การใช้ว่านหางจระเข้ในการรักษาสิว

19.6.53

การใช้ว่านหางจระเข้ในการรักษาสิว

ว่านหางจระเข้เป็นสมุนไพรจำพวกที่ใช้ใบ ภายในจะมีวุ้นใส ๆ และยางเหลือง ๆ ยางสีเหลืองตัวนี้ต้องระวังเพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ถ้าเผลอเอาไปทาจะแสบร้อน บางคนก็จะแพ้เป็นผิวผื่นคัน ซึ่งถ้าหากอยากทราบว่าเราจะแพ้หรือเปล่า ก็ให้นำว่านหางจระเข้ที่ตัดมาใหม่ ๆ ทางบริเวณท้องแขน ทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที ถ้ามีอาการคัน แปลว่าผิวเราแพ้

การนำว่านหางจระเข้มาทาหน้าจะไม่เหมาะกับคนผิวหน้าแห้ง ถ้านำมาใช้เดี่ยว ๆ จะทำให้ผิวหน้าแห้งลงไปอีก สำหรับวิธีการที่จะนำมาใช้ให้ผสมกับน้ำมันมะกอกหรือไข่แดง คนแรง ๆ ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียวนำมาพอกหน้าทิ้งไว้สักพักแล้วล้างออกผิวหน้าจะใส ชุ่มชื่น แต่สำหรับคนที่ผิวมันให้นำว่านที่ตัดใหม่ ๆ ไปแช่น้ำให้ยางสีเหลืองไหลออกหมดก่อนแล้วให้ลอกเอาเฉพาะวุ้นที่อยู่ข้างในมาทาหรือพอกหน้าไว้สักพัก หน้าจะตึง รูขุมขนจะถูกบีบให้เล็กลง ทำให้ความมันบนใบหน้าลดลงได้

ส่วนใครที่เป็นสิวอักเสบ ไม่ควรใช้ว่านหางจระเข้ เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้ ใครที่มีความกังวลเรื่องฝ้า การใช้ว่านหางจระเข้แม้จะไม่ใช่การรักษา แต่เป็นการป้องกันที่ดี เราสามารถนำมาทาเพื่อป้องกันรังสี UV ได้ ซึ่งเมื่อใช้เป็นประจำก็จะทำให้ปัญหาเรื่องฝ้าลดน้อยลงได้
READ MORE - การใช้ว่านหางจระเข้ในการรักษาสิว

ความหมายของสมุนไพร

ความหมายของสมุนไพร

สมุนไพร หมายถึง
พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพร กำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค สมุนไพร แต่ละชนิดจะมีสรรพคุณแตกต่างกันไป

คำว่า สมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผลฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่งแต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น

การใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ นี้ จะต้องนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า "ยา" ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า "เภสัชวัตถุ"พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาสำหรับขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า "เครื่องเทศ"



ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่ 3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ

1. ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือในการบำบัดโรคของสัตว์ ซึ่งมีปรากฎอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ หรือได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ

2. ยาสมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จากพืชสัตว์แร่ธาตุที่ยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพสมุนไพรนอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหารและยา ตลอดจนใช้เป็นยาฆ่าแมลงอีกด้วย


มีสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีพิษ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้เกินขนาดจะมีพิษถึงตายได้ ดังนั้นการใช้สมุนไพรจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีการตื่นตัวในการนำสมุนไพรมาใช้พัฒนาประเทศมากขึ้น สมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนิน โครงการ สมุนไพรกับสาธารณสุขมูลฐาน โดยเน้นการนำสมุนไพรมาใช้บำบัดรักษาโรคใน สถานบริการสาธารณสุขของรัฐมากขึ้น และ ส่งเสริมให้ปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ภายในหมู่บ้านเป็นการสนับสนุนให้มีการใช้สมุนไพรมากยิ่งขึ้น อันเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยประเทศชาติประหยัดเงินตราในการสั่งซื้อยาสำเร็จรูปจากต่างประเทศได้ปีละเป็นจำนวนมาก

การนำสมุนไพรมาใช้บำบัดรักษาโรค
READ MORE - ความหมายของสมุนไพร

ไก่ชนพันธุ์ประดู่เลาหางขาว

16.6.53

ไก่ชนพันธุ์ประดู่เลาหางขาว


ไก่ชนพันธุ์ประดู่เลาหางขาว แหล่งกำเนิด เชื่อว่ามาจากพระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี กำแพงเพชร มีนบุรี หนองจอก สุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ประเภท เป็นไก่ชนไทยขนาดกลาง ตัวผู้หนัก 3.00 - 4.00 กก. ตัวเมียหนัก 2.50 - 3.00 กก. สีของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน สีของลูกเจี๊ยบ ขนหัว ขนคอขาว ขนหางดำ ปีกในสีดำ ปีกนอกสีขาว หน้าคอ หน้าท้องสีขาว ประวัติความเป็นมา ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีความเป็นมาอย่างไร พัฒนามาจากไก่สายพันธุ์ใด ในประวัติศาสตร์ หรือการบันทึกยังไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญท่านใดในประวัติศาสตร์

