วิธีการเพาะพันธุ์กบ

29.7.53

การคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์


พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์สามารถหาได้จากสองที่คือ จากธรรมชาติ และ ซื้อกบจากแหล่งที่เขาเลี้ยง
มีวิธีการพิจารณาดังนี้

การเลือกแม่พันธุ์กบที่ไข่แก่จัดที่ข้างลำตัวผิวหนังจะขรุขระส่วนท้องจะขยายใหญ่ ส่วนพ่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ ให้สังเกตที่เท้าจะมีปลายเท้าสีแดงและสาก

วิธีการเพาะพันธุ์กบ

การเลี้ยงพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์


1.ทำการแยกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เลี้ยงไว้ในบ่อต่างหาก ห้ามเลี้ยงปนกัน
2.ให้อาหารเช้า-เย็น
3.ทำความสะอาดบ่อและเปลี่ยนถ่ายน้ำเช้า-เย็น
4.มีวัสดุสำหรับปิดบ่อเพื่อป้องกันแสงสว่าง

เทคนิคการเลี้ยงกบแม่พันธุ์ให้ไข่


1.ให้อาหารเช้า-เย็น
2.ทำความสะอาดบ่อและเปลี่ยนถ่ายน้ำเช้า-เย็น
3.มีวัสดุสำหรับปิดบ่อเพื่อป้องกันแสงสว่าง
4.ทำการจำลองสภาพอากาศให้มีลักษณะให้เหมือนกับฤดูร้อน (เพราะกบจะไข่แก่จัดในช่วงนี้) โดยการเปิดไฟในบ่อกบตลอด 24 ชั่วโมง (หลอดไส้ขนาด 100 วัตต์ )

การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์





1. ล้างทำความสะอาดบ่อเพาะพันธุ์ก่อนที่จะทำการเพาะด้วยด่างทับทิมเข้มข้น 10 ppm แช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง จากนั้นล้างทำความสะอาดให้หมด

2. เติมน้ำสะอาดใส่บ่อให้ลึกประมาณ 5 - 7 ซม. และไม่ควรให้ระดับน้ำสูงเกินไปกว่านี้เพราะไม่สะดวกในการที่กบตัวผู้จะโอบรัดตัวเมียขณะที่กบตัวเมียเบ่งไข่ออกมาจากท้อง มันจะต้องใช้ขาหลังยันที่พื้น ถ้าน้ำลึกมากขาหลังจะยันพื้นไม่ถึงและจะลอยน้ำทำให้ไม่มีพลัง เป็นเหตุให้ไข่ออกมาไม่มาก

3. เตรียมฝนเทียม โดยทั่วไปกบจะจับคู่ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน แต่สำหรับการเพาะพันธุ์ เราจะทำให้เหมือนธรรมชาติ ด้วยวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งทำได้โดยการนำเอาท่อ PVC ขนาด 1/2 นิ้ว มาเจาะรูเล็กๆ ตามท่อต่อน้ำไปและให้น้ำไหลออกได้คล้ายฝนตก และนำท่อน้ำฝนเทียมนี้ไปพาดไว้บนปากบ่อหรือหลังคาคลุมบ่อและเปิดใช้เวลาที่จะทำการผสมพันธุ์กบ



การผสมพันธุ์


1.นำกบพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์มาใส่ในบ่อผสมในตอนเย็น
2.ทำการเปิดน้ำเป็นละอองให้คล้ายๆ กับฝนลงในบ่อประมาณ 2 ชั่วโมงหลังจากนั้นก็ให้ทำการปิดน้ำเพื่อให้กบผสมพันธุ์ (ระหว่างที่เปิดน้ำให้เคาะสังกะสีให้มีเสียงคล้ายๆฟ้าร้องไปด้วย)รอจนน้ำสูง 5 ซม. (โดยประมาณ)ปิดน้ำ กบจะทำการจับคู่ในช่วงตอนหัวค่ำและพร้อมจะวางไข่ในช่วงใกล้สว่าง
3.หลังจากกบวางไข่แล้วให้แยกกบพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ออก

การลำเลียงไข่กบจากบ่อผสมไปบ่ออนุบาล



1. หลังจากกบปล่อยไข่แล้วในตอนเช้าจะต้องทำการจับกบขึ้นไปใส่ไว้ในบ่อเดิม จากนั้นจะค่อยๆ ลดน้ำในบ่อลงโดยใช้วิธีเปิดวาวล์ที่ท่อระบายน้ำ และใช้สวิงผ้านิ่มๆ รองรับไข่ที่ไหลตามน้ำออกมาโดยขณะที่น้ำลดนั้นต้องคอยใช้สายยางฉีดน้ำไล่ไข่ออกมาโดยจะต้องทำเบาๆ และควรทำด้วยความระมัดระวังไม่ให้ไข่แตกและจะต้องทำการลำเลียงไข่ในตอนเช้า ขณะที่ไข่กบยังมีวุ้นเหนียวหุ้มอยู่

2. นำไข่ที่รวบรวมได้ไปใส่บ่ออนุบาลโดยใช้ถ้วยตวงตักไข่ โรยให้ทั่วๆ บ่อ แต่ต้องระวังไม่ให้ไข่กบซ้อนทับกันมาก เพราะจะทำให้ไข่เสียและไม่ฟักเป็นตัว เนื่องจากขาดออกซิเจน

3. ระดับน้ำที่ใช้ในการฟักไข่ประมาณ 7 - 10 ซม. ไข่จะฟักเป็นตัวภายใน 24 ชม.



การอนุบาลลูกกบ


การอนุบาลลูกกบแบ่งได้เป็นสองช่วงคือการอนุบาลลูกออ๊ดและการอนุบาลกบเล็ก

การอนุบาลลูกกบระยะแรก (ลูกอ๊อด)



