กติกาในการเล่นฟุตบอล

14.7.52


สนาม

ขนาดสนาม ต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขาว 110 – 120 หลา กว้าง 70 – 80 หลา
การเขียนเส้น ส่วนกว้างของเส้นไม่เกิน 5 นิ้ว ซึ่งประกอบด้วยเส้นข้าง เส้นประตู ธงมุมทั้งสี่ยอดมน ยาว 5 ฟุต และเส้นแบ่งแดนจุดศูนย์กลาง เขียนวงกลมรัศมี 10 หลา
เขตประตู คือจากเสาประตูออกไปข้างละ 6 หลา และตั้งฉากกับเส้นประตูเข้าไปในเขตโทษ 6 หลา
เขตโทษ คือ จากเสาประตูทั้งสองออกไปข้างละ 18 หลา และตั้งฉากกับเส้นประตูเข้าไปในสนาม 18 หลา และจากจุดกึ่งกลางของเส้นประตูเข้าไปในเขตโทษระยะ 12 หลา เป็นจุดเตะโทษและเขตโค้งวงกลมรัศมี 10 หลา นอกเขตโทษ (เส้นผ่าศูนย์กลางจุดโทษ 9 นิ้ว)
เขตมุม มุมสนามแต่ละแห่งเป็นจุดกลางเขียนโค้ง ¼ ของวงกลม รัศมี 1 หลา
ประตูประกอบด้วยเสา 2 ต้น คาน 1 คาน ถ้าวัดภายในยาว 8 หลา สูง 8 ฟุต และความหนาไม่เกิน 5 นิ้ว บนเส้นประตูห่างจากมุมทั้งสองเท่ากัน
ลูกบอล

ลูกบอลต้องกลม เปลือกนอกทำด้วยหนังหรือวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้เล่น
วัดรอบลูกบอลได้ 27 – 28 นิ้ว
น้ำหนัก 396 – 453 กรัม
จำนวนผู้เล่น

ต้องมีผู้เล่น 2 ชุด ๆ ละไม่เกิน 11 คน และไม่น้อยกว่า 7 คน และมีผู้เล่นคนหนึ่งเป็นประตู
การเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะเปลี่ยนได้ 2 คน อย่างมากไม่ควรเปลี่ยนตัวเกิน 5 คน แต่ขึ้นอยู่กับข้อตกลง
การเปลี่ยนตัวจะเปลี่ยนได้เมื่อลูกตาย และต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินก่อน
สำหนับผู้รักษาประตูจะเปลี่ยนตัวเป็นผู้เล่นในสนาม ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบเมื่อลูกตาย
ถ้าผิดกติกาการเปลี่ยนตัวต้องเตะโทษ 2 จังหวะ ณ ที่ลูกบอลอยู่ขณะที่ผู้ตัดสินเป่านกหวีดหยุด และจะต้องถูกคาดโทษด้วย
อุปกรณ์ของผู้เล่น

(ก) อุปกรณ์ของผู้เล่นมีดังต่อไปนี้ คือ เสื้อยืด หรือเสื้อเชิ้ต กางเกงขาสั้น ถุงเท้ายาว สนับแข้ง และรองเท้า
(ข) ผู้เล่นจะต้องไม่สาวสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะเป็นอันตรายต้อผู้เล่นคนอื่น ๆ

สนับแข้งจะต้องใส่ภายในถุงเท้ายาว และคลุมอย่างมิดชิด ซึ่งสนับแข้งจะต้องทำด้วยยางพลาสติก หรือสารสังเคราะห์ที่คล้ายคลึงกัน และสามารถป้องกันได้
ผู้รักษาประตูจะต้องสวมเสื้อที่มีสีแตกต่างจากผู้เล่นคนอื่น ๆ รวมทั้งผู้ตัดสินอย่างเห็นได้ชัดเจน
ผู้ตัดสิน