รูปร่างลักษณะของประดู่เลาหางขาว

•รูปร่าง แบบทรงหงส์ ลำตัวยาว ไหล่ยก หางดกยาวเป็นฟ่อนข้าว เดินยืดท่าทางสง่างาม แข้งกลมแบบลำหวาย หน้ากลมยาวแบบหน้านก
•ใบหน้า กลึงกลมแบบหน้านกเหยี่ยว เหนียงคางรัด
•ปาก ปากใหญ่ ปลายปากงุ้มสีน้ำตาลอมเหลืองเล็กน้อย ปากมีร่องน้ำลึกทั้ง 2 ข้าง สีน้ำตาลอ่อน
•จมูก จมูกแบนราบสีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ สีเดียวกับปาก
•ตา ขอบตาเป็นรูปวงรีแบบตาวัว ขอบตา 2 ชั้น นัยน์ตาดำ ตารอบนอกสีเหลืองแก่แบบสีไพล เส้นเลือดสีแดงชัดเจน
•หงอน หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกอดกระหม่อม หงอนสีแดงสด พื้นหงอนเรียบ
•ตุ้มหู ตุ้มหูสีแดงเหมือนหงอน ขนปิดรูหูสีประดู่เลา เหมือนขนสร้อย
•เหนียง เหนียงเล็กสีแดงเหมือนหงอน รัดติดกับคาง
•กะโหลก กะโหลกยาวกลมเป็น 2 ตอน ตอนหน้าเล็ก ตอนหลังใหญ่กว่า
•คอ คอยาวใหญ่โค้งแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิดร่องคอ ขนสร้อยคอขึ้นดกเป็นระเบียบสีประดู่เลา
•ปีก ปีกยาวใหญ่จรดก้น ขนปีกท่อนในขาวปนดำ ปีกท่อนนอกไชปีกขาว ปีกท่อนในไชปีกขาวปนดำ ปีกแน่นไม่เป็นร่องโหว่
•ตะเกียบ ตะเกียบแข้งตรง ท้องแฟบรับกับตะเกียบ
•หาง หางยาวดกเป็นระเบียบ สีขาวปนดำ หางพัดดำปลายขาว หางกะลวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆสีขาวปนดำ หางดกยาวเป็นฟ่อนข้าว ก้านหางสีเดียวกับขน
•แข้งขา ปั้นขาใหญ่ ห่างจากกัน ข้อขามั่นคง ขนปั้นขาสีดำ เป็นแข้งรูปลำเทียน ลำหวาย เกล็ดแข้ง 2 แถวเป็นระเบียบ นิ้วเรียวยาว แข้งสีเดียวกับปาก
•เกล็ด เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบสีเดียวกับปาก
•นิ้ว นิ้วยาวเป็นลำเทียน ข้อนิ้วมีท้องปลิงหนา
•เดือย เดือยเป็นเดือยแบบลูกปืน หรือแบบงาช้าง แข็งแรงมั่นคง
•ขน ขนพื้นตัวสีดำ ขนกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ
•สร้อยปีก และสร้อยหลัง สีประดู่เลา คือโคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีประดู่
•เล็บ มั่นคงแข็งแรง สีเดียวกับเกล็ดแข้งและปาก
•สร้อย สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีประดู่เลา คือ ขนสร้อยท่อนล่างสีขาว ท่อนปลายสีประดู่
•กระปุกน้ำมัน เป็นกระปุกใหญ่ ปลายเดียว
ประดู่เลามี 4 เฉดสี คือ

1.ประดู่เลาใหญ่ หรือเรียกอีกชื่อว่าเลาใหญ่พระเจ้า 5 พระองค์ ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางเป็นสีดำแซมขาว ขนหางกะลวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ที่หัว-หัวปีก-ข้อขา มีกระขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยระย้า โคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีเม็ดมะขามแก่ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล
2.ประดู่เลาเล็ก ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนหางกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้า โคนขนสีขาว ปลายขนสีเม็ดมะขามแก่ ไม่มีหย่อมกระ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล
3.ประดู่เลาแดง ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนหางกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้า โคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีประดู่แดง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพลหรือส้ม
4.ประดู่เลาดำ ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนหางกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง โคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีคล้ำเข้มแบบเขียวประดู่
READ MORE - ไก่ชนพันธุ์ประดู่เลาหางขาว