การอนุบาลลูกออ๊ด

1. หลังจากไข่กบฟัก ออกมาเป็นตัวแล้วลูกกบจะมีลักษณะเหมือนลูกปลาให้รีบช้อน ลูกกบมาปล่อยลงเลี้ยงในบ่ออนุบาลระยะแรกก่อนที่ถุงไข่แดงที่ติดมากับตัวลูกกบจะยุบหมด ส่าหรับจำนวนลูกกบที่จะปล่อยนั้นประมาณ 2,000 ตัวต่อตารางเมตร
2. การให้อาหาร ได้แก่ไรแดงและอาหารปลาอย่างผงหรือไข่ตุ๋น ซึ่งควรเตรียมไว้ ก่อนในบ่อ พอถุงไข่แดงยุบลูกกบก็สามารถกินอาหารได้เลย
3. การถ่ายเทน้ำ ควรกระทำทุกวัน วันละ 50-70 เปอร์เช็นต์ของจำนวนน้ำในบ่อทั้งหมด
4. ควรให้อากาศกับน้ำ ด้วยเพื้อให้น้ำมีสภาพสะอาดจะทำให้ลูกกบกินอาหารได้มาก และเจริญเติบโตเร็ว
5. การเจริญเติบโตของลูกกบ หลังจากฟักออกจากไข่ประมาณ 1-2 อาทิตย์ จะมีขาหลัง 2 ขาโผล่ออกมาจากส่วนท้ายของลำตัวบริเวณโคนขา เมื่อขาหลังเจริญเต็มที่ก็จะมี ขาหน้าโผล่ออกมาอีกทั้ง 2 ข้างของช่องเหงือกทางด้านหน้าของลำตัว หางจะเริ่มหดสั้นลง ปากจะเริ่มสมบูรณ์ขึ้น สามารถขึ้นกินอาหารได้เช่นเดียวกับกบตัวโต ซึ่งระยะเวลาในการเจริญ เติบโตนี้จะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ แต่โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 25-35 วัน จากลูกอ๊อดมาเป็นกบเล็ก


การอนุบาลกบเล็ก


หลังจากลูกกบมีขาครบสมบูรณ์ดีแล้ว ต้องย้ายลูกกบไปเลี้ยงในบ่ออนุบาลระยะที่สอง เพื่อมิให้ลูกกบกัดกินกันเอง

การให้อาหาร

ลูกกบที่มีขาสมบูรณ์ จะเริ่มกินอาหารที่เคลือนไหวได้ เช่น ลูกกุ้ง ลูกปลา หนอนแมลงขนาดเล็ก แต่ถ้าไม่สามารถหาอาหารดังกล่าวได้ก็ให้อาหารพวกเครื้องในสับ เศษปลาสับหรือให้อาหารผสมด้วยโดยค่อย ๆ หัดให้ลูกกบกินและควรหัดให้ลูกกบกินอาหารที่หา ได้ง่ายและมีปริมาณที่แน่นอนเช่น อาหารเม็ด

การถ่ายเทน้ำ

อาหารที่ให้จะทำให้น้ำเสีย ควรเปลี่ยนน้ำบ่อย ๆ เพี่อปัองกันน้ำเสีย การรักษาคุณภาพของน้ำให้ดีอยู่เสมอ จะมีส่วนช่วยให้กบมีสุขภาพสมบูรณ์ ลูกกบระยะสองนี้ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 1 เดือน ควรคัดกบที่มีขนาดโตกว่านำไปเลี้ยงในบ่อเลี้ยงได้ เพราะลูกกบมีขนาดต่างกันหรือมีปริมาณหนาแน่นเกินไปก็จะกัดกินกันเอง

การอนุบาลกบเล็ก


READ MORE - วิธีการเพาะพันธุ์กบ

วิธีการเพาะเชื้อเห็ดฟางจากต้นกล้วย

24.7.53

วิธีการเพาะเชื้อเห้ดฟางจากต้นกล้วย



วัสดุอุปกรณ์



1. ต้นกล้วยสดหั่นตากแห้ง 1 กก .
2. ถุงพลาสติกชนิดใส ขนาด 6*9 นิ้ว 10 ใบ
3. มีดคัทเตอร์ 1 ด้าม
4. แอลกอฮอล์ฆ่าเชื ้อ 70% 1 ขวด
5. แก้วเปล่า 1 ใบ
6. เข็มเย็บกระดาษ 1 อัน
7. ดอกเห็ดฟางสด ( ดอกตู ม ) 1 ดอก
8. กระดาษที่สะอาด 1 แผ่ น
9. สำลี
10.น้ำสะอาดเล็กน้อย



วิธีทำ


1. นำต้นกล้วยสด และควรเป็นต้นกล้วยตัดใหม่ ๆ มาหั่นเป็นแว่น ๆ หนาประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ถ้าเป็นต้นกล้วยที่มีเครือแล้วให้เก็บส่วนของก้านเครือทิ้งให้หมดแล้วใช้มีดสับต้นกล้วยที่หั่นแล้วให้ละเอียดเล็กน้อยประมาณ 1 –2 เซนติเมตรนำไปตากแดดโดยมีแผ่นพลาสติกหรือวัสดุรองพื้นที่สะอาดเกลี่ยให้บาง ๆ ประมาณ 4-5 วัน ควรกลับกองกล้วยทุกวันจนต้นกล้วยแห้งสนิทจึงนำไปทำเชื้อเห็ดฟาง
2. นำ าต้นกล้วยที่แห้งแล้ววางบนพื้นซีเมนต์หรือบนแผ่นพลาสติก พรมด้วยน้ำ้สะอาดผสมคลุกเคล้าจนทั่วแล้วทำการตรวจสอบให้มี ความชื้นหมาด ๆ โดยการใช้มือกำต้นกล้วยแล้วบีบให้แน่น เมื่อคลายมืออกต้นกล้วยจะเป็นต้นเล็กต้นน้อย หรือรู้สึกชื้นมือ ถ้าบีบแล้วน้ำหยดหรือซึมออกตามง่ามมือแสดงว่าความชื้นมากเกิ นไปต้องผึ่งลมทิ้งไว้ให้ความชื้นระเหยไปประมาณ 1-2 ชั่วโมงถ้าความชื้นมากเกินไปเส้นใยเห็ดฟางจะไม่เจริญ
3. บรรจุต้นกล้วยลงในถุ งประมาณถุงละ 200 กรัม (ต้ นกล้วยแห้ง 1 กิโลกรัม บรรจุได้ประมาณ 15- 20 ถุง )
4. นำดอกเห็ดฟางสดมาทำความสะอาด โดยใช้มีดคัทเตอร์ตัดแต่ง บริเวณโคนดอกเห็ดฟางที่สกปรกหรือมีวัสดุเพาะติดโคนดอกมา ออกให้หมดควรทำอย่างระมัดระวัง อย่าให้ดอกเห็ดฟางกระทบกระเทือนหรือชอกช้ำมาก
5. เทแอลกอฮอล์ลงในแก้วประมาณ 1/2 แก้วแล้วนำดอกเห็ดฟางที่ตัดแต่งแล้วจุ่มลงไปจนมิดดอกเห็ดฟาง แล้วนำออกมาวางใน กระดาษที่่สะอาดปล่อยให้แอลกอฮอล์ระเหยออกจากดอกเห็ดฟาง จนแห้ง ( ห้ามนำดอกเห็ดฟางแช่ลงในแก้วแอลกอฮอล์แล้วแช่ ทิ้งไว้ )
6. นำสำลีจุ่่มแอลกอฮอล์ แล้วนำไปเช็ดถูทำความสะอาดใบมีดคัทเตอร์ ใช้มีดตัดส่ วนของดอกเห็ดฟางส่วนใดก็ได้อย่ างระมัดระวัง ขนาดประมาณ 1 ตารางเซนติเมตร หนาประมาณ 1 มิลลิ เมตร ใส่ลงไปในถุงที่บรรจุต้นกล้วยเตรียมไว้ ถุ งละ 1 ชิ้นทุกถุงเห็ดฟาง 1 ดอก ใช้ได้ประมาณ 10 ถุง
7. จับปากถุงแล้วเขย่าให้เนื้อเยื่อดอกเห็ดฟางอยู่ในบริเวณกึ่่งกลางถุงพอดี แล้วแนบปากถุงพับลงมา 2–3 ครั้ง เย็บปากถุงด้วยเข็มเย็บกระดาษ 2-3 ครั้ง
8. นำถุงเชื้อเห็ดฟางบรรจุลงในตะกร้าหรือลังไม้เรียงเป็นแถวทับซ้อนกันได้ไม่เกิน 2 ชั้ น แล้วนำไปบ่ มเชื้อในอุณหภูมิห้องปกติ (30 องศาเซลเซียส ) ประมาณ 10-15 วัน เส้นใยเห็ดฟางจะเจริญจนเต็มถุงจึงนำไปเพาะหรือนำไปต่อเชื้อเพื่อขยายให้มีปริมาณมากขึ้น
การทำเชื้อเห็ดฟางจากต้นกล้วย