ผู้ตัดสินต้องได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ในการแข่งขันแต่ละครั้ง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกติกาการแข่งขันทันทีที่เข้าสนามแข่งขัน และขณะพักการเล่นชั่วคราว ลูกตายหรือระงับการลงโทษ
ตัดสินใจสั่งหยุดการเล่นชั่วคราว ตัดสินใจเตือน คาดโทษ และไล่ออก
บันทึกการเล่น รักษาเวลา ชดเชยเวลาเนื่องจากอุบัติเหตุ หรือเหตุอื่น ๆ และให้สัญญาณต่าง ๆ
เป็นผู้อนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าไปในสนามได้
เป็นผู้ชี้ขาดเรื่องลูกฟุตบอลในการแข่งขัน
ผู้กำกับเส้น

ผู้กำกับเส้นทั้งสองคนต้องได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ (การตัดสินเด็ดขาดอยู่ที่ผู้ตัดสิน)
เป็นผู้แจ้งว่าฝ่ายใดมีสิทธิ์จะได้เตะมุม เตะจากประตู หรือทุ่มลูก
ช่วยเหลือผู้ตัดสินและควบคุมการเล่นให้เป็นไปตามกติกา (ผู้ตัดสินสามารถสั่งเปลี่ยนผู้กำกับเส้นได้)
ต้องใช้ธงของเจ้าของสนามที่จัดแข่งขัน
ระยะเวลาการเล่น

ระยะเวลาการเล่นแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนละ 45 นาที และหยุดพักระหว่างครึ่งไม่เกิน 5 นาที (ยกเว้นตกลงเป็นอย่างอื่น)

การเริ่มเล่น

ผู้ตัดสินเป็นผู้เสี่ยงโยนหัวโยนก้อย ผู้ชนะในการเสี่ยงจะมีสิทธิ์เลือกเตะเริ่มเล่นหรือเลือกข้าง
เมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณเริ่มเล่นแล้ว ผู้เล่นคนหนึ่งจะต้องเตะลูกบอลซึ่งตั้งอยู่ ณ จุดศูนย์กลางของสนามเข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ไม่น้อยกว่า 1 รอบของลูกบอล และห้ามเล่นลูกบอลซ้ำจนกว่าจะถูกผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน หรือฝ่ายตรงข้ามก่อนจึงจะเล่นต่อไปได้
ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างลูกบอลไม่น้อยกว่า 10 หลา ขณะเตะเริ่มเล่น
เมื่อได้ประตูต้องเริ่มเล่นใหม่ในทำนองเดียวกัน โดยผู้เล่นคนหนึ่งของฝ่ายเสียประตูเป็นผู้เตะเริ่มเล่น
เมื่อเริ่มครึ่งเวลาหลังต้องตั้งต้นเริ่มเล่นใหม่ โดยฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ได้เตะเริ่มเล่นในครึ่งเวลาแรก
ลูกตายและลูกไม่ตาย

ลูกตาย คือ ลูกบอลได้ผ่านเส้นประตูหรือเส้นข้างออกไปนอกสนามหมดทั้งลูก ไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศ หรือเมื่อผู้ตัดสินสั่งให้หยุดการเล่น
ลูกไม่ตายนับตั้งแต่ได้เริ่มการเลนจนเลิกเล่น รวมทั้งกรณีที่ลูกบอลกระดอนจากเสาหรือคานประตู หรือมุมธงเข้ามาในสนาม หรือลูกบอลถูกผู้ตัดสิน ผู้กำกับเส้น ซึ่งอยู่ในสนาม และรวมถึงกรณีที่เข้าใจว่าทำผิดกติกาก็ต้องเล่นต่อไปจนกว่าจะมีการตัดสิน
การนับประตู

เมื่อลูกบอลได้ผ่านเส้นประตูเข้าไปในระหว่างเสาประตูทั้งสองข้าง และภายใต้คานประตูหมดทั้งลูก โดยผู้เล่นฝ่ายรุกไม่ได้ขว้าง หรือใช้มือ หรือแขนทำให้ลูกบอลนั้นเข้าประตู นอกจากผู้รักษาประตูซึ่งอยู่ภายในเขตโทษของตน
เมื่อเสร็จการเล่นแล้ว ฝ่ายใดได้ประตูมากกว่าเป็นฝ่ายชนะ ถ้าประตูเท่ากันจะเสมอกัน
การล้ำหน้า