ไก่ชนพันธุ์เหลืองหางขาว

12.6.53

ไก่ชนพันธุ์เหลืองหางขาว

ลักษณะเด่น

•สี ออกเหมือนดอกโสน ขาวอมแดง ขาวอมเหลือง
•ปาก ปากใหญ่ขาว คือ ปากสีขาวอมเหลืองหรือสีงาช้าง ปากยาวอวบใหญ่คล้ายกับปากนกแก้ว มีร่องน้ำเห็นได้อย่างชัดเจน ตรงกลางนูนเป็นสันราง ตา ตาขาวจะมีเส้นสีแดงๆ เรียกว่าตาเพชร ตาเป็นลักษณะตาเหยี่ยว หัวตาแหลม ตาดำคว่ำ เล็กหรี่ รอบตาดำสีขาวอมเหลือง หาง ขนหางกระรวยมีสีขาว พุ่งออกยาวมองเห็นได้เด่นชัด ถ้ายิ่งขาวและยาวมากๆ จะดีมาก ขนหางควรพุ่งตรงและยาว ปลายหางโค้งตกลงเพียงเล็กน้อย ขาแข้งและเดือย มีสีขาวอมเหลือง เป็นสีเดียวกับปาก เกล็ดมีลักษณะแข็งและหนาแน่นเรียบ เดือยใหญ่แข็งแรง นิ้วยาว เล็บสีขาวอมเหลืองทุกเล็บ ไม่มีสีอื่นๆปนเลย
•หงอน ด้านบนของหงอนจะบาง เรียบ ปลายหงอนยาวเลยตา โคนหงอนที่ติดกับหนังศรีษะหนาแน่น อาจมีลักษณะเป็นหงอนแจ้ หงอนหิน หงอนบายศรี
•ตุ้มหู จะมีสีแดงสีเดียวกับหงอน ไม่มีสีขาวเลย ตุ้มหูมีขนาดเล็ก รัดรับกับใบหน้า ไม่หย่อนยาน
•เหนียง เล็ก รัดติดกับคาง ไม่ยานหรือไม่มีเหนียง
•รูปหน้า เล็ก แหลม ยาว มีเนื้อแน่น ผิวหน้าเรียบเป็นมัน กะโหลกศรีษะหนาและยาว
•อก อกไก่จะแน่นกลม มีเนื้อเต็ม กระดูกอกหนา ยาว และตรง
หลัง เป็นแผ่นกว้าง มีกล้ามเนื้อมาก มองดูแล้วเรียบตรง ไม่โค้งนูน
•ไหล่ ตั้ง ยกตรง มีความกว้างพอสมควร
•คอ ยาว ใหญ่ กระดูกข้อถี่
•ปั้นขา จะใหญ่แข็งแรง มีเนื้อมาก กล้ามเนื้อแน่น
•สร้อยคอ เหลือง หรือเหลืองแกมส้ม สร้อยคอยาวต่อกับสร้อยหลัง
•สร้อยหลัง เป็นสีเดียวกับสร้อยคอ ควรเรียงกันเต็มแผ่นหลัง เริ่มตั้งแต่โคนคอจนถึงโคนหาง เส้นขนละเอียดยาวเป็นระย้า
•สร้อยปีก สีเดียวกับสร้อยคอ เรียงกันแน่นเต็มบริเวณหัวปีกจนถึงปีกชัย มองดูเป็นแผ่น


ความเป็นมา
ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช


เป็นไก่ชนตามประวัติศาสตร์ซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดาร เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพำนักอยู่ในกรุงหงสาวดี ประเทศพม่า พระองค์ทรงนำไก่เหลืองหางขาวไปจากเมืองพิษณุโลก เพื่อนำไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา เป็นไก่ชนที่มีลักษณะพิเศษมีความเฉลียวฉลาดในการต่อสู้ จึงชนชนะ จนได้รับสมญาว่า "เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง" ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ได้ศึกษาค้นคว้า และทำการส่งเสริมเผยแพร่ โดยจัดประกวดครั้งแรกขึ้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2533 และในปี 2534 ได้จัดตั้ง ชมรมอนุรักษ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นที่ ตำบลหัวรออำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกจนถึงปี 2542 ได้จัด ตั้งกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นทุกอำเภอ รวม 12 กลุ่มเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ให้คงอยู่ เป็นสมบัติคู่ชาติตลอดไป


แหล่งกำเนิด

ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช เป็น ไก่ชนสายพันธุ์เหลืองหางขาว และ เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้วว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลกจนถึงขณะนี้ ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช นับว่าเป็นของดีของจังหวัดพิษณุโลก และ เป็นสมบัติของชาติไทย ที่กำลังได้รับความสนใจ กันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การอนุรักษ์ และ พัฒนาสายพันธุ์ ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และลักษณะประจำพันธุ์ที่แน่นอน สำนักปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลกจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานพันธุ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2542 ดังต่อไปนี้ สายพันธุ์ เหลืองหางขาว เพศผู้ มีน้ำหนักตั้งแต่ 3 กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ 60 เซนติเมตรขึ้นไป(วัดจากใต้ ปากล่างตั้งฉากถึงพื้นที่ยืน) เพศเมีย มีน้ำหนักตั้งแต่ 2 กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ 45 เซนติเมตรขึ้นไป
READ MORE - ไก่ชนพันธุ์เหลืองหางขาว