ข้อดีของการใช้ต้นกล้วยทำเชื้อเห็ดฟาง


1.เป็นวัสดุที่หาง่าย
2.ต้นทุนต่ำ
3.ทำง่าย
4.ปลอดเชื้อจุลินทรีย์
5.สามารถคัดเลือกสายพันธ์ได้เอง
6.เส้นใยแข็งแรงสมบูรณ์และให้ผลผลิตที่ดี


การทำเชื้อเห็ดฟาง




READ MORE - วิธีการเพาะเชื้อเห็ดฟางจากต้นกล้วย

HP Quick Launch Buttons

21.7.53

driver key board


HP Quick Launch Buttons
2009-12-09 , Version:6.50.12.1, 24.56M
เป็นโปรแกรมที่ใช้ลงเพื่อซับพอร์ทระบบปฏิบัติการและเป็น driver keyboard ของ note book pc ยี่ห้อ HP compaq
รองรับระบบปฏิบัติการ windows 7,windows vista,และ windows xp

Down load >>>>


READ MORE - HP Quick Launch Buttons

Any Video Converter 3.04

โปรแกรมแปลงไฟล์วิดีโอ

Any Video Converter 3.04


ประเภท : Freeware
ระบบปฏิบัติการ : Windows (All)
ผู้ผลิต : http://www.any-video-converter.com/
ขนาด : 15.88 mb

ใช้แปลงไฟล์วิดีโอสามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรี

Down load >>>>


READ MORE - Any Video Converter 3.04

วิธีการทำปลาเผาให้อร่อย

19.7.53

วิธีการทำปลาเผาให้อร่อย
วัสดุอุปกรณ์
1.ปลา
2.ตะไคร้
3.ใบมะกรูด
4.ใบเตย
5.เกลือ

วิธีทำ
ให้นำปลาไปผ่าเอาไส้ออกไม่ต้องขอดเกล็ดแล้วนำตะไคร้(ส่วนที่เป็นต้น)เอาไปแนบกับใบมะกรูดแล้วใช้ใบเตยและใบตะไคร้พันรอบจากนั้นนำไปยัดในท้องปลาหลังจากนั้นนำปลาไปทาเกลือโดยการทาต้องทาสวนเกล็ดขึ้นมาเพื่อจะได้เข้าถึงเนื้อปลาจากนั้นนำไปเผาไฟโดยเผาด้วยไฟอ่อนๆปลาจะได้สุก

วิธีการทำน้ำจิ้มพริกเผา
ให้นำพริกลูกที่ไม่แดงเอาลูกสดๆไปเผาไปเผาหัวหอมแดงและกระเทียมด้วยจากนั้นนำทั้งหมดมาโขลกในครกใส่น้ำปลาชูรสผสมน้ำร้อนนิดใสเกลือหน่อยบีบน้ำมะนาวสดๆใส่

*ทั้งหมดนี้เป็นสูตรดั้งเดิมที่ผมทำกินประจำครับ คราวหน้าจะเอาวิธีการทำเมี่ยงปลามาเสนอครับ ขอให้อร่อยกับปลาเผารสเด็ดครับ
READ MORE - วิธีการทำปลาเผาให้อร่อย

วิธีการทำโรตีกล้วยหอม

18.7.53

วันนี้ไปเที่ยว ม. อุบล มา พอดีผ่านไปแถวๆหน้ามอ เพื่อนพาไปลองชิมโรตีกล้วยหอม อร่อยอย่าบอกใครเลยแหละ คนน่ะเข้าร้านตรึมต้องต่อคิวกันยาว



สูตรที่ป้าแกทำง่ายๆนะแต่อร่อย จะลองไปทำดูก้อได้นะครับ

ขั้นตอนการเตรียมแป้ง


อุปกรณ์/เครื่องใช้


วิธีการทำโรตีกล้วยหอม

1. ตาชั่งสำหรับชั่งแป้ง 6. กระทะสำหรับทอดโรตี
2. ช้อนตวง 7. กะละมังสำหรับผสม
3. ถ้วยตวง 8. ที่ร่อนแป้ง
4. ไม้ตีไข่ 9. เตาแก๊สหรือเตาถ่าน
5. ตะหลิว

ส่วนผสม


1. แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1 กิโลกรัม
2. น้ำสะอาด 2 ถ้วยตวง
3. มาการีน 1 ช้อนโต๊ะ
4. ไข่ไก่ฟองเล็ก 2 ฟอง
5. นมข้นหวาน 2 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
7. เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีผสมแป้ง


1. ผสมน้ำ น้ำตาลทราย เกลือป่น นมข้นหวาน และไข่ไก่ ลงในภาชนะผสม
2. คนให้ส่วนผสมเข้ากันด้วยไม้ตีไข่
3. ใส่แป้งสาลีที่ร่อนแล้วลงไป
4. ใช้มือขยำให้ส่วนผสมเข้ากัน ถ้าแป้งแห้งเติมน้ำสะอาดได้เล็กน้อยจนรู้สึกว่าแป้งนุ่ม
5. นำแป้งมานวดบนโต๊ะและใส่มาการีน
6. แป้งที่นวดได้ที่แล้วจะมีลักษณะเนียน
7. นำมาปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ให้มีขนาดเท่า ๆ กัน ส่วนผสมนี้จะได้ประมาณ 40-60 ก้อน แล้วแต่ขนาดของก้อน
8. ทาด้วยมาการีนหรือน้ำมันพืช
9. คลุมด้วยพลาสติก หมักไว้ประมาณ 15 นาที จึงนำมาตีเป็นแผ่น

