วิธีการเลี้ยงไหม

23.2.53

วิธีการเลี้ยงไหม


การปลูกหม่อน
ใบหม่อนเป็นอาหารของไหม ถ้าหากคิดที่จะเลี้ยงไหมต้องปลูกหม่อนก่อน วิธีการปลูกต้นหม่อนก็ง่ายๆ
สิ่งที่ต้องเตรียม
1.กิ่งหม่อนที่แก่จัด พร้อมที่จะแตกกิ่ง
2.ปุ๋ยคอก
3.ฮอร์โมนเร่งใบ

วิธีทำ
1.เริ่มจากนำกิ่งหม่อนตัดเป็นท่อนประมาณหนึ่งฟุตไปแช่ในน้ำฮอร์โมน 1 คืน
2.เตรียมหลุมโดยขุดกว้างฟุตยาวฟุต ห่างกันหลุมละประมาณสองฟุต สับดินให้ละเอียดโดยผสมปุ๋ยคอกลงไปด้วย
3.นำกิ่งพันธุ์ที่แช่ไว้ไปปักในหลุม สองถึงสามท่อน
4.ช่วงสองสัปดาห์แรกรดน้ำทุกวัน เมื่อกิ่งพันธุ์แตกใบอ่อนแล้ว ก็ให้ดูแลเรื่องวัชพืชศัตรูพืช แต่เมื่อต้นหม่อนโตแล้วก็ไม่ค่อยได้ดูแลเท่าไหร่เพราะเป็นพืชทนแล้งทนหนาว


วิธีการเก็บเกี่ยว
เก็บให้เหมาะสมตามช่วงอายุของหนอไหมดังภาพ

การเก็บใบหม่อนควรเก็บให้เหมาะสมกับวัย ดังนั้น
วัยที่ 1 ใบที่ 2-3 (นับจากยอดลงมา)
วัยที่ 2 ใบที่ 4-6
วัยที่ 3 ใบที่ 7-10

วิธีการเลี้ยงไหม
หนอนไหมจะกินอาหารตลอดเวลา ยกเว้นตอนลอกคราบ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้ใบหม่อนสดในปริมาณที่เพียงพอ โดยแบ่งเวลาเลี้ยงไหมเป็น 4 ช่วงคือ เวลา 06.00 น., 11.00 น., 16.00 น. และ 20.00-21.00 น. โดยในแต่ละมื้อจะให้ใบหม่อนแก่หนอนไหมในปริมาณที่ไม่เท่ากัน โดยในมื้อสุดท้ายจะต้องให้มากกว่ามื้ออื่น ๆ เนื่องจากช่วงระยะเวลาห่างจากมื้อต่อไปจะยาวนานที่สุด

1. การเลี้ยงไหมวัยอ่อน
การเลี้ยงไหมวัยอ่อน หมายถึง กาารเลี้ยงไหมวัยที่ 1-3 ซึ่งจำเป็นต้องมีการดูแลที่ดีเพื่อทำให้หนอนไหม
แข็งแรงและสมบูรณ์ เพราะจะมีผลต่อเนื่องไปถึงไหมวัยแก่ด้วย



การเลี้ยงไหมวัยอ่อน ควรใช้ฟองน้ำชุบน้ำมาวางล้อมรอบ
พื้นที่เลี้ยงไหมและใช้กระดาษพาราฟินปิดคลุม

ไหมวัยอ่อนจะกินใบหม่อนประมาณ 20-25 กิโลกรัมต่อแผ่นหรือกล่อง ควรเลี้ยงด้วยใบหม่อนสดตามเวลาที่กำหนด ให้เพียงพอ โดยมื้อกลางวันให้เท่าหรือ น้อยกว่ามื้อเช้า ส่วนมื้อเย็นให้มากกว่าเนื่องจากระยะเวลาที่หนอนไหมจะได้ กินใบหม่อนในมื้อต่อไปยาวกว่ามื้ออื่น ใบหม่อนที่ใช้เลี้ยงจะต้องหั่นให้มีขนาดพอดี คือ หั่นเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสให้มีด้านยาวและด้านกว้างขนาดประมาณ 1 1/2 - 2 เท่าของความยาวของตัวหนอน