ไก่ชนสายเลือดนักสู้

READ MORE - ไก่ชนสายเลือดนักสู้

วิธีการทำข้าวมันไก่

วิธีการทำข้าวมันไก่

เครื่องปรุง
สะโพกหรืออกไก่ 800 กรัม
ข้าวสาร 3 กระป๋อง
เกลือป่น ½ ช้อนชา
ขิงฝานเป็นแว่น 6 แว่น
กระเทียมสับ 3 ช้อนโต๊ะ
ผักชี 2 ต้น
แตงกวาลูกใหญ่ 1 ลูก
น้ำเปล่า 7 ถ้วย

เครื่องปรุงน้ำจิ้ม
ซีอิ้วขาว 3 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ้วดำ 1 ช้อนชา
เต้าหู้ยี้ 2 ก้อนเล็ก
น้ำตาลทราย 1 ½ ช้อนโต๊ะ
น้ำส้มสายชู 1 ½ ช้อนโต๊ะ
ขิงสับ 3 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมสับ 3 ช้อนโต๊ะ
พริกสด 2 เม็ด


วิธีทำ
1. นำไก่มาล้างน้ำให้สะอาด ตัดหนังส่วนที่เกินออกมา หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เอาไว้เจียวน้ำมัน


2. ปลอกเปลือกกระเทียมและขิง นำไปล้างน้ำให้สะอาด นำกระเทียมมาสับให้ละเอียด ส่วนขิงก็ฝานเป็นแว่นๆ



3. เปิดเตาที่ไฟปานกลาง นำหนังไก่ที่หั่นไว้ไปเจียว ให้ได้น้ำมันออกมา (สังเกตว่าหนังไก่จะเหลืองกรอบก็ตักหนังไก่ขึ้นมาให้หมด) นำกระเทียมที่สับไว้ลงไปเจียวให้เหลืองหอม



4. เมื่อกระเทียมเหลืองได้ที่แล้วก็ให้นำน้ำมันกระเทียมเจียวใส่ลงไปในข้าวสารที่ซาวไว้เรียบร้อยแล้ว จากนั้น ให้ใส่ขิงฝานและเกลือป่นตามลงไป

5. เปิดเตาที่ไฟปานกลางค่อนข้างแรง ใส่น้ำเปล่าลงไปในหม้อประมาณ 5 ถ้วย รอจนน้ำเดือดจึงนำไก่ที่เตรียมไว้ลงไปต้ม จากนั้นลดไฟลงเป็นไฟอ่อนแล้วต้มไก่ไปเรื่อยๆ จนน้ำซุปเริ่มเดือด ให้ตักน้ำมันที่ลอยหน้าออกมาใส่ในหม้อหุงข้าว

6. จากนั้นก็เติมน้ำซุปที่ต้มไก่ลงไปในหม้อหุงข้าวประมาณ 3 ถ้วย คนให้เครื่องเข้ากันจึงนำข้าวไปหุงในหม้อหุงข้าวตามปกติ

7. เติมน้ำเปล่าลงไปในหม้อต้มไก่อีกประมาณ 2 ถ้วยหรือจนท่วมไก่ ต้มไก่ไปเรื่อยๆ ประมาณ 45 นาทีหรือจนไก่สุก เมื่อไก่สุกแล้ว ก็ให้นำขึ้นมาเลาะกระดูกออก ตีเนื้อให้นิ่ม แล้วจึงสับเป็นชิ้นๆ เตรียมไว้เสริฟพร้อมข้าวมัน



วิธีทำน้ำจิ้มข้าวมันไก่
1. ปลอกเปลือกกระเทียมและขิง เด็ดขั้วพริก นำไปล้างน้ำให้สะอาด นำกระเทียมและขิงมาสับให้ละเอียด ซอยพริกเป็นชิ้นเล็กๆ และนำเครื่องทั้งหมดใส่ไว้ในถ้วยผสม



2. เติมเครื่องปรุงต่างๆ คือ ซีอิ้วขาว ซีอิ้วดำ เต้าหู้ยี้ น้ำตาลทราย และน้ำส้มสายชู ลงไป ผสมเครื่องทั้งหมดให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ เตรียมไว้เสิร์ฟพร้อมข้าวมันไก่



วิธีการจัดและเสิร์ฟข้าวมันไก่

1. ตัดก้านผักชี ปลอกเปลือกแตงกวา นำไปล้างให้สะอาด นำผักชีมาซอยให้ละเอียด ส่วนแตงกวาก็หั่นเป็นแว่นๆ
2. ปรุงรสน้ำซุปไก่ด้วยซีอิ้วขาวและน้ำตาลทรายให้รสชาติกลมกล่อม ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยพริกไทยป่นและผักชีซอย เตรียมไว้เสิร์ฟพร้อมข้าวมันไก่
3. ตักข้าวใส่จาน นำไก่ที่หั่นไว้วางลงไปบนข้าว วางแตงกวาที่หั่นไว้ข้างๆ จากนั้นก็เสิร์ฟพร้อมกับน้ำจิ้มและน้ำซุปที่เตรียมไว้ได้เลย