ขั้นตอนการทอดโรตีกล้วยหอม


1.นำไข่ไก่มากระเทาะเปลือกลงในชามเล็กๆ
2.นำกล้วยหอมมาปลอกเปือกแล้วหั่นเป็นชิ้นๆพอดีคำ
3.ตีไข่และกล้วยให้เข้ากัน


4.ตีแป้งให้เป็นแผ่น
วิธีการทำโรตีกล้วยหอม

5.นำเนยใส่ลงในกระทะเพื่อทอด
6.เอาแป้งลงทอด
7.เทส่วนผสมของกล้วยและไข่ลง


8.เมื่อได้ที่ก็เร่มห่อและพลิก




9.เมื่อสุกตักออกและมาหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ
10.ราดด้วยนมข้นหวาน



เสร็จละน่ากินป่ะ














READ MORE - วิธีการทำโรตีกล้วยหอม

วิธีการใช้ตะไคร้รักษาผมแห้งแตกปลาย

14.7.53

เป็นวิธีธรรมชาติที่ใช้ได้จริง การใช้ตะไคร้รักษาผมเสีย ไม่ให้ผมแห้ง แตกปลาย




วิธีการทำ





ให้ใช้ตะไคร้ 2-3 ต้น นำมาโขลกให้ละเอียดแล้ว

กรองเอาแต่น้ำๆ

หลังจากสระผมสะอาดดีแล้ว ให้นำน้ำตะไคร้มาชะโลม

และนวดให้ทั่วศีรษะ

ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที จึงค่อยล้างออก



ทำเป็นประจำสักสัปดาห์ละครั้ง ติดต่อเป็นระยะเวลา 2 เดือน

รับรองได้ว่าปัญหาผมแตกปลายจะไม่ใช่ปัญหาน่า รำคาญใจอีกต่อไปครับ

READ MORE - วิธีการใช้ตะไคร้รักษาผมแห้งแตกปลาย

วิธีการทำต้มแซบเนื้อ



วัสดุอุปกรณ์


1. เนื้อวัวปนเอ็นหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ 1 ถ้วยตวง

2. พริกขี้หนู 10 - 15 เม็ด (ปรับเพิ่ม/ลด ตามความชอบ)

3.ตะไคร้ 2 ต้น (ทุบและหั่นเป็นท่อน)

4.ข่าอ่อน 6 แว่น

5.ใบมะกรูด 6 ใบ

6.ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ 3 ต้น

7.น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ

8.น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ

9.ข้าวคั่ว 3 ช้อนโต๊ะ (โขลกให้ละเอียด)

10.น้ำซุป 3 ถ้วยตวง

11. ชีหอมและต้นหอมหั่น

วิธีทำต้มแซบเนื้อ


1. ตั้งน้ำซุปในหม้อบนไฟร้อนปานกลาง เมื่อน้ำเดือดใส่ตะไคร้, ข่าอ่อน และใบมะกรูด (ฉีกแล้วใส่ลงไปในน้ำซุป) รอจนน้ำซุปเดือดอีกครั้ง แล้วลดไฟลง

2. ใส่เนื้อวัวลงไป เคี่ยวด้วยไฟอ่อนจนเนื้อวัวสุกและนุ่ม (ใช้เวลาอย่างน้อย 15 นาที)

3. เมื่อเคี่ยวจนเนื้อนุ่มและน้ำซุปเริ่มงวดลง ปรุงรสด้วย น้ำมะนาว, น้ำปลาและ พริกขี้หนู จากนั้นจึงใส่ผักชีฝรั่งและข้าวคั่วลงไป ต้มต่อจนน้ำซุปเริ่มเดือดอีกครั้ง จึงปิดไฟ

4. ตักใส่ถ้วย โรยด้วยต้นหอมและผักชีหั่นเพื่อความหอม


READ MORE - วิธีการทำต้มแซบเนื้อ

วิธีการเลี้ยงปลาทับทิม

ปลาทับทิมจึงเป็นปลาซึ่งเกษตรกรผู้มีทุนน้อยสามารถเลี้ยงได้ในเชิงเศรษฐกิจ ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาด เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป ร้านอาหาร โต๊ะจีน ต่างนิยมนำปลาทับทิมมาทำเป็นอาหาร

ลักษณะของปลาทับทิม





1. เส้นใยเนื้อละเอียดแน่นจึงมีรสชาติดีและปราศจากกลิ่น

2. มีไขมันต่ำมากจึงปราศจากกลิ่นที่เกิดจากไขมันในตัวปลา และเป็นไขมันไม่อิ่มตัวที่มีประโยชน์

3. ปริมาณเนื้อบริโภคได้ต่อน้ำหนักสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ และมีส่วนสันหนามาก

4. ส่วนหัวเล็ก โครงกระดูกเล็ก ก้างน้อย

5. ผิวมีสีแดงอมชมพู เนื้อทุกส่วนสีขาวทำให้น่ารับประทาน

6. เจริญเติบโตในความเค็มสูงถึง 25 ppt

7. อัตราการเจริญเติบโตเร็วมาก

8. การกินอาหารเก่ง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีความต้านทานต่อโรคสัตว์น้ำต่างๆ ได้ดี

9. สามารถเลี้ยงในกระชังมีความหนาแน่นสูงได้ โดยไม่มีผลเสียต่อปลา ให้ผลผลิตเฉลี่ย 40 กิโลกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร


ประวัติความเป็นมาของปลาทับทิม





ประเทศไทยได้กำเนิดปลานิลสีแดง ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์มาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง ปลานิล กับ ปลาหมอเทศ ซึ่งนอกจากสีภายนอกที่แตกต่างจากปลานิลธรรมดาแล้ว ภายในตัวปลาที่ผนังช่องท้องยังเป็นสีขาวเงิน คล้ายผนังช่องท้องของปลากินเนื้อและสีของเนื้อปลาเป็นสีขาวชมพูคล้ายเนื้อปลาทะเล

ที่เรียกว่า ปลานิลแดง ซึ่งแท้ที่จริงแล้วคือ ลูกปลานิลธรรมดาที่เกิดการกลายพันธุ์ โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสีของลำตัวเท่านั้น แต่ยังคงรูปร่างของปลานิลไว้เช่นเดิม แต่ลูกที่ผิดพ่อผิดแม่ของปลานิลชนิดนี้ กลับมีผลในทางบวกหรือมีผลดีแก่ตัวของมันเองนะคะ คือเป็นปลาที่มีสีสวย เป็นสีชมพูอมแดง ซึ่งปลานิลแดงนี้ สามารถนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้