พื้นที่เลี้ยงไหม
ในการเลี้ยงไหมที่ดี เกษตรกรควรจะดูแลอย่าให้จำนวนหนอนไหมในกระด้งแน่นแออัดเกินไป มีการขยาย
พื้นที่เลี้ยงให้เหมาะสมในแต่ละวัย โดยไหมวัยอ่อนจะใช้พื้นที่ประมาณ 4 ตารางเมตร/กล่อง (อัตรา 5,000 ตัว/ตารางเมตร)
ตัวอย่าง การเลี้ยงไหม 1 กล่อง (แผ่น)
- วัยที่ 1 เริ่มเลี้ยงใช้พื้นที่ขนาด 1-1 1/2 เท่าของแผ่นไข่ตัวเต็มวัยใช้พื้นที่ 1 - 1.3 ตารางเมตร
- วัยที่ 2 ขยายพื้นที่ 2 ครั้ง ตัวเต็มวัยใช้พื้นที่ 2-3 ตารางเมตร
- วัยที่ 3 ขยายพื้นที่ 2 ครั้ง ตัวเต็มวัยใช้พื้นที่ 4-6 ตารางเมตร

การถ่ายมูล
ควรถ่ายมูลไหมตามเวลาที่กำหนด คือ ช่วงก่อนไหมนอนและไหมตื่น เพื่อลดความชื้นและสิ่งหมักหมม
ดังนี้
- ช่วงก่อนไหมนอนโรยแกลบเผาหรือปูนขาว วางตาข่ายให้อาหาร 2 มื้อ แล้วยกตาข่ายถ่ายมูล
- ช่วงไหมนอน โรยแกลบเผาหรือปูนขาวเท่านั้น
- ช่วงไหมตื่น โรยสารเคมี วางตาข่ายให้อาหาร 2 มื้อ แล้วยกตาข่ายถ่ายมูลออก

อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงไหมวัยอ่อน
- วัยที่ 1 อุณหภูมิ 27-28 องศาเซลเซียส ความชื้น 90% ขึ้นไป
- วัยที่ 2 อุณหภูมิ 26-27 องศาเซลเซียส ความชื้น 85-90%
- วัยที่ 3 อุณหภูมิ 25-26 องศาเซลเซียส ความชื้น 80-85 ไหมนอน ความชื้นต่ำกว่า 70%

2. การเลี้ยงไหมวัยแก่
การเลี้ยงไหมวัยแก่ หมายถึง การเลี้ยงไหมวัย 4-5 จนกระทั่งไหมทำรัง การจัดพื้นที่เลี้ยงจะต้องมีขนาดเหมาะสม กับปริมาณหนอนไหม เพราะหนอนตัวโตจะมีการเผาผลาญมาก อาจจะทำให้สภาพอากาศรอบ ๆ ร้อน การจัด การแรงงานก็จะต้องเหมาะสม ใบหม่อนที่เก็บมาเลี้ยงไหมสามารถทำได้ทั้งโดยวิธีเก็บใบและตัดกิ่งเลี้ยง
โดยเฉพาะการเลี้ยงไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศในวัยที่ 5 เกษตรกรจะตัดกิ่งหม่อนมาเลี้ยงเพื่อความรวดเร็วในการเลี้ยงไหม และประหยัดแรงงานการเลี้ยงไหมด้วย



พื้นที่การเลี้ยงไหม
ในการเลี้ยงไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ เกษตรกรจะตัดหม่อนเป็นกิ่งมาเลี้ยง โดยจะแบ่งพื้นที่การเลี้ยง
ดังนี้
1. พื้นที่ 20 ตารางเมตร/กล่อง สำหรับเกษตรกรทั่วไป
2. พื้นที่ 16 ตารางเมตร/กล่อง สำหรับเกษตรกรที่มีความชำนาญ
สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงเป็นกระด้งจะใช้ 40 กระด้ง/กล่อง

อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไหมวัยแก่
- วัยที่ 4 อุณหภูมิ 24-25 องศาเซลเซียส ความชื้น 75-80%
- วัยที่ 5 อุณหภูมิ 23-24 องศาเซลเซียส ความชื้น 70-75% ไหมนอน ความชื้นต่ำกว่า 70%