วิธีการทำข้าวมันไก่
READ MORE - วิธีการทำข้าวมันไก่

วิธีการทำน้ำจิ้มลูกชิ้น


ส่วนผสม

๑.พริกขี้หนูแห้ง ๒๐ เม็ด
๒.น้ำปลา ๑๒ ช้อนโต๊ะ
๓.น้ำตาลปี๊บ ๖ ช้อนโต๊ะ
๔.น้ำส้มสายชู ๖ ช้อนโต๊ะ

วิธีปรุง

นำพริกขี้หนูแห้งมาคั่วให้หอม แล้วโขลกจนละเอียด ผสมน้ำปลา น้ำส้มสายชู น้ำตาลปี๊บ
ใส่หม้อเคี่ยวจนเป็นยางเหนียว ยกลงพักไว้ให้หายร้อน


สูตรน้ำส้มสายชู
ส่วนผสม
น้ำส้มสายชู 1/4 ถ้วยตวง , น้ำสะอาด 1/4 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง , เกลือป่น 1 ช้อนชา
พริกแดงโขลกละเอียด 1-2 เม็ด
แป้งมัน 2 ช้อนชา ให้ละลายในน้ำสะอาด 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
ผสมน้ำส้มสายชู, น้ำ, น้ำตาล, เกลือ, พริกแดง ตั้งไฟพอเดือด
ใส่แป้งมันที่ละลายน้ำเล็กน้อยลงคนจนเหนียวพอสุกยกลง
ชิมรสตามใจชอบ

สูตรน้ำมะขามเปียก
ส่วนผสม
1). น้ำมะขาม (โดยการนำมะขามเปียกหรือสดมาขยำกับน้ำพอประมาณ
มากน้อยตามที่เราต้องการ จากนั้นกรองเอากากมะขามทิ้ง )
2). นำน้ำมะขามที่เตรียมไว้ไปตั้งไฟให้ร้อน ใส่น้ำตาลปี๊บลงไปให้เยอะหน่อย
เพื่อให้น้ำจะออกรสหวาน ๆ ชิมรสให้ออกเปรี้ยวหวาน
3). ละลายแป้งมันใส่ลงไปเพื่อทำให้น้ำจิ้มเหนียว หมั่นคนเรื่อย ๆ
จนเดือดก็หรี่ไฟลงแต่ก็ยังคนไปเรื่อย ๆ มันจะเหนียวขึ้น
ปรุงรสด้วยซีอิ๊วหรือน้ำปลานิดหน่อยไม่ต้องมาก
พอให้รสออกหวาน ปน เปรี้ยวนิด ๆ และมีเค็มหน่อย ๆ
4). เอาพริกทอดมาตำให้ละเอียด พอน้ำจิ้มเริ่มข้นเหนียวดีแล้ว
ก็เอาพริกทอดที่ตำเตรียมไว้ใส่ลงไป และโรยด้วยใบผักชีนิดหน่อย

สูตรกระเทียมดอง
ส่วนผสม
กระเทียมดอง / พริกชี้ฟ้าแดง / น้ำตาลทราย / เกลือ /
น้ำส้มสายชู / แป้งมัน หรือ แป้งข้าวโพด / ผักชี

วิธีทำ
1). ปั่นพริกชี้ฟ้าแดงกับกะเทียมดอง โดยแยกกันปั่น หรือจะปั่นรวมกันก็ได้ ปั่นให้ละเอียด
2). ต้มน้ำให้เดือด (ใส่รากผักชีลงไปด้วยก็ได้) ใส่น้ำตาลทรายคนให้ละลาย
หลังจากน้ำเดือดแล้ว ใส่พริกกับกระเทียมที่ปั่นลงไป เติมเกลือ
กับน้ำส้มสายชู ชิมรสตามชอบ ( เปรี้ยวหวาน หวานเค็ม )
จะใส่น้ำกระเทียมดองด้วยก็ได้
3). ผสมแป้งข้าวโพดกับน้ำ ค่อย ๆ เท ลงหมั่นคนจนน้ำจิ้มข้นเหนียว
ปิดไฟเด็ดผักชีใส่โรยหน้าลงไป


READ MORE - วิธีการทำน้ำจิ้มลูกชิ้น

วิธีการทำหมูปิ้ง

วิธีการทำหมูปิ้ง
สูตรที่หนึ่ง หมูปิ้งปะทะนมสด รสกลมกล่อม หม่อมถนัดศรีพลีชีพ ลองลิ้มชิมรส หมดยกเตา

เครื่องปรุง
เนื้อหมู เอาติดมันก็ได้ หรือ เนื้อสันก็ดี 1 กิโลกรัม
ซีอิ้วดำ 1/2-1 ชต.
นมข้นจืด 3-4 ชต. หรือนมสด 1 ถ้วย
น้ำตาลปิ้บ 1/2 ถ้วย
น้ำตาลทรายนิดหน่อย
น้ำมันหอย นิดหน่อย
ซีอิ้วขาวเห็ดหอม 2-3 ชต
กระเทียม รากผักชี พริกไทย 2ชต.
น้ำมันมะกอก 2-3ชต.