เมื่อนำปลานิลแดงมาประกอบอาหารแล้ว พบว่าปลานิลแดงกลับให้รสชาติและคุณภาพสูงกว่าปลานิลธรรมดา ปลานิลแดงที่กำเนิดในเมืองไทยนั้น พบครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2511 ที่สถานีประมงน้ำจืดอุบลราชธานี แต่ลักษณะสีของลำตัวปลายังไม่เด่นชัดนัก โดยเฉพาะที่ส่วนหัวยังมีสีกระดำกระด่าง และอาศัยปะปนอยู่กับฝูงปลานิลธรรมดา ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์จนกลายเป็นปลานิลแดงที่มีสีสันนิ่งขึ้น

เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2527 คุณวนิช วารีกุล อธิบดีกรมประมงในขณะนั้น ได้น้อมเกล้าฯ ถวายลูกปลานิลแดง 810 ตัว แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์ทรงเลี้ยงไว้ในบ่อวังสวนจิตรลดา ใช้เวลาเพียง 3 เดือน ก็ทรงพระราชทานลูกปลานิลแดง จำนวน 14,509 ตัว คืนแก่กรมประมงเพื่อนำไปเลี้ยงขยายพันธุ์ต่อไป


เคล็ดลับในการเลี้ยงปลาทับทิม






วิธีดำเนินการ :
1. สถานที่ในการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง ควรเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ ความลึกไม่ต่ำกว่า 3 เมตร มีน้ำไหลตลอดเวลา ไม่มีชุมชนหรือโรงงานอุตสาหกรรมในบริเวณนั้น ควรอยู่ไกลจากปากอ่าวทะเลอย่างน้อย 20 กิโลเมตร เพื่อไม่ให้น้ำมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพมากเกินไป
2. กระชัง ขนาด 3 X 3 เมตร สามารถปล่อยพันธุ์ปลาได้ 800 –1,000 ตัว
3. อาหารของปลาทับทิมเป็นอาหารสำเร็จรูป
4. เมื่อเลี้ยงปลาทับทิม ครบ 4 เดือน ปลาทับทิมจะมีขนาดน้ำหนักอยู่ที่ 5-7 ขีด/ตัว ซึ่งจะจับจำหน่ายได้ (ปลา 1 กระชัง น้ำหนักประมาณ 400 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 50 – 70 บาท)





ขั้นตอนการเลี้ยงปลาทับทิมให้ได้ผลดี






1. จัดเตรียมกระชังปลาสำหรับเลี้ยงปลา ระยะเวลา 4 เดือน เดือนแรก 4 กระชัง เดือนที่สอง 4 กระชัง เดือนที่สาม 4 กระชัง เดือนที่สี่ 4 กระชัง รวมแล้ว 16 กระชัง (เป็นการเลี้ยงครบวงจรดูรายละเอียดการเลี้ยง)

2. เตรียมพันธุ์ปลาทับทิม ลูกปลาทับทิม ที่ยังไม่ได้รับการอนุบาล จะตกราคาตัวละ 50 สตางค์ แต่มีอัตราการเสี่ยงสูง เพราะเมื่อเลี้ยงแล้วจะมีอัตราการตายสูงถึง 60%

3. เตรียมพันธุ์ปลาทับทิม ลูกปลาทับทิม ที่ได้รับการอนุบาลแล้วคือ มีอายุ ประมาณ 2 เดือน น้ำหนักตัวอยู่ที่ 35-40 กรัม ราคาตัวละ 3.50 บาท (ผู้เขียนแนะนำให้ใช้ลูกปลาที่ผ่านการอนุบาลแล้วลดอัตราการเสี่ยง เพราะจะเสียหายเพียง 5-6% เท่านั้น) เมื่อเตรียมพันธุ์ปลาแล้ว (สามารถติดต่อซื้อลูกปลาได้แล้วและกำหนดวันส่งอย่างแน่นอน)

1. นำกระชังปลาที่เตรียมไว้ จำนวน 4 กระชัง ลงน้ำ ไว้เพื่อให้กระชังสร้างความสมดุลกับน้ำและหาข้อบกพร่องของกระชัง ไม่ว่าจะเป็นทุ่นตะแกรง เพราะเมื่อนำลูกปลาลงเลี้ยงแล้ว จะแก้ไขไม่ได้

2. นำลูกปลาที่ผ่านการอนุบาลแล้ว (อายุ 2 เดือน น้ำหนักอยู่ที่ 35-40 กรัม ราคาตัวละ ประมาณ 3.50 บาท) จำนวน 950 ตัว ต่อหนึ่งกระชัง ลงทั้งหมด 4 กระชัง ในวันแรกของการลงลูกปลา หลังจากที่ลูกปลาสามารถปรับสภาพกับน้ำได้แล้ว ให้นำยาปฏิชีวนะ วิตามิน ผสมในอาหารสำเร็จรูป สูตร 9950 เป็นเวลา 7 วัน วันละ 4 ครั้ง คือเวลา 08.00 น. - 11.00 น. - 13.30 น. - 16.30 น. (ไม่ให้เลยเวลาของลูกจ้าง ถ้าเกษตรกรเลี้ยงเอง สามารถยืดเวลาออกไปได้อีก) ให้ดูน้ำหนักของลูกปลาจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 4% (น้ำหนักอยู่ที่ 50-55 กรัม)

3. หลังจากเลี้ยงได้ 7 วันแล้ว ให้อาหารสำเร็จรูปสูตร 9950 โดยไม่ต้องผสมยาปฏิชีวนะและวิตามิน ใช้เวลา 15-20 อัตราการเจริญเติบโตของปลาอยู่ที่ 100-120 กรัม (จากวันที่ลงลูกปลา)

4. หลังจากเลี้ยงได้ประมาณ 1 เดือน ให้เปลี่ยนอาหารสำเร็จรูป สูตร 9951 โดยไม่ต้องผสมยาและวิตามิน ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 60 วัน อัตราการเจริญเติบโตของปลา อยู่ที่ 400-500 กรัม

5. ระยะเดือนสุดท้าย ให้เปลี่ยนอาหารสำเร็จรูป สูตร 9952 โดยไม่ต้องผสมยาและวิตามิน น้ำหนักปลาอยู่ที่ 800 กรัม (เป็นน้ำหนักมาตรฐาน) ซึ่งสามารถจับขายได้ ระยะเวลาการเลี้ยงตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงเวลาจับขาย ใช้เวลาทั้งสิ้น 4 เดือน (120 วัน)