การปฏิบัติในการเลี้ยงไหมวัยแก่มีดังนี้
ไหมวัยแก่กินใบหม่อนมากประมาณ 85-90% ของปริมาณใบหม่อนทั้งหมด ดังนั้นควรให้อาหารวันละ 3-4 ครั้ง ในปริมาณที่พอเพียงกับความต้องการ จะทำให้ตัวไหมสมบูรณ์และได้รังดีมีคุณภาพการเลี้ยงด้วยกิ่งจะทำให้ใบหม่อนไม่แห้งเร็ว มีการถ่ายเทอากาศได้ดีและควรขยายพื้นที่ให้เหมาะสมในแต่ละวัยด้วย
ตัวอย่าง การเลี้ยงไหมโดยใช้พื้นที่ 20 ตารางเมตรต่อกล่อง
- วัยที่ 4 เริ่มเลี้ยงพื้นที่ 5 ตารางเมตร ขยายพื้นที่ 2 ครั้งให้ได้พื้นที่ 10 ตารางเมตร
- วัยที่ 5 เริ่มเลี้ยงพื้นที่ 5 ตารางเมตร ขยายพื้นที่ 2-3 ครั้งให้ได้พื้นที่ 20 ตารางเมตร

การถ่ายมูล
ไหมวัยแก่ควรมีการถ่ายมูลบ่อยครั้ง เพราะใบหม่อนที่ให้มีปริมาณมากและจะมีเศษเหลือ เวลาที่ความชื้นสูง
ฝนตกชุกอาจทำให้หนอนไหมเป็นโรคได้ ดังนั้น จึงต้องมีการลดความชื้น ซึ่งสามารถทำได้โดยการโรยแกลบเผาหรือปูนขาว เพื่อลดการเกิดโรคของหนอนไหม ขั้นตอนการถ่ายมูลมีดังนี้



หมายเหตุ วัย 5 ถ่ายมูลหลังจากไหมตื่น 1 ครั้ง และตอนกลางวัย 5 อีก 1 ครั้ง

การเก็บไหมสุก


ไหมวัย 5 ประมาณวันที่ 6-8 ตัวไหมจะโตเต็มที่ อาหารที่กินจะถูกนำไปสร้างเป็นต่อมเส้นใยพร้อมจะทำรัง
ลักษณะลำตัวโปร่งแสงมูลไหมมีสีเขียวอ่อน หยุดกินอาหาร เดินเร็ว หัวส่ายไปมาและพ่นเส้นใยออกมาห่อหุ้มตัวเอง

การเก็บไหมสุกเข้าจ่อ ปัจจุบันนิยมเก็บ 2 วิธี คือ
- เก็บทีละตัว นิยมใช้กับการเลี้ยงไหมจำนวนน้อย เพราะเสียเวลามาก
- เขย่ากิ่งสำหรับการเลี้ยงไหมโดยใช้กิ่งหม่อน จะทำให้สามารถเก็บได้เร็ว วิธีนี้จะเหมาะกับการเลี้ยงไหมจำนวนมากเนื่องจากประหยัดแรงงานและสามารถเก็บได้ทันต่อเวลา
จ่อที่ ใช้เก็บรังไหมก็มีหลายชนิด เช่น
- จ่อกระด้ง ใส่ตัวไหมได้ 700 ตัว
- จ่อพลาสติก จ่อลวด จ่อกก ความยาว 1 เมตร ใส่ตัวไหม 300-350 ตัว
- จ่อหมุน ใส่ตัวไหมได้ 1,500 ตัวต่อชุด ดังนั้นจะต้องใช้ประมาณ 12-13 ชุด/กล่อง


การดูแลขณะไหมทำรัง
ก่อนที่ไหมทำรังจะมีการขับถ่ายของเหลวออกมาประมาณ 0.5-1 ซีซี ซึ่งจะส่งผลทำให้สภาพแวดล้อมเปีย
ชื้นและสกปรก ดังนั้นจึงควรหากระดาษมาปูพื้นเพื่อซับความร้อน และปรับสภาพแวดล้อมโดยรอบให้มีการถ่ายเท
อากาศดี อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 23-24 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 65-70%


วิธีการสาวไหม


การทอผ้าไหม




ตัวอย่างชิ้นงานอันล้ำค่าอันเกิดจากผ้าไหม







READ MORE - วิธีการเลี้ยงไหม

การทำไซดักปลา

11.2.53

การทำไซดักปลา
ประโยชน์ใช้ในการดักปลาแทบทุกขนาด วิธีการสานไซ ผู้ทำมักเหลาเส้นตอกให้เล็กเป็นเส้นกลมยาวอย่างน้อย 2 ปล้องไผ่ เมื่อได้เส้นตอกตามจำนวนที่ต้องการแล้วนำมามัดปลายด้านหนึ่งรวมกัน ก่อนจะพับให้กลับไปด้านหลัง แล้วใช้เส้นตอกอีกส่วนหนึ่งสานขวางสลับกันไปตั้งแต่ด้านบนถึงด้านล่าง การสานนิยมสานเป็น