ผสมกันเสร็จชิมดูก่อนว่ารสออกมาแบบไหน ถ้าชอบหวานชอบเค็มก็เต็มเพิ่มลงไป

วิธีทำ
ล้างหมูให้สะอาดแล้วแล่ อย่าบางมากคลุกเคล้ากับส่วนผสมแล้ว แช่ในตู้เย็นสัก 1-2 วันค่อยนำออกมาเสียบไม้ปิ้ง

หรือ

เจ้าของสูตรเดิมเขาเสียบไม้ไว้เลยแล้วแช่ฟิต 3 วัน ค่อยเอาออกมาปิ้ง แช่ฟิตจะทำให้หมูนุ่มมาก ๆ

เวลาปิ้งน้ำปรุงที่เหลืออย่าทิ้งนำน้ำกะทิมาผสม ตอนปิ้งก็ใช้น้ำปรุงนี้ทาลงไปที่หมูกำลังปิ้งเพื่อให้หยดลงไปถ่านกำลังร้อน ๆ จะได้มีควันหอม ๆ รมหมูด้วย


*******************************************************************

สูตรที่สอง หมูปิ้งรสชาววัง

เครื่องปรุง
1.หมูสันนอก 1 กิโลกรัม
2.น้ำมันหอย 1/2 ถ้วย
3.ซอสปรุงรส 1/2 ถ้วย
4.น้ำปลา 1/2 ถ้วย
5.น้ำตาลปี๊ป 300 g.
6.แป้งมัน 1/4 ถ้วย
7.น้ำมันพืช 1/2 ถ้วย
8.กระเทียม พริกไทย รากผักชี (ตามแต่ชอบครับ อันนี้แล้วแต่เลย ชอบมากก็ใส่มากหน่อย)

วิธีทำ
1. หั่นเนื้อหมูให้เป็นชิ้นบางๆพอคำนะครับ อันนี้ยิ่งบางเท่าไหร่เครื่องปรุงก็เข้าเนื้อมาก เวลาเสียบไม้ย่างได้ใช้เวลาไม่นาน แล้วเครื่องปรุงก็เข้าเนื้อได้ดีกว่าชิ้นใหญ่ๆอะครับ

2. นำกระเทียม พริกไทย รากผักชี โขลกรวมกัน และ ใส่เครื่องปรุงทั้งหมดลงไปในภาชนะที่เตรียมไว้ แล้วคนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี

3. นำเนื้อหมูที่หั่นไว้แล้วคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง ใช้มือนวดเบาๆ แบบใจเย็นๆ ให้น้ำแห้งหมาดๆ (ใช้เวลาประมาณ 25 นาที)

4. นำหมูที่นวดเสร็จแล้ว แช่ตู้เย็นช่องฟรีซอย่างน้อย 3 ชั่วโมง เพื่อให้เครื่องปรุงเข้าในเนื้อและจะทำให้หมูนุ่มได้ที่

5. ครบกำหนดเวลา นำหมูมาเสียบไม้ ตามความยาว แล้วเรียงใส่กล่อง ให้สวยงาม แล้วนำเข้าช่องเย็นอีกที ก่อนนำมาปิ้งนะครับ


*******************************************************************

สูตรที่สาม หมูปิ้งรสดั้งเดิม

เครื่องปรุง
เนื้อหมู 600 กรัม
กระเทียมกลีบใหญ่ 5-6 กลีบ
พริกไทยเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ้วขาว 3 ช้อนโต๊ะ
ซอสปรุงรส 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลปี๊บ 3 ช้อนโต๊ะ
หัวกะทิ 1/3 ถ้วย

วิธีทำ
1. ล้างเนื้อหมูให้สะอาด ซับน้ำให้แห้งแล้วหั่นเป็นชิ้นขนาดประมาณ 2 นิ้ว หนาประมาณ 3 มิลลิเมตร

2. ปลอกเปลือกกระเทียม ล้างน้ำให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปโขลกให้ละเอียดพร้อมพริกไทยเม็ด

3. นำกระเทียมพริกไทยที่โขลกได้ใส่ลงไปในเนื้อหมูที่หั่นไว้ เติมเครื่องปรุงต่างๆ และกะทิ 3 ช้อนโต๊ะลงไป คลุกเคล้าเครื่องปรุงต่างๆ ให้เข้ากันแล้วหมักไว้ประมาณ 3 ชั่วโมงหรือทิ้งไว้ข้ามคืน

4. เมื่อหมักได้ที่แล้ว นำเนื้อหมูที่ได้มาเสียบไม้ (ก่อนเสียบไม้ให้นำไม้ไปแช่น้ำไว้ก่อนประมาณ 30 นาที เพื่อช่วยไม่ให้ไม้ไหม้)