วิดีโอเกี่ยวกับปลาทับทิม


5 นาที.ที่เมืองตรัง ตอนปลาทับทิม








ตลาด/แหล่งจำหน่าย :

ตลาด สะพานปลา หรือทางบริษัทกรุงเทพฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำกัด เป็นผู้รับซื้อ

สถานที่ให้คำปรึกษา :

บริษัท กรุงเทพฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำกัด โทร. 02-706-0487–98, 673-1128-9 , 673-1064

แหล่งจำหน่ายพันธุ์ปลา/อาหาร :

บริษัทกรุงเทพฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำกัด โทร. 706-0487-98, 673-1128 – 9 (บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งได้จดลิขสิทธิ์สายพันธุ์ปลาทับทิมไว้)
READ MORE - วิธีการเลี้ยงปลาทับทิม

วิธีการเลี้ยงปลานิลหมัน

12.7.53

ปลานิลหมัน เป็นปลาที่ถูกแปลงเพศ เพื่อที่จะให้ได้ปลานิลที่มีตัวโตกว่าปลานิลทั่วๆไป เลี้ยงง่าย โตเร็ว ไม่เป็นโรค พ่อพันธุ์มาจากสถาบันวิจัย และพัฒนาพันธุ์กรมสัตว์น้ำของกรมประมง และได้พัฒนาจนเป็นปลาที่ไม่มีโรค

ปลานิล เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบบริเวณลุ่มน้ำไนล์ ในบริเวณแอฟริกาตะวันออก จนถึงบริเวณลุ่มน้ำไนล์ตะวันตก บริเวณลุ่มน้ำเซเนกัลและไนเจอร์

ปลานิล เป็นพี่น้องร่วมตระกูลกับปลาหมอเทศที่เรารู้จักกันดีคือ ตระกูล Tilapia ด้วยเหตุนี้ชื่อวิทยาศาสตร์ของปลานิลจึงมีชื่อว่า Tilapia niloticus ซึ่งบ่งบอกถึงลุ่มน้ำไนล์อันเป็นถิ่นกำเนิดอยู่ด้วย แต่ต่อมาด้วยเหตุผลทางด้านวิชาการบางประการ ปลานิลจึงมีชื่อใหม่เป็น Oreocromis niloticus แต่ก็ยังมีชื่อของลุ่มน้ำไนล์ติดอยู่เหมือนเดิม
วิธีการเลี้ยงปลานิลหมัน

ปลานิล เป็นปลาที่มีศักยภาพในด้านการเพาะเลี้ยงอยู่สูงมาก คือมีเนื้ออร่อยกว่าปลาน้ำจืดชนิดอื่นหลายชนิด สามารถกินอาหารธรรมชาติได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ มีความสามารถสูงในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี คือ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในอุณหภูมิน้ำ 10-40 องศาเซลเซียส และสามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพที่ถูกกักขังในที่แคบ เช่น บ่อเลี้ยงหรือกระชังได้ และสามารถเจริญเติบโตได้ดีเหมือนในธรรมชาติ

ด้วย คุณสมบัติดังกล่าว ปลานิล จึงถูกนำมาเพาะเลี้ยงในบ่อและกระชังในหลายประเทศเกือบทั่วโลก ยกเว้นประเทศที่มีอุณหภูมิหนาวจัดเท่านั้น เพราะปลานิลสามารถเข้ามาทดแทนความขาดแคลนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ในบางประเทศที่ แห้งแล้งทุรกันดารได้เป็นอย่างดี จนได้ชื่อว่า “Aquatic Chicken” ปลานิล จึงกลายเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงในเกือบทุกประเทศ และเป็นปลาที่มีการเพาะเลี้ยงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทยและของโลกด้วย

ปลานิลถูกนำเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นครั้ง แรกโดยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิอากิฮิโต แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ทรงจัดส่งปลานิลมาทูลฯถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2508 จำนวน 50 ตัว ในระยะแรกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ในบริเวณพระตำหนักสวนจิตรลดา พระราชวังสวนดุสิต ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปเลี้ยงในบ่อดิน และได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ขุดบ่อดินเพิ่มขึ้นเพื่อขยายพันธุ์ปลานิลให้มากขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่ของกรมประมงมาคอยตรวจสอบการเจริญเติบโตเป็นประจำทุกเดือน

เมื่อ เลี้ยงปลานิลและขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นทุกทีจนครบ 1 ปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลูกปลานิล ขนาดความยาว 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้กรมประมงไปเลี้ยงและขยายพันธุ์เพิ่มต่อไป และได้ทรงประทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า “ปลานิล” ซึ่งคำว่า “นิล” นั้น นอกจากจะมีความหมายว่าเป็นอัญมณีที่มีค่าแล้ว ยังบ่งบอกถึงถิ่นกำเนิดของปลาชนิดนี้คือ แม่น้ำไนล์ (Nile) อีกด้วย

บทบาทด้านเศรษฐกิจของปลานิลในประเทศไทย



เมื่อ กรมประมงได้รับพระราชทานปลานิลมาแล้ว ก็ได้เร่งขยายพันธุ์ปลานิลตามสถานีประมงต่างๆ ทั่วประเทศอีก 15 แห่ง เพื่อขยายพันธุ์ไว้แจกจ่ายเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2510 เป็นต้นมา นับจำนวนได้หลายล้านตัว

ส่วนปลานิลที่คงเหลืออยู่ในบ่อวัง สวนจิตรลดา พระองค์ได้ทรงใช้ในการผลิตพันธุ์ปลานิลต่อมาโดยตลอด จนได้ปลานิลสายพันธุ์แท้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกและพากันเรียกว่า “ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา” (Chitrada Strain) ซึ่งนับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อวงการเพาะเลี้ยงปลานิลทั่วโลก


นับ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา การเพาะเลี้ยงปลานิลในประเทศไทยได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีโดยไม่หยุดยั้ง ทั้งนี้เพราะปลานิลเป็นปลาที่คนไทยนิยมบริโภคกันทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ขาดแคลนปลาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ดังนั้น ในช่วงแรกของการเพาะเลี้ยงปลานิลจนถึงช่วงกลางคือ พ.ศ. 2535 การบริโภคภายในประเทศจึงเป็นตลาดสำคัญของการเพาะเลี้ยงปลานิลในประเทศไทย หลังจากนั้นการส่งออกปลานิลจึงเริ่มเกิดขึ้นและเติบโตในอัตราที่ค่อนข้างสูง มาโดยตลอด