“ลายขวางไพห้า” ระหว่างสานผู้ทำต้องบังคับให้รูปทรงป่องแคบตามลักษณะของงาน ส่วนบริเวณตรงกลางหรือกลางค่อนไปทางปลายจะมีการเจาะใส่งาอีกด้านละช่อง เพื่อให้เป็นส่วนที่ปลาวิ่งเข้าและนำออก


ตัวอย่างเกาตรกรผู้มีรายได้จากการทำไซขาย
ใบศรี คำกอง อายุ 58 ปี อยู่บ้านเลขที่ 63/1 หมู่ 7 ต.วังหิน อ.หนองสองห้อง จ.ขอนแก่น



"การทำไซดักปลานี้ เป็นมรดกที่ตกทอดมาจากรุ่นปู่รุ่นพ่อของเรา เท่าที่จำความได้ก็เห็นพ่อทำไซดักปลาแล้ว แต่ผมเพิ่งมาหัดทำเมื่อไม่กี่ปีมานี่เอง โดยพี่เป็นคนสอนให้ทำ เพราะเห็นว่ารายได้ดี แล้ววัสดุที่ใช้คือต้นไผ่ ปัจจุบันนี้หาง่ายมาก มีปลูกกันเต็มไปหมดทุกหัวระแหง"
ลุงใบศรีกล่าว

"ต้นไผ่ที่นำมาทำไซ ต้องไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ขนาดกลางๆ อายุประมาณ 2-3 ปี เพราะถ้าแก่เกินไป มันก็จะหักง่าย ส่วนไผ่ที่เอามาทำส่วนใหญ่จะเป็นไผ่สีสุก เพราะทนทานและมีความยืดหยุ่นสูง โดยไผ่ 1 ลำจะสามารถทำไซได้ 1 ลูก ซึ่งแต่ละลูกจะใช้เวลาทำประมาณ 3-5 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของไซด้วย"

ไซที่มีความยาว 3 เมตร สนนราคาอยู่ที่ 1,230 บาทต่อลูก ซึ่งเป็นขนาดใหญ่ที่สุด โดยลูกค้าที่สนใจไซชนิดนี้ มักจะเอาไปไว้ประดับตกแต่งบ้านเรือนมากกว่าจะใช้ดักปลาจริงๆ ในขณะที่ไซที่นำมาใช้ดักปลานั้นจะมีขนาดความยาวประมาณ 1-2 เมตรเท่านั้น สนนราคา 150-230 บาทต่อลูก ลูกค้าส่วนใหญ่ก็เป็นคนในหมู่บ้าน ปัจจุบันสามารถจำหน่ายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 5-6 ลูก

"ต้นทุนอยู่ที่ต้นไผ่อย่างเดียว อย่างอื่นไม่มี ซึ่งขณะนี้ต้นไผ่ซื้อขายกันอยู่ที่ลำละ 50-60 บาท แต่ถ้าเป็นไผ่ของเราเองก็จะไม่มีต้นทุนในส่วนนี้ ก็มีแต่กำไร"

ลุงใบศรียอมรับว่า เรื่องการตลาดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะก็ต้องขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย โดยเฉพาะฤดูฝนจะขายได้ดีมาก ทำแทบไม่ทัน แต่ถ้าเป็นฤดูหนาวหรือฤดูร้อนจะขายไม่ค่อยได้ แต่ที่ต้องทำก็เพราะต้องเตรียมไว้ในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง

ขอบคุณ :หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก




READ MORE - การทำไซดักปลา

วิธีการทำหน่อไม้ส้ม

หน่อไม้ส้ม เป็นวิธีการแปรรูปอาหารของชาวอีสาน ในช่วงฤดูฝน หน่อไม้จะแทงหน่อขึ้นมาเยอะ เลยมีการคิดค้นที่จะแปรรูปเก็บไว้กินนานๆ
หน่อไม้ส้มใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง แกงใส่ไก่ ใส่ปลา หรือจะทำซุปหน่อไม้ส้มก็แซบหลาย

วิธีการทำหน่อไม้ส้ม
วัสดุ :