5. เริ่มต้นทำการปิ้งโดยวางหมูที่เสียบไม้เรียบร้อยแล้วลงบนตะแกรง นำหัวกะทิที่เหลือมาทาให้ทั่วทุกไม้


*******************************************************************

สูตรที่สี่ หมูปิ้งรสนมสดดั้งเดิม

เครื่องปรุง
1. เนื้อหมู 1 kg.
2. พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา
3. กระเทียมกลีบเล็กปลอกเปลือก ประมาณ 2 หัว
4. รากผักชี 5-6 ราก
5. เกลือป่น 1 ช้อนชา
6. นมข้นจืด 3 - 4 ช้อนโต๊ะ สำหรับหมัก 3 ช้อนโต๊ะ สำหรับย่าง
7. น้ำตาลปีบ 1/2 ถ้วย
8. น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนโต๊ะ
9. ซีอิ้วดำ 1/2 - 1 ช้อนโต๊ะ
10. แป้งมัน หรือแป้งข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. หันหมูเป็นชิ้นและบางตามความค้องการ
2. นำกระเทียม รากผักชี พริกไทย มาตำละเอียด
3. นำเครื่องปรุงทั้งหมดมาคลุกเคล้ากับหมูเพื่อหมัก ประมาณ 1 - 2 ชม. ใส่ตู้เย็น แล้วนำหมูมาเสียบไม้
4. ย่างหมูครับ ไฟพอประมาณ เวลาย่างก็เอานมข้นจืดทาหมูด้วยนะครับ ใช้กะทิสดแทนก็ได้ถ้าไม่ใช้นม

*******************************************************************

สูตรที่ห้า หมูปิ้งรสนมสดรสกลมกล่อมเน้นเนื้อนุ่มเหนียว

เครื่องปรุง
สำหรับหมักหมู 1 กิโลกรัม
พริกไทยป่น 1 ช้อนชาตำรวมกับกระเทียมกลีบเล็ก ไม่ต้องปอกเปลือก 1 หัวโต ๆ
ซีอิ้วดำ 1/2 - 1 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1 ช้อนชา
นมข้นจืด 3 - 4 ช้อนโต๊ะ (อย่าใส่มากเกินไป เพราะหมูจะลื่นทำให้เสียบไม้ลำบาก)
น้ำตาลปีบ 1/2 ถ้วย และ น้ำตาลทรายนิดหน่อย พอให้ออกรสหวานปะแล่ม ๆ

วิธีทำ
แล่เนื้อหมูตามขนาดที่ต้องการ แล้วนำเครื่องหมักทั้งหมดลงผสม ขยำให้เข้ากันสักครู่แล้วนำไปเสียบไม้ เสร็จแล้วนำใส่ในกล่องมีปิดฝา เก็บในตู้เย็นในช่องแข็ง 2 - 3 วัน ก่อนนำมาปิ้งกับเตาถ่านให้สุก รับประทานกับข้าวเหนียวนึ่งร้อน ๆ


READ MORE - วิธีการทำหมูปิ้ง

อ้อยแดงยาดีมีมาแต่โบราณ



อ้อยแดง
อ้อยแดง หรือ SUGARCANE, SACCHARUM OFFICINARUM LINN. อยู่ในวงศ์ GRAMINEAE เป็นอ้อยที่นิยมปลูกกันตามหัวไร่ปลายนามาแต่โบราณแล้ว เพื่อใช้ประโยชน์ทางยาเท่านั้น เนื่องจากเปลือกต้นของ “อ้อยแดง” มีรสขม และ น้ำที่ได้ก็ไม่หวานแหลมนัก หากปลูกเพื่อปอกเปลือกแล้วควั่นเป็นข้อขายไม่มีคนซื้อรับประทานอย่างแน่นอน ลำต้นสูง 2-5 เมตร เปลือกต้นเป็นสีม่วงแดงจนเกือบดำ มีไขสีขาวปกคลุม ไม่แตกกิ่งก้าน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรียาว ปลายแหลม โคนเรียว และเป็นกาบหุ้มลำต้น ผิวใบจะเป็นสีม่วงอ่อนปนสีม่วงเทา ดูแปลกตามาก

ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีขาว “ผล” ขนาดเล็ก มักเป็นผลแห้ง ไม่แตกอ้า ภายในมีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำต้น มีชื่อเรียกอีก คือ อ้อยขม และ อ้อยดำ ชาวจีนนิยมใช้ “อ้อยแดง” ทั้งต้นผูกติดหน้ารถยนต์ที่จะนำตัวเจ้าสาวไปส่งให้บ้านเจ้าบ่าว ถือว่าเป็นมงคลกับคู่แต่งงานเป็นยิ่งนัก ซึ่งอ้อยมีหลายสายพันธุ์ จะมีความแตกต่างกันที่ความสูงของต้น ความยาวระหว่างข้อ และสีของลำต้น แต่ละพันธุ์ยังมีรสชาติต่างกันอีกด้วย