ในขณะที่การเพาะเลี้ยงปลานิลมีการเติบโตในอัตรา ที่ค่อนข้างสูงโดยตลอด กรมประมงจึงต้องเตรียมการรองรับการขยายตัวดังกล่าวด้วยการปรับปรุงพันธุ์ปลา นิลให้มีรูปร่างและคุณสมบัติด้านต่างๆ ให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งได้สายพันธุ์ที่ชื่อว่า “จิตรลดา 3″ ในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งมีลักษณะเด่นประจำสายพันธุ์ คือ

1. เพศ เป็นเพศผู้และเพศเมีย

2. รูปร่าง ส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สันหนา

3. ผลผลิต ให้เนื้อสูงกว่าปลานิลพันธุ์ปกติ ร้อยละ 40

4. อัตรารอด สูงกว่าปลานิลพันธุ์ปกติ ร้อยละ 24

ใน ปัจจุบันนี้ ปลานิลพันธุ์จิตรลดา 3 นี่เองที่เป็นปลาพื้นฐานของการเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อส่งออก โดยนำลูกปลาจิตรลดา 3 มาแปลงเพศด้วยการให้กินฮอร์โมนตั้งแต่ถุงไข่แดงเริ่มยุบ จนกระทั่งลูกปลานิลมีอายุ 3-4 สัปดาห์ เพื่อแปลงเพศเมียให้เป็นเพศผู้ทั้งหมด เพราะปลานิลเป็นปลาที่เพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าและโตเร็วกว่าเพศเมีย รวมทั้งป้องกันการผสมพันธุ์ไม่ให้เกิดลูกปลานิลแน่นบ่ออีกด้วย

วิธีการเลี้ยงปลานิลหมัน




การเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน






มีการเลี้ยงแล้วย้ายลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อใหม่อีก 2 ครั้งคือ ครั้งแรกเมื่อเตรียมบ่อดิน ตากบ่อให้แห้งอย่างน้อย 3 วัน แล้วใส่ปูนขาวเพื่อฆ่าเชื้อโรค และปรับคุณภาพน้ำแล้วสูบน้ำเข้าบ่อโดยผ่านการกรองน้ำ เพื่อป้องกันศัตรูทางธรรมชาติอย่างรอบคอบแล้วปล่อยลูกปลานิลแปลงเพศ ขนาดเท่าใบมะขาม ลงเลี้ยงในบ่อ ประมาณ 20,000 ตัว ต่อไร่ ใช้อาหารที่มีระดับโปรตีนสูง 40% ในอัตราประมาณ 20% ของน้ำหนักปลา วันละ 5 มื้อ

เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 45 วัน ลูกปลามีน้ำหนักตัวละ 15-20 กรัม ก็ย้ายลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อใหม่ที่เตรียมไว้อย่างดีแล้ว ในอัตรา 15,000 ตัว ต่อไร่ โดยเรียกว่า การเลี้ยงปลานิลรุ่น โดยให้อาหารที่มีโปรตีนน้อยลง คือประมาณ 32% โดยให้อาหาร 3-5% ของน้ำหนักตัวปลา เมื่อเลี้ยงไปได้ 60-75 วัน จะได้ลูกปลาขนาดน้ำหนักตัว ประมาณ 100 กรัม ก็จะย้ายลูกปลาไปเลี้ยงในบ่อใหม่ ในอัตรา 4,000-5,000 ตัว ต่อไร่ เรียกว่าการเลี้ยงปลาใหญ่ ให้อาหารที่มีระดับโปรตีน ประมาณ 28% ในอัตรา 2-3% ของน้ำหนักตัวต่อวัน

ซึ่งการเลี้ยงในบ่อนี้ ควรมีกังหันตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนในตอนกลางคืนด้วย เลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 5-6 เดือน จะได้ปลานิลขนาดน้ำหนัก 800-1,000 กรัม ก็จับขายได้



การเลี้ยงปลานิลในกระชัง



การเลี้ยงปลานิลในกระชัง

การเลี้ยงปลานิลในกระชัง จำเป็นต้องคัดเลือกแหล่งน้ำที่จะใช้ลอยกระชังให้เหมาะสม ดังนี้

1. เป็นแหล่งน้ำที่มีน้ำเพียงพอตลอดปีจะเป็นแหล่งน้ำเปิด คือ แม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำปิด เช่น อ่างเก็บน้ำก็ได้

2. มีความลึกได้น้อยกว่า 4 เมตร เพื่อให้สามารถลอยกระชัง ให้ก้นกระชังอยู่สูงกว่าก้นคลองได้ไม่น้อยกว่า 1 เมตร เพื่อให้กระแสน้ำไหลผ่านได้สะดวก

3. เป็นแหล่งน้ำที่มีน้ำค่อนข้างใส และมี pH ประมาณ 6.5-8.0 และค่าออกซิเจนในน้ำมีไม่น้อยกว่า 5 ppm.

4. ควรเป็นบริเวณโล่งแจ้ง มีวัชพืชในน้ำน้อยหรือไม่มีเลย

5. ไม่ขัดต่อกฎหมายกรมประมง

6. การคมนาคมสะดวก

7. ห่างไกลจากแหล่งน้ำเสียและชุมชนแออัด

รูปแบบกระชังปลานิลที่นิยมในปัจจุบัน

กระชังไม้

ไม่ ว่าจะเป็นไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็ง ส่วนใหญ่จะใช้ในแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลไม่แรงนัก ขนาดที่นิยมใช้ ได้แก่ 3x3x2 เมตร และ 4x6x3 เมตร

ข้อดี คือ ต้นทุนต่ำ

ข้อเสีย คือ อายุการใช้งานสั้น ประมาณ 2-5 ปี

กระชังเหล็ก

นิยมใช้กันในแหล่งน้ำปิด หรือแหล่งน้ำเปิดที่มีกระแสไหลเชี่ยว ขนาดที่นิยมคือ 3x3x1.5 เมตร และ 4x6x2 เมตร

ข้อดี คือ อายุการใช้งานยาว

ข้อเสีย คือ ต้นทุนสร้างกระชังสูง

วิธีเลี้ยงปลานิลในกระชัง

ปล่อยลูกปลาแปลงเพศ ขนาดตั้งแต่ น้ำหนัก 30-40 กรัม ต่อตัว ในอัตราเฉลี่ยประมาณ 100 ตัว ต่อ 1 ตารางเมตร