ผู้เล่นจะล้ำหน้า ถ้าล่วงหน้าลูกบอลเข้าไปใกล้ประตูของคู่ต่อสู้ นอกจาก

ผู้ล้ำหน้านั้นอยู่ในแดนของตน
มีคู่ต่อสู้สองคนอยู่ใกล้เส้นประตูของเขามากกว่าที่ตนอยู่
ครั้งสุดท้ายฝ่ายู่ตอสู้เป็นผู้ถูกลูกบอลนั้น หรือตนเป็นผู้เล่นลูกบอลนั้นเอง
ผู้ล้ำหน้าได้รับลูกบอลโดยตรงจากการเตะจากประตู เตะจากมุม ลูกทุ่ม หรือลูกบอลที่ผู้ตัดสินทุ่ม (Drop Ball)
การเล่นที่ผิดกติกาและเสียมารยาท

ผู้เล่นคนใดเจตนากระทำผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 9 ข้อ จะถูกเตะโทษจังหวะเดียวโดยฝ่ายตรงข้าม และถ้าเกิดในเขตโทษจะต้องเตะโทษ ณ จุดโทษ ดังนี้
เตะ หรือพยายามเตะคู่ต่อสู้
ขัดขาคู่ต่อสู้ คือทำหรือพยายามทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงด้วยการใช้ขา หรือด้วยการหมอบลงข้างหน้าหรือข้างหลัง
กระโดดเข้าหาคู่ต่อสู้
ชนคู่ต่อสู้อย่างรุนแรง หรือน่าหวาดเสียว
ชนคู่ต่อสู้ข้างหลัง นอกจากคู่ต่อสู้นั้นเจตนากีดกัน
ทำร้ายหรือพยายามจะทำร้ายคู่ต่อสู้
ฉุดหรือดึงคู่ต่อสู้
ผลักหรือดันคู่ต่อสู้
เล่นลูกด้วยมือ คือ ทุบ ต่อย ปัด เดาะลูกด้วยมือหรือแขน
ผู้เล่นคนใดกระทำผิดนอกเหนือดังกล่าวในข้อ 1 ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษ 2 จังหวะ
การเตะโทษ

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

การเตะโทษโดยตรง (จังหวะเดียว) เป็นการเตะครั้งเดียวลูกบอลเข้าประตูฝ่ายตรงข้าม โดยที่ลูกบอลไม่ถูกผู้ใดก็นับว่าได้ประตู
การเตะโทษโดยอ้อม (2 จังหวะ) เป็นการเตะครั้งเดียวลูกบอลเข้าประตูของฝ่ายตรงข้ามไม่นับว่าได้ประตู เว้นแต่ลูกบอลได้ถูกผู้เล่นคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้เตะก่อนจะเข้าประตู ขณะเตะโทษผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามอยู่ห่างลูกบอลไม่น้อยกว่า 10 หลา
การเตะ ณ จุดโทษ

