เมื่อวันที่ 27 มกราคมที่ผ่านมา เว็บไซต์เดลิเมล์ ของอังกฤษ รายงานว่า นักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงใหม่ มีอุณหภูมิสูงถึง 3,200 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยพบมา
โดยดาวเคราะห์ดวงนี้ มีชื่อว่า WASP-33b หรือ HD15082 ถูกค้นพบเมื่อประมาณปีก่อน เป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากแกแล็กซี่แอนโดรมีด้า (แกแล็กซี่ที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด) ออกไปเพียง 380 ปีแสง และมีขนาดใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดีซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะถึง 4.5 เท่า โคจรรอบดวงอาทิตย์ของมันที่มีอุณหภูมิสูงถึง 7,160 องศาเซลเซียสในระยะที่ใกล้มาก จึงทำให้บนพื้นผิวของมันมีความร้อนสูงถึง 3,200 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าเป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุดตั้งแต่นักดาราศาสตร์เคยค้นพบมา และใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ของมันเพียง 29.5 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งถือว่าเร็วมาก หากเทียบกับดาวพุธซึ่งเป็นดาวที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในระบบสุริยะ ที่ต้องใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ถึง 88 วัน
ภาพจำลองระยะห่างของดาว WASP-33b กับดวงอาทิตย์ของมัน
ขนาดของดาว WASP-33b เมื่อเทียบกับขนาดของดาวพฤหัส (ซ้าย)
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ดาวเคราะห์ดวงเก่าที่นักดาราศาสตร์พบว่าเป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุด คือ ดาวเคราะห์ WASP-12b ในทางช้างเผือก ซึ่งมีอุณหภูมิ 2,300 องศาเซลเซียส โคจรรอบดวงอาทิตย์ของมันเพียง 1.1 วัน เรียกว่าความร้อนของมันยังถือเป็นน้องของดาว WASP-33b ที่ถูกค้นพบใหม่อยู่มาก เพราะมีอุณหภูมิต่างกันถึง 900 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว ขณะที่นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไม่มีที่สิ้นสุดนี้ ยังคงมีดาวเคราะห์ที่ร้อนกว่านี้และมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ที่เร็วกว่านี้อย่างแน่นอน อยู่ที่ว่ามันจะถูกค้นพบเมื่อไรเท่านั้นเอง
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก wikimedia
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น