อาหารและการให้อาหารปลานิล

ใช้อาหารที่มีระดับโปรตีนประมาณ 28-30% เลี้ยงวันละ 3 มื้อ ในสัดส่วนประมาณ 5-6% ของน้ำหนักปลา หรือคอยสังเกตการกินอาหารของปลาในขณะให้อาหาร ถ้าหว่านอาหารลงไปแล้วปลาสามารถกินได้หมดภายใน 5-8 นาที ก็หยุดให้ เมื่อเลี้ยงไปได้ประมาณ 45 วัน จึงปรับอาหารให้มีโปรตีนต่ำลง ให้วันละ 3 มื้อ ประมาณ 3-5% ของน้ำหนักตัวไปอีก 1 เดือน จึงปรับเปลี่ยนอาหารที่มีระดับโปรตีนต่ำลงอีก 2-3% โดยให้วันละ 2-4 มื้อ เรื่อยไปจนปลาได้ขนาด 800-1,000 กรัม จึงจับขาย


ต้นทุนการเลี้ยงปลานิล

1. ค่ากระชังพร้อมแพ 5,500-6,000 บาท

(คิดค่าเสื่อมราคาต่อรอบการเลี้ยง 600 บาท)

2. ค่าพันธุ์ปลา 1,000 ตัวx3 บาท 3,600 บาท

3. ค่าอาหาร 26,600-30,400 บาท

4. อื่นๆ ประมาณ 1,000 บาท

รวมต้นทุนการเลี้ยงต่อรอบ 31,800-35,600 บาท

รวมต้นทุนตั้งแต่เริ่มเลี้ยง 36,700-41,500 บาท

ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ

ได้ปลา 1,000 กิโลกรัมx38 บาท ต่อกระชัง 38,000 บาท

หักต้นทุน 31,800-35,600 บาท กำไร 6,250-2,400 บาท







READ MORE - วิธีการเลี้ยงปลานิลหมัน

วิธีการทำนาฬิกาโหลแก้ว

3.7.53

วิธีการทำนาฬิกาโหลแก้ว
วัสดุอุปกรณ์
1. โหลแก้วทรงต่าง ๆ จะต้องเป็นโหลที่ใหญ่พอที่จะใส่เครื่องนาฬิกาเข้าไปได้
2.เครื่องนาฬิกา จะใช้ 2 แบบ คือแบบที่เดินธรรมดา กับแบบที่มีตุ้มแกว่งได้...
3.วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ประดิษฐ์ตกแต่ง, ซิลิโคน, แผ่นไม้อัด เป็นต้น

วิธีการทำ
ขั้นตอนการทำเริ่มจาก... ออกแบบชิ้นงานที่จะทำ จะได้รู้ว่าจะตกแต่งให้เป็นรูปแบบไหน จากนั้นก็เลือกหาวัสดุที่ต้องใช้ในการตกแต่ง เมื่อได้แบบและวัสดุตกแต่งก็ลงมือทำโดยเริ่มจากนำโหลแก้วไปล้างทำความสะอาด ตากแดดให้แห้งสนิท จากนั้นก็มาทำการขึ้นแบบหน้านาฬิกา โดยใช้แผ่นไม้อัดตัดเป็นรูปทรงตามแบบที่ออกแบบไว้ แล้วเจาะรูติดเครื่องนาฬิกาเข้าไป โดยแผ่นไม้จะต้องใหญ่พอที่จะบังเครื่องนาฬิกาไว้ได้ ทำการตกแต่งแบบหน้าของนาฬิกาตามไอเดีย เช่น ถ้าออกแบบเป็นแนวทะเลก็อาจจะใช้พวกทราย เปลือกหอย มาตกแต่ง ตรงนี้อยู่ที่ไอเดียของแต่ละคน เมื่อตกแต่งเสร็จก็นำไปยึดติดกับฝาของโหลแก้ว ยึดนอตให้แน่น

ลำดับถัดไปก็เป็นการตกแต่งภายในโหลแก้วตามแบบที่ต้องการ โดยวัสดุที่ใช้ตกแต่งจะต้องยึดติดด้วยซิลิโคนเพื่อให้ติดแน่นไม่หลุด เมื่อตกแต่งเสร็จก็นำฝาที่มีเครื่องนาฬิกามาปิด เท่านี้ก็เรียบร้อย

“การติดเครื่องนาฬิกามีเคล็ดลับที่ทำให้นาฬิกาเดินตรงคือ ติดเครื่องนาฬิกาแล้วต้องจับเข็มนาฬิกาให้อยู่ที่เวลาเที่ยงตรงก่อน จากนั้นจึงตั้งเวลาตามจริง นาฬิกาก็จะเดินได้ตรง”
วิธีการทำนาฬิกาแฮนด์เมด

ไขแสง ร่มโพธิ์ทอง เป็นเจ้าของไอเดีย “นาฬิกา โหลแก้ว” งานแฮนด์เมดที่นำโหลแก้วมาตกแต่งด้วยวัสดุต่าง ๆ แล้วใส่นาฬิกาเข้าไปด้วย เจ้าตัวเล่าว่า ชอบงานประดิษฐ์มาตั้งแต่เด็กแล้ว ช่วงที่เรียนอยู่ก็ทำงานประดิษฐ์พวกกรอบรูปให้เพื่อน ๆ ในวันสำคัญ และเคยทำงานศิลปะพวกนาฬิกาไปขายที่สวนจตุจักรวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งตอนนั้นก็ทำ เล่น ๆ พอช่วง ปี 2540 ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โดนออกจากงานประจำและอยู่ในช่วงที่กำลังจะเรียนจบด้วย จึงทำงานด้านศิลปะ-ทำนาฬิกาประดิษฐ์ขายแบบจริงจัง

“งานกลุ่มนี้มีคนทำออกมาขายกันมากอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการที่สินค้าเราจะสู้ได้จะต้องสร้างผลงานที่มีความแปลกแตกต่าง ฉีกแนวไปจากคนอื่น สินค้าเราถึงจะได้รับความสนใจ”

งานแรกที่ทำก็จะเป็นงานกรอบรูปนาฬิกาที่ตกแต่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ ส่วนนาฬิกาโหลแก้วนั้นมาคิดทำภายหลัง โดยมองว่าโหลแก้วนั้นมีรูปทรงหลากหลาย น่าจะนำมาเป็นวัสดุและตกแต่งทำเป็นนาฬิกาได้ อีกทั้งจะเป็นสินค้าที่แปลกใหม่ด้วย จึงทดลองทำออกขาย ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี ซึ่งงานชิ้นนี้มีวิธีการทำที่ไม่ยาก สามารถฝึกฝนได้ แต่ที่ยากคือขั้นตอนการออกแบบรูปแบบนาฬิกามากกว่า

รูปแบบของนาฬิกาโหลแก้ว รวมถึงนาฬิกากรอบรูป จะต้องมีหลากหลายไว้ให้ลูกค้าได้เลือก ที่สำคัญสามารถออกแบบตกแต่งให้เข้ากับเทศกาล วันสำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น แต่งงาน รับปริญญา ปีใหม่ เป็นต้น
READ MORE - วิธีการทำนาฬิกาโหลแก้ว