จะต้องเตะ ณ จุดโทษ และผู้เล่นทุกคนนอกจากผู้เตะและผู้รักษาประตูของฝ่ายรับต้องอยู่ในสนาม แต่นอกเขตโทษ และห่างจากจุดโทษอย่างน้อย 10 หลา
ผู้รักษาประตูฝ่ายรับต้องยืนให้เท้าทั้งสองไม่เคลื่อนที่บนเส้นประตูระหว่างเสาประตูของตนจนกว่าผู้เตะได้เตะลูกบอลแล้ว
ผู้เตะต้องเตะไปข้างหน้า และจะเล่นลูกบอลครั้งที่ 2 ไม่ได้จนกว่าจะถูกผู้เล่นคนอื่นก่อน และลูกบอลจะต้องกลิ้งไปไม่น้อยกว่า 1 รอบ ลูกบอลจึงจะสมบูรณ์
ขณะจะทำการเตะโทษแล้วหมดเวลาการแข่งขัน ต้องเพิ่มเวลาสำหรับการเตะโทษ ณ จุดโทษ (ซ้ำไม่ได้)
กรณีละเมิดกติกาข้อนี้
ถ้าผู้เล่นฝ่ายรับละเมิดกติกา ให้เตะใหม่หากครั้งแรกเตะลูกบอลไม่เข้าประตู
ถ้าผู้เล่นฝ่ายรุกละเมิดกติกา นอกกจากผู้เตะครั้งแรกลูกบอลเข้าประตูก็ให้เตะใหม่
ถ้าผู้เตะโทษ ณ จุดเตะโทษกระทำผิดหลังจากลูกบอลอยู่ในการเล่นแล้ว ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะลูกโทษ 2 จังหวะ ณ ที่ซึ่งการละเมิดกติกาได้เกิดขึ้น
การทุ่ม

เมื่อลูกบอลได้ออกนอกสนามหรือลอยในอากาศก็ตาม ให้ทำการทุ่ม ณ ที่ซึ่งลูกบอลนั้นได้ผ่านเส้นข้างออกไป

ห้ามยกเท้าในขณะทุ่ม
ต้องหันหน้าเข้าสู่สนามในทิศทางที่จะทุ่ม
มือทั้งสองต้องปล่อยลูกบอลพร้อมกัน
ห้ามล้ำเส้น (เหยียบเส้นได้แต่ห้ามเปิดเท้าเกิดช่องว่างในสนาม)
ขณะทุ่มลูกบอลต้อยอยู่เหนือศรีษะและผ่านมาจากท้ายทอย ถ้าทุ่มผิดกติกาให้ฝ่ายตรงข้ามได้ทุ่ม
การเตะจากประตู

เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูไปนอกสนาม นอกจากจะผ่านเข้าระหว่างเสาประตูทั้งสองภายใต้คานประตู ไม่ว่าจะกลิ้งหรือลอยไปในอากาศก็ตาม ฝ่ายรับจะได้ตั้งเตะภายในเขตประตูตรงจุดใดก็ได้

ต้องเตะลูกบอลครั้งเดียวให้ออกนอกเขตโทษ ห้ามส่งให้ผู้รักษาประตูรับในเขตโทษ
เตะลูกบอลครั้งเดียวเข้าประตูฝ่ายตรงข้ามไม่นับว่าได้ประตู
ไม่มีการล้ำหน้า
ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามห้ามเย้ามาในเขตโทษของผู้ตั้งเตะจากเขตประตู
ถ้าผู้เล่นเตะลูกบอลตั้งเตะออกหลังเส้นประตูนอกเขตโทษตนเอง ให้ตั้งเตะใหม่
ถ้าผู้เตะลูกบอลตั้งเตะออกหลังเส้นประตูนอกเขตโทษของตนเอง ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะจากมุม
การเตะจากมุม

เมื่อลูกบอลได้ผ่านเส้นประตูไปนอกเขตสนาม โดยที่ฝ่ายรับเป็นผู้ถูกลูกบอลนั้นเป็นครั้งสุดท้าย ไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นดินหรือลอยในอากาศ นอกจากเข้าไปในประตู

ให้ฝ่ายรุกนำลูกบอลไปเตะในเขตมุม ณ มุมธงใกล้กับที่ลูกบอลออกไป
ห้ามทำให้เสาธงเคลื่อนที่
ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างผู้เตะไม่น้อยกว่า 10 หลา
ถ้าเตะลูกบอลครั้งเดียวเข้าประตู ถือว่าได้ประตู
เตะลูกบอลไปถูกคานหรือเสาประตูกระดอนกลับมา ห้ามผู้เตะเล่นซ้ำ
ผู้เตะจะเล่นลูกบอลซ้ำไม่ได้จนกว่าจะถูกผู้เล่นคนอื่นก่อน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น