ประโยชน์ทางยา ตำรายาไทย ใช้ลำต้นเป็นยาขับปัสสาวะ โดยใช้ลำต้นสด 70-90 กรัม หรือลำต้นแห้ง 30-40 กรัม หั่นเป็นชิ้นเล็กต้มกับน้ำจนเดือด แบ่งดื่มวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร แก้ไตพิการ หนองใน ขับนิ่ว และยังใช้ขับเสมหะได้ด้วย ตำรายาโบราณบอกว่า เอาทั้งต้นของ “อ้อยแดง” แบบสด หรือเผาไฟนำไปหีบหรือคั้นเอาเฉพาะน้ำ ซึ่งมีรสหวานขม มีกลิ่นหอมเมื่อถูกเผา กินเป็นยา แก้เสมหะ หืด ไอ แก้ไข้สัมปะชวน ทั้งต้นควั่นตากแห้งต้มน้ำกินแก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว ขัดเบา ช้ำรั่วได้ ตา ของ “อ้อยแดง” จะมีรสขมกว่าเปลือกเยอะ นิยมนำไปปรุงเป็นยาแก้ตัวร้อน ดับพิษตานซางในเด็ก และบำรุงธาตุ ทำให้เกิดกำลังดีมาก ใครต้องการต้น “อ้อยแดง” ไปปลูก ลองติดต่อ “คุณพร้อมพันธุ์” ตามสถานที่ที่กล่าวข้างต้น อาจจัดหาให้ได้ครับ.

ขอบคุณ: บทความดีๆจาก ไทยรัฐ
READ MORE - อ้อยแดงยาดีมีมาแต่โบราณ

วิธีการทำไก่ต้มน้ำปลาสมุนไพร

9.6.53


1. ไก่ 1 ตัวหรือ เอาเป็นชิ้นๆ ก็ได้ เช่น น่อง อก ฯลฯ (ถ้าจะให้อร่อยต้องไก่บ้าน)
ล้างให้สะอาด เอาเครื่องในออก พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ
2. นำน้ำปลาใส่หม้อ ตั้งไฟให้เดือด (ใส่น้ำปลาให้ท่วมตัวไก่ที่เตรียมไว้)
3. นำรากผักชี ตระไคร้ ใบมะกรูด ลงไปในหม้อ
4. นำไก่ที่เตรียมไว้ลงไปในหม้อ ไม่ต้องคน ปิดฝาหม้อไว้ หรี่ไฟอ่อนๆเคี่ยวจนได้ที่ ไก่สุกนุ่มแล้วยกลง นำไก่ไปสับใส่จาน
5. น้ำจิ้มประกอบด้วยพริกสด(แดง+เขียว) กระเทียม โขลกให้ละเอียด
6. ปรุงรสด้วยมะนาว น้ำตาลปิ๊ป เปรี้ยวหวานตามใจชอบ
7. นำไก่ที่สับใส่จาน ทานพร้อมกับน้ำจิ้ม อร่อยสุดๆ
ใส่สมุนไพรเพื่อดับกลิ่นคาว
READ MORE - วิธีการทำไก่ต้มน้ำปลาสมุนไพร

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

อุปกรณ์และวัสดุ
1. เชื้อเห็ดฟาง
2. จอบและพลั่ว
3. ตะกร้า
4. ผักตบชวา
5. พลาสติกใสสำหรับทำกระโจม
6. ไม้หรือเหล็กสำหรับทำกระโจม อาจใช้สุ่มไก่ที่ไม่ใช้แล้วแทนก็ได้

วิธีการทำ
1. ทุบก้อนเชื้อ(ได้จากการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก) ให้แตกพอแหลก แต่ไม่ต้องละเอียด
2. ใส่วัสดุเพาะลงในตะกร้าสูงประมาณ 2-3 นิ้ว กดให้พอแน่น และ ให้ชิดขอบตะกร้า


3. โรยผักตบชวาที่หั่นไว้ ลงบนวัสดุเพาะ โดยรอบ
4. นำเชื้อเห็ดฟางมาโรยบนวัสดุเพาะได้เป็น ชั้นที่ 1



5. ทำชั้นที่ 2 และ 3 ด้วยวิธีการเดิม ปิดชั้นที่ 3 ด้วยวัสดุเพาะ ได้เป็น 1 ตะกร้า


6. นำตะกร้าเห็ดฟางใส่กระโจมเพาะเห็ดฟาง



7. รักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้อยู่ที่ 33-38 องศา เมื่อเส้นใยเดินเต็มวัสดุจึงรดน้ำด้วยบัวฝอย


8. เมื่อเกิดตุ่มดอกแล้วรักษาอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศา ช่วงนี้เห็ดฟางจะเจริญเติบโตขึ้น
9. เก็บดอกตูม หัวพุ่ง ของเห็ดฟาง ให้ชิดรูตะกร้า
READ MORE - การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า