1. หน่อไม้สด

2. เกลือ 1 ทัพพี

3. น้ำสะอาด

วิธีการทำหน่อไม้ดอง


วิธีทำ :

1. สับหน่อไม้ให้เป็นชิ้นบางๆ พยายามอย่าให้ฝอยมาก

2. เติมน้ำใส่หน่อไม้พอท่วมทิ้งไว้ 1 คืน หลังจากนั้นเทน้ำทิ้ง

3. ผสมเกลือ 1 ทัพพี กับหน่อไม้ ขยำให้เข้ากันดี

4. เติมน้ำสะอาดพอท่วมหน่อไม้ ทิ้งไว้ 3 คืน จะได้หน่อไม้ดองสำหรับประกอบอาหาร

เฮ็ดหน่อไม้ส้ม



แกงไก่ใส่หน่อไม้ส้ม
แกงไก่ใส่หน่อไม้ส้ม<br />
READ MORE - วิธีการทำหน่อไม้ส้ม

แคน

8.2.53

แคน

แคน เป็นเครื่องเป่าพื้นเมืองของชาวอีสานเหนือที่ใช้ไม้ซางขนาดต่าง ๆ ประกอบกันเข้าเป็นตัวแคน แคนเป็นสัญลักษณ์ของภาคอีสาน เป็นเครื่องเป่ามีลิ้นโลหะ เสียงเกิดจากลมผ่านลิ้นโลหะไปตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้าและดูดลมออกด้วย จึงเป่ายากพอสมควร แคนมีหลายขนาด บางขนาดมีเสียงประสานอยู่ด้วย แคนมีหลายประเภทตามจำนวนลูกแคน คือ

1.แคนหก มีลูกแคน 3 คู่ (6 ลูก) เป็นแคนขนาดเล็กที่สุด สำหรับเด็กหรือผู้เริ่มฝึกหัดใช้เป่าเพลงง่าย ๆ เพราะเสียงไม่ครบ

2.แคนเจ็ด มีลูกแคน 7 คู่ (14 ลูก) เป็นแคนขนาดกลาง มีเสียงครบ 7 เสียง ตามระบบสากล และมีระดับเสียงสูง ต่ำ ทั้ง 7 เสียง หรือที่เรียกว่า คู่แปด คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที (คู่แปด คือทุกเสียงเช่นเสียงโด ก็จะมีทั้งเสียงโดสูง และโดต่ำ ทุกเสียงมีคู่เสียงทั้งหมด)

3.แคนแปด ใหญ่กว่าแคนเจ็ด มีลูกแคน 8 คู่ (16 ลูก) คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เพิ่มคู่เสียงระดับสูงขึ้นไปให้เป็นเสียงประสานในการเล่นเพลงพื้นเมือง

4.แคนเก้า มีลูกแคน 9 คู่ (18 ลูก) ใหญ่ที่สุด เวลาเป่าต้องใช้ลมมากจึงไม่ค่อยมีคนนิยม ในเรื่องระดับเสียงของแคนเหมือนระบบเสียงดนตรีสากลนั้น เป็นเรื่องน่าสนใจ น่าที่จะได้ศึกษากันต่อไปว่าเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ในขณะที่ดนตรีไทยไม่มีขั้นครึ่งเสียง และเพลงพื้นเมืองอีสานใช้เพียง 5 ขั้น คือ โด เร มี ซอล ลา ไม่มีเสียงฟา และ ที

แคนนอกจากบรรเลงเป็นวงแล้ว ก็ยังใช้บรรเลงประกอบการลำ (การขับร้อง) หรือใช้บรรเลงร่วมกับพิณ โปงลาง ฯลฯ

ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้

แคนเป็นเครื่องดนตรีสำคัญของชาวอีสานทำจากไม้กู่แคน แคนหนึ่งอันเรียกว่า แคนหนึ่งเต้า มีส่วนประกอบของแคนมีดังนี้

