไรแค่ 1,360 บาท
ซึ่งมันน้อยมากกับเวลาที่สูญเสียไปทั้งปี....

แต่วันนี้ blogger ลูกลำปาว มีวิธีการเพิ่มผลผลิตให้กับมันสำปะหลัง ซึ่งได้ลองทำแล้ว ได้ผลจริง จึงมาบอกต่อครับ โดยปีที่แล้ว ผมสามารถทำผลผลิตได้สูงถึง 7-10 ตัน/ไร่ เลยทีเดียว( ขึ้นกับสภาพของดินแต่ละแปลงด้วย แต่ไม่ต่ำกว่า 7 ตันต่อไร่แน่นอน) โดยผมมีขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการจัดการดังนี้

ค่าไถรอบแรกผานสาม 300 บาท
ค่าขี้วัว 60 กระสอบ 2,000 บาท ( 2 ปีใส่ 1 ครั้ง เหลือ 1,000 บาท)
ค่าไถพรวนผานห้า 300 บาท
ค่ายกร่อง 250 บาท
ค่าตัดลำ 140 บาท
ค่าปลูก 300 บาท (ปลูกต้นฝน พฤษภาคม-มิถุนายน ระยะ 80x120 เซนติเมตร)
ค่าไถเบิก-กลบ 300 บาท****
ค่าดายหญ้า 300 บาท ****ทำแบบนี้แทบไม่ต้องดายหญ้า ทำตอนหญ้าเริ่มเกิดต้นเล็กๆ
ค่าปุ๋ย 850 บาท
ค่าหว่านปุ๋ย 50 บาท
ค่าตัดลำก่อนขุด 100 บาท
ค่าไถขุด 250 บาท(ควรขุดช่วง 8 เดือนขึ้นไปและขุดหน้าแล้ง %แป้งจะดี)
ค่ารถขน 1,050 บาท(15 สตางค์ คิดที่ 7 ตัน)
ค่าคนงานสับมันและเก็บกอง 2,100 บาท
ค่ารถยกมัน 350 บาท

รวมต้นทุน 7,340 บาท
จะมีกำไรคิดที่ 7 ตัน ราคา 2 บาท เท่ากับ 6,660 บาท

จะเห็นได้ว่าถึงแม้ต้นทุนจะสูงขึ้น แต่กำไรก็สูงขึ้นเช่นกัน แถมวิธีการปลูกแบบนี้ดินไม่เสื่อมสภาพด้วย
วิดีโอคลิปแสดงการปลูกมันสำปะหลังแบบปราณีต








READ MORE - ปลูกมันสำปะหลังยังไง ให้ได้ผลผลิตเยอะ ไร่ละ 10 ตันขึ้นไป....