ลูกแคน คือไม้ไผ่ที่นำมาประกอบเป็นแคน ทำจากไม้ซางซึ่งเป็นพืชตะกูลไม้ไผ่ลำเล็กๆ มีปล้องยาว ขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วนางตามลำดับ โดยนำมาลนไฟแล้วดัดให้ตรงขนาดยาวตั้งแต่แปดสิบเซนติเมตรถึงสามเมตร ไม้กู่แคนทุกลำทะลุข้อออกเพื่อให้ลมผ่าน ฝังลิ้นทองเหลืองหรือลิ้นเงินห่างจากปลายข้างบนประมาณ 50 - 60 เซนติเมตร โดยบริเวณนั้นบากเป็นช่องสี่เหลี่ยมสองช่อง ห่างหรือไกล้กัน ตามลักษณะของระดับเสียง ตรงกลางของไม้กู่แคนเจาะรูกลมเล็กๆ ลำละหนึ่งรูเพื่อใช้นิ้วปิดเปิดเวลาบรรเลงเรียกว่า รูนับ รูที่บากอยู่ด้านในเมื้อประกอบเป็นแคนแล้วจะมองไม่เห็น แคนแต่ละดวงจะมีจำนวนลูกแคนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับชนิดของแคน แคนหก มีใม้กู่แคนสามคู่ แคนเจ็ด มีไม้กู่แคนเจ็ดคู่
เต้าแคน คือปล้องตรงกลางแคน มีลักษณะกลมเป็นกระเปาะ หัวท้ายสอบ มีไว้เพื่อประกอบลูกแคนทุกลูกทำเข้าด้วยกันและหุ้มลิ้นลูกแคนไว้ เต้าแคนถูกเจาะรูกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งเซนติเมตรที่หัวเต้า เพื่อใช้ปากเป่าให้ลมผ่านลิ้นแคนทุกลิ้น ระหว่างเต้าแคนและลูกแคนนำขึ้สูดมาปิดให้แน่นป้องกันมิให้ลมที่เป่าเข้าไปนั้นรั่วออกมาข้างนอก ไม้ที่นิยมทำเต้าแคน คือไม้ประดู่ไหม ไม้พยุง ไม้แคนหรือไม้ตะเคียน ไม้หนามแท่ง ส่วนมากนิยมใช้ไม้ประดู่ส่วนที่เป็นราก
หลาบโลหะ คือแผ่นโลหะบางๆ ที่สกัดออกเป็นลิ้นแคน โดยมากใช้โลหะผสมระหว่างทองแดงกับเงิน ถ้าใช้แผ่นเงินบริสุทธิ์ หรือ ทองแดงบริสุทธิ์ จะทำให้อ่อนหรือแข็งจนเกินไป แผ่นโลหะแผ่นหนึ่งยาวประมาณสามเซนติเมตร กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร และหนาเพียง 2 มิลลิเมตร
ขี้สูตหรือชันโรง เป็นขี้ผึ้งเหนียวสีดำที่ได้จากรังของแมลงชนิดหนึ่ง ตัวเล็กกว่าผึ้ง เรียกว่า แมลงขี้สูด คุณสมบัติของขี้ผึ้งชนิดนี้คือเหนียว ไม่ติดมือ และไม่แห้งกรอบ ขี้สูตใช้ผนึกช่องว่างระหว่างลูกแคนกับเต้า เพื่อไม่ให้ลมที่ผ่านเข้าทางปากรั่วไหลออกจากเต้า


การประกอบส่วนต่าง ๆ ให้เป็นแคน เริ่มจากเมื่อเตรียมลูกแคนและเต้าแคนเรียบร้อยแล้ว นำลูกแคนทั้งหมดสอดเข้าไปในเต้าแคนตามลำดับเป็นคู่กัน
คู่ที่หนึ่ง ด้านซ้ายเรียกว่า โป้ซ้าย ด้านขวา เรียกว่า โป้ขวา
คู่ที่สอง ด้านซ้ายเรียกว่า แม่เวียงใหญ่ ด้านขวา เรียกว่า แม่เซ
คู่ที่สาม ด้านซ้ายเรียกว่า แม่แก่ ด้านขวา เรียกว่า สะแนน
คู่ที่สี่ ด้านซ้ายเรียกว่า แม่ก้อยขวา ด้านขวาเรียกว่า ฮับทุ่ง
คู่ที่ห้า ด้านซ้ายเรียกว่า แม่ก้อยซ้าย ด้านขวาเรียกว่า ลูกเวียง
คู่ที่หก ด้านซ้ายเรียกว่าสะแนนน้อย ด้านขวาเรียกว่า แก่นน้อย
คู่ที่เจ็ด ด้านซ้ายเรียกว่า เสพซ้าย ด้านขวาเรียกว่า เสพขวา






ลายแคนอุบลฯ โป้ซ้าย


เดี่ยวแคน ลายภูไท


เดี่ยวแคนลายสุดสะแนน
READ MORE - แคน